รณรงค์สาวใช้ถุงยางสำหรับผู้หญิง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 28 พ.ย. ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส. กล่าวในงานแถลงข่าว "เอดส์ สังคมไทยไม่ไร้ทางเลือก" ว่า จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พบว่า ตั้งแต่ปี 2527 ถึง 31 ตุลาคม 2550 มีผู้ป่วยโรคเอดส์ทั้งสิ้น 322,296 คน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 89,969 คน

โดยในปีนี้ พบผู้ป่วยรายใหม่แล้ว 5,000 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 900 ราย
 
โดยกรุงเทพมหานคร(กทม.) พบผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุดคือ 1,294 คน สำหรับช่วงอายุที่ติดเชื้อมากที่สุดคือ 20-39 ปี และสาเหตุการติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุดคือ ร้อยละ 83.8 กลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มติดเชื้อเอดส์เพิ่มมากที่สุดคือ คู่สามี-ภรรยา เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่สวมถุงยางอนามัย รองลงมาคือ กลุ่มรักร่วมเพศ ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ที่แม้จะสวมถุงยางอนามัยก็มีโอกาสที่ถุงยางอนามัยจะแตกได้ง่ายและเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย

น.ส.ทฤษฎี สว่างยิ่ง มูลนิธิ พี เอส ไอ ประเทศไทย กล่าวว่า

ฝ่ายหญิงสามารถใช้เครื่องมือป้องกันโรคได้เช่นกัน โดยการใช้ถุงยางอนามัย (Female Condom) หรือถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี และใช้ได้ทั้งชาย คือสวมใส่ในช่องทวารหนัก และหญิง ทางช่องคลอด ซึ่งกลุ่มสหภาพยุโรป และแอฟริกา มีการใช้ถุงยางอนามัยมาตั้งแต่ปี 2535 และปัจจุบันมีการใช้แพร่หลายอย่างมาก ถุงยางอนามัย มีลักษณะเป็นปลอกหลวมทำจากโพลิยูนิเทน มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นมีคุณสมบัติดีกว่าถุงยางอนามัย ที่ทำมาจากยางพารา มีความยาว 17 ซ.ม. รองรับอวัยวะเพศชายได้ทุกขนาด ประกอบด้วยห่วงด้านนอกและห่วงด้านในสำหรับครอบปิดปากช่องคลอด ขณะที่ห่วงด้านนอกจะปกคลุมอวัยวะเพศของฝ่ายหญิง หรือปากทวารหนัก ช่วยป้องกันโรคติดต่อจากการสัมผัส เช่น เริม มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ที่สำคัญ สามารถสวมใส่ได้ก่อนจะมีเพศสัมพันธ์นานไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อสวมใส่แล้วสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ต่อเนื่องมากกว่า 1 ครั้ง

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์