พลิกประเด็นหมอเผ่า แค่ ซูโดอีเฟดรีน&am

กลายเป็นประเด็นใหม่ให้สังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันอีกรอบ


กรณีสารเคมีที่พบในร่างกายของ นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาแอพพลายด์ฟิสิกส์ ว่าตกลงเป็นอะไรกันแน่ !!?

อีเฟดรีน หรือซูโดอีเฟดรีน ??


ย้อนความกลับไปเมื่อวันที่ 26 กุมภา พันธ์ 2550 เดลินิวส์ นำเสนอข้อเท็จจริงกรณีพนักงานสอบสวน สน.บางซื่อ ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้โรงพยาบาลศรีธัญญาปล่อยตัว นพ.ประกิตเผ่า เนื่องจากมีข้อสงสัยว่าจะถูกคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำร้องทุกข์ของ น.ส.เปมิกา วีรชัชรักษิต

เช้าวันต่อมา 27 กุมภาพันธ์


นพ. เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา พร้อมด้วย นพ.ไพฑูรย์ สมุทรสินธุ์ แพทย์เจ้าของไข้ และ นพ.ประกิตพันธ์ ทมทิตชงค์ พี่ชายของ หมอเผ่า


แถลงข่าวร่วมกันว่า


ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้ป่วยเข้ารักษาเป็นคนไข้ใน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ด้วยอาการเซื่องซึม หวาด ระแวง แต่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ทางโรงพยาบาลตรวจพบสารอีเฟดรีน (Ephedrine) ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในปัสสาวะมาก กว่าคนปกติถึงกว่า 200 เท่า จึงต้องพิสูจน์ต่อว่าสารดังกล่าวมาจากไหน !!

ผอ.รพ.ศรีธัญญา กล่าว


สารอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คล้าย ๆ กับสารแอมเฟตามีน เป็นสารตั้งต้นของยาบ้า และยาอี หากเสพเข้าไปมาก ๆ จะทำให้เป็นบ้าได้ จึงเป็นสารต้องห้ามที่ถูกควบคุมโดยรัฐ และไม่น่าประหลาดใจหากร่างกายได้รับสาร อีเฟดรีนเข้าไปแล้วมีอาการทางจิต ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการหวาดระแวงกลัวคนจะมาทำร้ายเปรียบได้กับระเบิดเวลา เมื่อไม่มีอาการจะเหมือนคนปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีอาการหวาดระแวงมาก ๆ จนถึงจุดระเบิดก็จะทำร้ายผู้อื่น เพราะเกรงว่าผู้อื่นจะทำร้ายตนเอง

ช่วงเวลานั้นเอง


ที่บรรดานายแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญเรื่องสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ต่างออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องการพบสารอีเฟดรีนมากมายก่ายกองขนาดนั้นในตัว หมอเผ่า ว่ามันเข้าไปอยู่ได้อย่างไรตั้ง 200 เท่า ใครเป็นคนทำ เจ้าตัวหรือคนอื่น เข้าด้วยวิธีใด เวลาไหน .....สังคมเต็มไปด้วยคำถาม ??

แม้แต่ นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข


ยังออกมาให้ความเห็นว่า สงสัยว่ามีอีเฟดรีนอยู่ในตัวตั้ง 200 เท่า ผู้ป่วยจะนอนหลับลงได้อย่างไร?

ช่วงสายวันที่ 5 มีนาคม ครอบครัวทมทิตชงค์


ประกอบด้วย รศ.เพลินจิต นพ. ประกิตพันธ์ และนางอลิสา มารดา พี่ชาย และภรรยาของ นพ.ประกิตเผ่า เข้าร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ช่วยสืบหาที่มาที่ไปของสารอีเฟดรีนในร่างกายของ หมอเผ่า ที่มากกว่าคนปกติถึง 200 เท่า ว่ามาจากไหน หรือปนเปื้อนมากับอะไรและทำไมถึงเข้าไปอยู่ในร่างกายของ นพ.ประกิตเผ่า ได้

แม่ของหมอเผ่าให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนว่า


ช่วงเดือนกันยายน 2549 บุตรชายได้พบกลุ่มนักเรียนเก่าที่เคยเข้ามากวดวิชา จากนั้นถูกชักนำให้เชื่อว่าบุคคลบางคนในกลุ่มซึ่งเป็นผู้หญิง และกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงในการนั่งสมาธิ หลังจากนั้นบุตรชายก็เริ่มมีอาการผิดปกติ

ซึ่งเมื่อมองย้อนเหตุการณ์ตั้งแต่ปัจจุบันย้อนไปสู่เวลาช่วงดังกล่าว


ทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากการถูกกระตุ้นด้วย อีเฟดรีน และมีอาการของการถูก กระตุ้นด้วยยาอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิดอาการทางจิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในที่สุด

กระทั่งวันที่ 12 มีนาคม


ศาลสั่งให้ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ขอให้โรงพยาบาลศรีธัญญา ปล่อยตัวนพ.ประกิตเผ่า เนื่องจากผลการตรวจวิเคราะห์อาการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการ เดินเผชิญสืบ ของศาล เห็นว่า นพ.ประกิตเผ่า ป่วยจริง ต้องได้รับการรักษา

อีก 5 วันต่อมา 17 มีนาคม ศ.นพ. สมิง เก่าเจริญ


หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกับ เดลินิวส์ ถึงผลการตรวจหาสารอีเฟดรีนในร่างกายนพ.ประกิตเผ่า ครั้งล่าสุดว่า ตามที่หลายฝ่ายเข้าใจผิดมาตลอดว่าพบสารอีเฟดรีนในร่างกายผู้ป่วยนั้น เมื่อนำตัวอย่างปัสสาวะที่ส่งตรวจในครั้งแรกมาตรวจซ้ำอีกครั้ง

ผลออกมาปรากฏว่า


สารที่ตรวจพบ นั้นไม่ใช่อีเฟดรีน แต่เป็นสารซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephe drine) ที่มีอนุพันธ์คล้ายคลึงกัน จึงรายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับทราบ

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้น


คำว่าซูโดแปลว่าปลอม ดังนั้น ซูโดอีเฟดรีน ก็คืออีเฟดรีนปลอมนั่นเอง สารชนิดนี้มักพบในยาแก้หวัดคัดจมูกทั่วไป ซึ่งมีอยู่หลายตัว และไม่มีผลทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางจิตแต่อย่างใด


สำหรับเหตุผลที่ต้องนำปัสสาวะของผู้ป่วยมาตรวจซ้ำ


เนื่องจากได้รับทราบประวัติของคนไข้ว่าได้รับประทานซูโดอีเฟ ดรีน หรือ ยาแก้หวัด คัดจมูก เป็นประจำ ดังนั้นจึงต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันอีกครั้ง และผลที่ออกมาก็ยืนยันว่าไม่ใช่อีเฟดรีนแน่นอน

หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาฯ ยืนยันว่า


ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายเข้าใจว่า ระดับสารที่พบในร่างกายมีถึง 200 เท่านั้น เป็นความเข้าใจผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็น 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือในร่างกายมนุษย์ไม่มีอีเฟดรีน จึงไม่มีการตั้งต้นจาก 1 เท่า จนถึง 200 เท่าดังนั้น น่าจะหมายถึงปริมาณของสารที่ร่างกายมนุษย์จะรับได้มีจำนวนหนึ่ง แต่ในตัว หมอเผ่า มีถึง 200 เท่า

ส่วนประเด็นที่ 2 ก็คือ ไม่มีสารอีเฟดรีนในตัวผู้ป่วย

ในครั้งแรกที่เรานำตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วยมาตรวจ


พบปริมาณซูโดอีเฟดรีน ประมาณ 13.7 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่เมื่อนำปัสสาวะมาตรวจซ้ำ พบปริมาณซูโดอีเฟดรีน ประมาณ 16 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งปริมาณดังกล่าว คนไข้รับประทานยาแก้หวัด คัดจมูก ที่ผลิตยาซูโดอีเฟดรีนแม้เพียง 1 เม็ด ก็สามารถตรวจพบได้ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาฯ ยืนยัน

จากคำยืนยันของแพทย์จึงพอสรุปเบื้องต้นได้ว่า


นพ.ประกิตเผ่า น่าจะรับประทานยาจำพวกแก้หวัดคัดจมูกเข้าไป ผลการตรวจปัสสาวะจึงพบซูโดอีเฟดรีนดังกล่าว แต่คงต้องรอผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการจากพนักงานสอบสวนกองปราบปรามอีกครั้ง ว่าตกลงเป็น อีเฟดรีน หรือ ซูโดอีเฟดรีน....ตกลง หมอเผ่า กินยาแก้หวัดเอง หรือถูกมอมยา !!??


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์