ฟังธงสลิงผิดแบบสะพานถล่ม เตรียมเอาผิด 7 คน

ฟังธงสลิงผิดแบบสะพานถล่ม เตรียมเอาผิด 7 คน

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฟันธงสะพานท่าเรือถล่มเหตุเพราะสลิงผิดแบบ เตรียมดำเนินคดีทางวินัยและอาญา 7 ผู้เกี่ยวข้อง

วันนี้ (6 มิ.ย.) นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า นายสุนัย อภิรักษ์ธาธาร ผู้ตรวจราชการกรมรักษาการในตำแหน่งสถาปนิกใหญ่ ปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ส่งรายงานความคิดเห็นจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ด้านวิศวกรรม กรณีสะพานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทน์ 200 ปี ถล่มที่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมาเป็นเหตุให้มีผุ้เสียชีวิต 5 รายและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยจากรายงานระบุว่า จากการตรวจสอบแบบของสะพานที่ออกแบบโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ารายละเอียดบางประการที่ระบุในแบบมีความขัดแย้งและไม่สอดคล้องกันอยู่บ้าง  อาทิเช่น จำนวนสลิงที่ระบุในแบบไม่ตรงกัน นอกจากนี้จากการทดสอบลวดสลิงที่พังถล่มด้วยการพินิจ Visual inspection พบว่ามีการก่อสร้างและการใช้วัสดุบางส่วนไม่ตรงตามที่ระบุในแบบ เช่นชนิดของลวดสลิง

พบว่าการก่อสร้างจริงเป็นลวดเหล็กกล้าชนิดไส้เชือก wire rope ซึ่งแตกต่างจากวัสดุในแบบก่อสร้างที่ระบุเป็นลวดเหล็กกล้าตีเกลียวชนิด 7 เส้น ตามมาตรฐาน มอก.420

ขณะที่จากการตรวจสอบการก่อสร้างพบว่ามีการระบุคอนกรีตทับหน้า toppling concrete แผ่นพื้นสำเร็จ ที่ใช้ทั่วไป โดยระบุเฃ่นในแบบก่อสร้างแสดงว่าวิศวกรผู้ออกแบบได้คำนึงถึงน้ำหนักในส่วนดังกล่าวที่สะพานต้องแบกรับไว้แล้ว  ส่วนจำนวนลวดสลิงที่เพิ่มจาก 12 เส้นเป็น 14 เส้นตามหลักทฤษฎีแล้ว การเพิ่มจำนวนสลิงส่งผลต่อการรับน้ำหนัก และการก่อสร้างถนนถูกต้องตามมาตรฐานที่แบบอ้างถึง และเป็นไปตามหลักวิศวกรรม ถนนดังกล่าวสามารถรับน้ำหนักบรรทุก Live load ไม่น้อยกว่า 500 ก.ก.ต่อ ตารางเมตรเป็นค่าที่สอดคล้องกับค่าที่กำหนดในมาตรฐานของสะพานกับค่ามาตรฐานของ AASHTO หรือค่ามาตรฐานความปลอดภัยทางถนนของกรมทางหลวง ในส่วนของการบำรุงรักษาสะพานเป็นไปตามมาตราฐานการบำรุงรักษาสะพานของกรมทางหลวงชนบทหรือกรมทางหลวง ส่วนการซ่อมแซมพื้นผิวทางวิศวกรรมสถานไม่สามารถให้ความคิดเห็นในส่วนนี้ได้ เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงในเรื่องการซ่อม

ขณะเดียวกันกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ส่งรายงานการตรวจสอบแบบก่อสร้างในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบของสลิงหลักหรือ Main cable

โดยพิจารณาจากข้อมูลข้าวสารภาพถ่ายและสภาพการพังของสะพานแขวน พบว่าสาเหตุเกิดจากการฉีกขาดของลวดสลิงหลักหรือเมนเคเบิล เป็นสาเหตุหลักของการพังทลายของสะพานแขวนดังกล่าว ซึ่งผลการคำนวณทางวิชาการของการออกแบบสลิงหลักตรงตามขนาดที่กำหนดไว้ในแบบก่อสร้างที่ได้จากการคำนวณการออกแบบโครงสร้างสะพาน จึงสามารถกล่าวได้ว่าการก่อสร้างสะพานดังกล่าว เป็นไปตามหลักวิชาการ
 
ซึ่งหลังจากนี้จะให้ทางท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิด

ทางด้านนายวีรณรงค์ อังคารขุน ท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประธานกรรมการตรวจสอบด้านวินัยและค่าเสียหายเหตุสะพานถล่ม เปิดเผยว่าขั้นตอนต่อไปหลังจากได้รับรายงานจากป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯโดยอ้างถึงรายงานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและกรมโยธาธิการ ทำให้พบว่าจากการตรวจสอบหาตัวผุ้กระทำความผิด และตรวจสอบเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว มีผู้กระทำผิดเกี่ยวข้องจำนวน  7 คน ซึ่งจะสรุปผลให้กับทางผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำรวจชุดสอบสวนในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ตำรวจดำเนินคดีอาญากับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ในข้อหาประมาททำให้ผู้อื่นได้รับความเสียชีวิต และบาดเจ็บ ต่อไป


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์