วิกฤตอัตลักษณ์ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา!!!!

วิกฤตอัตลักษณ์ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา!!!!

สิบสองปันนา เป็นเมืองที่อยู่ในมณฑลยูนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งในอดีตสิบสองปันนา หรือสิบสองพันนา หมายถึงอาณาจักรที่เกิดขึ้นจากการรวมพื้นที่นาของชาวไทลื้อหลายๆ หมู่บ้านรวมกันได้ 1 พันนาก็ตั้งเป็น 1 เมือง รวมทั้งสิ้น 12 พันนา จึงเท่ากับ 12 เมือง เมืองหลวงคือ เชียงรุ้ง มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร

อาณาจักรสิบสองปันนามีพระเจ้าแผ่นดินปกครองอาณาจักรมายาวนาน ถึง 45 พระองค์ มีพระมหากษัตริย์ผู้ปรีชายิ่ง คือ พญาเจืองหาน แห่งราชวงศ์เชียงรุ้ง ที่ปกครองเมืองเชียงรุ้งให้เป็นเอกภาพมีความร่มเย็นผาสุขมาโดยตลอด แต่แล้วเมื่อสายลมแห่งอำนาจเปลี่ยนทิศในปี ค.ศ. 1949 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเปลี่ยนชื่อเรียกอาณาจักรจีนมาเป็น สาธารณประชาชนจีน โดยเหมาเจ๋อตุง ซึ่งมีความมุ่งหวังที่จะปกครองประเทศจีนให้อยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และรวมรวบประเทศจีนให้ยิ่งใหญ่ อาณาจักรสิบสองปันนาจึงถูกรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณประชาชนจีนถูกตั้งให้เป็นเขตการปกครองตนเองภายใต้ระบบคอมมูลกล่าวคือ ที่นาที่เคยเป็นของชาวไทลื้อ ถูกยึดให้เป็นของรัฐบาล เป็นระบบนารวม ให้ประชากรชาวไทลื้อเป็นสมาชิกใช้แรงงานทำงานให้รัฐบาลแลกกับสวัสดิการต่างๆที่รัฐบาล เป็นผู้จัดสรรให้กับประชากร รวมไปถึงการล้มราชวงศ์ไทลื้อที่เป็นผู้ปกครองแผ่นดินสิบสองปันนามายาวนาน ถูกโค่นล้มพระราชวังที่เวียงผาครางถูกเผาทำลาย ซึ่งในปัจจุบันได้สร้างเป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่ของสิบสองปันนา ผลจากการเปลี่ยนแปลงทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทำให้การใช้ชีวิตของชาวไทลื้อในสิบสองปันนาเปลี่ยนแปลงไป

กษัตริย์องค์สุดท้าย คือเจ้าหม่อมคำลือ แห่งราชวงศ์เชียงรุ้ง ในสิบสองปันนาถูกปลดเป็นสามัญชน และทำงานให้กับรัฐบาลจีนใหม่ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันชนชาติส่วนน้อยแห่งมณฑลยูนาน และมีชื่อใหม่เป็นภาษาจีนในฐานะพลเมืองของประเทศจีน ว่า "เตาซือชิน" และเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆ ก็ถูกเปลี่ยนชื่อให้เป็นภาษาจีน โดยให้ใช้แซ่ "เตา" เป็นคำนำหน้าชื่อ [ธีรภาพ โลหิตกุล, กว่าจะรู้ค่าคนไทในอุษาคเนย์ (กรุงเทพ ; สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น,2544),หน้า 40.]

ชาวไทลื้อในสิบสองปันนาใช้ชีวิตอยู่อย่างจำกัด ถูกกีดกันในเรื่องของการนับถือศาสนา กล่าวคือไม่ให้นับถือศาสนาพุทธสำหรับชาวไทลื้อแล้ว ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่ชาวไทลื้อให้ความสำคัญควบคู่ไปกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทำให้ชาวไทลื้อจะยึดมั่นในองค์พระมหากษัตริย์ของตนเองและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นสิ่งที่ชาวไทลื้อยึดถือมาตั้งแต่โบราณ แต่ขบวนการเรดการ์ดมองว่าเป็นสิ่งที่ล้าหลัง จึงได้ทำการเผาทำลายวัดวาอารามไปทั่วทั้งแผ่นดินสิบสองปันนาเพราะต้องการที่จะลบล้างคติความเชื่อแบบเก่าของชาวไทลื้อ และมีความพยายามสร้างความเป็นจีนให้กับชาวไทลื้อ

นอกจากชาวไทลื้อจะถูกปิดกั้นไม่ให้นับถือศาสนาพุทธแล้ว ยังถูกห้ามไม่ให้จัดกิจกรรม หรือทำพิธีกรรมต่างๆที่มีมาแต่โบราณ อย่างเช่นการจัดพิธีสงกรานต์ การทำบุญตักบาตร และพิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ทำให้วัฒนธรรมอันดีงามเหล่านั้นค่อยๆเลือนหายไป หลังจากที่ผ่านพ้นเหตุการณ์ช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ระบบคอมมูลถูกยกเลิก ชาวไทลื้อได้สิทธิ์ที่นากลับมาเป็นของตนเอง และสามารถจัดกิจกรรมทางศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ ได้ ชาวไทลื้อที่ถูกกดขี่ในช่วงเวลานั้นก็ได้กลับมาส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมไทลื้ออีกครั้ง

จากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็นการใช้ชีวิตของคนไทลื้อในสิบสองปันนาในปัจจุบัน คนไทลื้อรุ่นใหม่ดำรงชีวิตประจำวันแบบชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็พูดภาษาไทลื้อไม่เป็น ใช้ภาษาจีนในการสื่อสารกัน จากเดิมที่เคยใช้ภาษาไทลื้อในการสื่อสาร แต่คนไทลื้อรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษาพื้นถิ่นของตนเองได้ การสร้างบ้านที่อยู่อาศัยแบบจีน แต่สิ่งที่ไม่เลื่อนหายไปจากความเป็นไทลื้อคือการนับถือศาสนาพุทธ ในทุกๆ ปีของสิบสองปันนาจะมีการประเพณีสงกรานต์ เป็นการฟื้นฟูประเพณีดังเดิม มีการแห่น้ำเพื่อที่จะเข้ามา สรงน้ำพระที่วัด ทำบุญตักบาตร เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รับเงินทุนงบประมาณจากรัฐบาลจีนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในสิบสองปันนา สร้างแหล่งท่องเที่ยวที่ชื่อว่า 9 จอม 12 เจียง เพื่อให้เป็นย่านแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในสิบสองปันนา และใช้เป็นสถานที่จัดงานเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทลื้อ มีการออกร้านขายของแบบถนนคนเดิน มีการแสดงของชาวไทลื้อจากที่ต่างๆ อย่างเช่นตัวแทนชาวไทลื้อจากประเทศไทย ชาวไทลื้อทั้ง 7 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน ลำปาง เชียงราย ก็ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สิบสองปันนาในวันที่ 27-31 มกราคม 2017 ที่ผ่านมานี้ด้วย

แม้ว่าผลของการเปลี่ยนแปลงจากสองเหตุการณ์นี้จะทำให้ชาวไทลื้อได้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อให้เข้ากับความเป็นจีน นับว่าเป็นความสำเร็จที่สามารถทำให้ชาวไทลื้อรู้สึกถึงความเป็นคนจีน แต่วัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของชาวไทลื้อ บ้างส่วนก็ยังไม่เลือนหายไป


วิกฤตอัตลักษณ์ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา!!!!


วิกฤตอัตลักษณ์ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา!!!!

ข้อมูล ธีรภาพ โลหิตกุล, กว่าจะรู้ค่าคนไทในอุษาคเนย์. (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2544) .

วีระชัย โชคมุกดา, ประวัติศาสตร์ มหาอำนาจผู้กุมชะตาโลกจากโบราณถึงปัจจุบัน. (กรุงเทพฯ : ยิปซี, 2557) .

召孟罕泐、刀世勋, สมเด็จพญาเจืองหานมหาราช, (แผ่นพับ).

ตาลคำ รอดเจริญ (เจ้าหม่อมตาลคำ ณ เชียงรุ้ง), สัมภาษณ์ วันที่ 3 ธันวาคม 2559.


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์