ลงดินปลูก! กัญชาถูกกฎหมายต้นแรกในอาเซียน


ลงดินปลูก! กัญชาถูกกฎหมายต้นแรกในอาเซียน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน นำกัญชาถูกกฎหมายต้นแรกลงดินปลูก เพื่อใช้สำหรับทางการแพทย์

นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรม

ระยะที่ 1" โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารองค์การ เภสัชกรรม ร่วมในพิธี ซึ่งหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ได้ลงนามในหนังสืออนุญาตให้องค์การฯ ดำเนินการปลูกกัญชาทางแพทย์สำหรับเป็นวัตถุดิบนำมาสกัดเป็นสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชาชนิด น้ำมันหยดใต้ลิ้น (Sublingual Drop) สำหรับนำไปใช้ในการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่ร่วมโครงการวิจัย

โดยในวันนี้เป็นการปลูกกัญชาทางการแพทย์ที่ถูกต้องตามกฎหมายต้นแรกในอาเซียน ซึ่งเมล็ดพันธุ์กัญชาที่ใช้ปลูกครั้งนี้เป็นเมล็ดจากสายพันธุ์ลูกผสม ที่มีคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูง ปลูกในอาคาร (Indoor) ด้วยเทคโนโลยีระบบรากลอย (Aeroponics) ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในระบบการปลูกกัญชาเกรดมาตรฐานทางการแพทย์ หรือ Medical Grade บนพื้นที่ 100 ตารางเมตร ขององค์การเภสัชกรรม อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี


นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ขณะนี้ต้องทำให้กัญชาของประเทศไทยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างแท้จริง ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2562 ที่ออกมา หลักการ คือ ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในการวิจัยและทางการแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้ กัญชายังเป็นพืชเสพติด และไทยเข้าร่วมอนุสัญญายาเสพติดขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) หากเอาไปใช้โดยไม่ใช่ทางการแพทย์จะผิดอนุสัญญาตรงนี้ ซึ่งท่านประธานคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) ยังบอกว่า

การที่ไทยออก พ.ร.บ.นี้ออกมา ถูกต้องครบถ้วนตามที่ยูเอ็นและนานาชาติให้ความเห็น ดังนั้น เราต้องเร่งที่จะทำให้กัญชาเกิดประโยชน์ทางการแพทย์ให้เร็วที่สุด ต้องทำงานแข่งกับเวลา เพราะหลายชาตินำไปแล้วหลาย 10 ปี เช่น แคนาดา อิสราเอล แม้ พ.ร.บ.จะออกมาเพื่อกันต่างชาติ ให้คนไทยพัฒนาและใช้ประโยชน์ใน 5 ปี โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งตนตั้งเป้าอยากให้พัฒนาสารสกัดกัญชาเพื่อสู้กับต่างชาติให้ได้ภายใน 2-3 ปี เพราะหลังจาก 5 ปีแล้วต่างชาติจะเฮเข้ามา เราต้องเตรียมพร้อม

นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาต่างชาติใช้กัญชาทางการแพทย์มาก่อนเรา จึงต้องเร่งพัฒนาสารสกัดให้ได้คุณภาพระดับเมดิคัลเกรด เนื่องจากก่อนหน้านี้ทาง อภ.ได้รับกัญชาของกลางมาพัฒนาเป็นยา แต่พบว่มีการปนเปื้อนสารโลหะหนักและยาฆ่าแมลงเยอะมาก จึงต้องพัฒนาให้ได้คุณภาพที่สุดด้วยการทุ่มงบประมาณ10 ล้านบาท เพื่อทำการปลูกกัญชาในรูปแบบระบบปิดในพื้นที่ 100 ตารางเมตร ซึ่งจะมุ่งเน้นให้เป็นพืชยามาตรฐานสากล

 โดยต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

1.ประสิทธิผล ใช้เป็นยาที่มีคุณภาพอย่างไร เพราะแต่ละสายพันธุ์มีสารสำคัญต่างกันใช้รักษาโรคต่างกัน จะปลูกกพันธุ์ไหนรักษาโรคอะไร

 2.เรื่องความปลอดภัย ไม่มียาฆ่าแมลง ปนเปื้อนโลหะหนัก และ

 3.คุณภาพจองแต่ละล็อต สารสำคัญต้องคงที่ โดยเฉพาะสารทีเอชซีและซีบีดี ทั้งหมดจึงเรียกว่าเป็นเมดิคัลเกรดหรือเกรดใช้ทำยาได้ เพราะอยากให้คนไทยใช้ของมีคุณภาพและได้ผลจริง

ลงดินปลูก! กัญชาถูกกฎหมายต้นแรกในอาเซียน

นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า เหตุที่ต้องใช้งบลงทุน 10 ล้านบาท เพราะเราเซตมาตรฐานไว้ การได้กัญชามาทำยา ต้องเป็นระดับความคงตัวสารตั้งต้น ดอกและสายพันธุ์ต้องคงตัว ทำให้เป้นต้นแบบ ลงทุนเรื่องโรงเรือน ระบบปลูกที่ใช้ทคโลโลยี อินดอร์ เร่งการผลิตได้คงตัว สม้ำเสมอ ระบบรัษาความปลอดภัย ให้เป็นต้นแบบในการศึกษาวิจัยพันธุ์ใหม่ๆ ในอนาคต ซึ่งจากแผนกำหนดการผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ หลังจากปลูกในวันนี้ จะใช้เวลาในการปลูก 4 เดือน และคาดว่าจะสกัดสารออกมาเป็นน้ำมันชนิดหยดใต้ลิ้นได้ในช่วง ก.ค.นี้ จำนวน 2,500 ขวด ขวดละ 5 มิลลิตร หรือประมาณ 10,000 ขวดต่อปี โดยจะนำมาใช้รักษาในกลุ่มที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนแล้ว 4 โรค คือ ผลข้างเคียงจากการรับคีโมรักษามะเร็ง ลมชัก ปลอกประสาทอักเสบ และปวดเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังมีในกลุ่มที่น่าจะมีประโยชน์ เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โดยการใช้น้ำมันกัญชาจะเป็นโครงการความร่วมมือกับโครงการวิจัยต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า คณะกรรมการยาเสพติดให้โทษได้ตั้งอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเตรียมสถานที่ เก็บรักษา ควบคุมการปลูก และข้อกำหนดต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานของเมดิคัลเกรด ซึ่งในส่วนของ อภ.ที่จะทำการปลูก ได้ผ่านมาตรฐานทั้งหมด เช่น มาตรฐานโรงเรือน มีความมิดชิด มาตรฐานที่ตั้ง เป็นเอกเทศ โครงสร้างแข็งแรง เรื่องข้อกำหนดระบบความปลอดภัย การติดกล้องวงจรปิดรอบทิศทาง การเคลื่อนย้ายต้นกัญชา แผนรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ผู้รับผิดชอบ ประตูเข้าออก ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสำรองข้อมูล และต้องพร้อมให้ตรวจกล้องวงจรปิด 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดการลงทุนค่อนข้างสูง ซึ่งเราหวังให้เป็นต้นแบบมาตรฐาน

ลงดินปลูก! กัญชาถูกกฎหมายต้นแรกในอาเซียน

ผศ.วิเชียร กีรตินิจกาล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะผู้พัฒนาการปลูกกัญชาให้ อภ. กล่าวว่า หลายคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้กัญชาสายพันธุ์ไทย นั่นเพราะกัญชาสายพันธุ์ไทยมีสารทีเอชซีสูง ก่ออาการเมามาก ส่วนซีบีดีต่ำ ซึ่งการทำเป็นยาต้องมีสาร 2 ตัวนี้ ขึ้นกับแต่ละโรคว่าต้องใช้สารตัวไหนมากน้อยย่างไร อย่างเช่น โรคลมชัก ต้องใช้สารซีบีดีมาก อาจไม่เหมาะกับพันธุ์ไทย

 แต่เรื่องผลข้างเคียงจากคีโมพันธุ์ไหทยอาจเหมาะสม แต่ว่าพันธุ์ไทยยังไม่ได้รับปรับปรุง จึงนำพันธุ์ต่างประเทศที่ปรับปรุงแล้วเข้ามา คือ สายพันธุ์อินดิกา โดยนำเข้ามา 3 ส่วน คือ กลุ่มที่สารซีบีดีสูง กลุ่มสารทีเอชซีสูง และกลุ่มที่สารทีเอชซีและซีบีดีเป็น 1 ต่อ 1 ทั้งนี้ การปลูกในระดับเมดิคัลเกรดนั้น ทุกต้นที่ปลูกต้องเหมือนกัน ให้สารสำคัญเท่ากัน

ทั้งนี้ การปลูกระดับเมดิคัลเกรด อภ.ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมาร่วมกันทำเมดิคัลเกรด เนื่องจากการส่งออกจะส่งออกได้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น ถ้าไม่ได้เมดิคัลเกรดจะส่งออกไม่ได้ สำหรับการปลูกระบบรากลอยจะช่วยให้ได้สารสำคัญตามที่ต้องการ

ลงดินปลูก! กัญชาถูกกฎหมายต้นแรกในอาเซียน

เครดิตแหล่งข้อมูล : springnews.co.th

ลงดินปลูก! กัญชาถูกกฎหมายต้นแรกในอาเซียน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:11 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์