พบรอยเท้าโบราณอุทยานฯภูลังกา

จาก อ.เมืองนครพนม ถึง อุทยานแห่งชาติภูลังกา อยู่บนเส้นทางสายนครพนม-บ้านแพง ทางหลวงสาย 212 ระยะทางประมาณ 92 กิโลเมตร  ภูลังกา ถึงอำเภอบ้านแพง

เลี้ยวเข้าไปที่ทำการอุทยานฯ อีกประมาณ 4 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 31,250 ไร่ หรือประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นภูเขาทับซ้อนกัน 3 ลูก ทอดยาวตั้งขนานไปกับลำน้ำโขง เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดขาม น้ำตกตาดโพธิ์ และลำธารใหญ่น้อย หลายสาย เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของ ดอกไม้ กล้วยไม้ และพรรณไม้นานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งสมุน ไพรที่หายาก
   
สำหรับการเดินทางขึ้นสู่ภูลังกา จากบริเวณที่ทำการอุทยานฯ ใกล้น้ำตกตาดโพธิ์ เขตตำบลไผ่ล้อม เป็นเส้นทางเดินเท้าขึ้นภูเขา

สองข้างทางเป็นต้นไม้น้อยใหญ่ บางช่วงบางตอนเป็นทางลาดชันเต็มไปด้วยรากไม้ เถาวัลย์ และต้นไม้ใหญ่น้อย หนาแน่น มีจุดชมวิวหลายแห่งที่สวยงาม ยิ่งสูงขึ้นไปก็จะเป็นภูเขาหินทรายสลับซับซ้อนแซมด้วย ดอกไม้ป่า ดอกหญ้า และกล้วยไม้ป่าหลายชนิด เช่น หญ้าจิ้มฟันควายสีขาวและม่วง เหลืองพิสมร ม้าวิ่ง เอื้องบายศรี เขาพระวิหาร และกล้วยไม้สกุลสิงโต ซึ่งมีอยู่ตามทางเดินเลาะริมไปตามไหล่เขา เมื่อเดินถึงบนยอดสุด  ก็จะพบ เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์ เป็นเจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  ที่อัญเชิญมาจากประเทศเนปาล เมื่อปี พ.ศ. 2543 ตั้งอยู่บนลานหินที่มีลักษณะคล้ายกองข้าว ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของภูลังกา สูงประมาณ 563 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะทั่วไปเป็นลานหินกว้าง สลับด้วยพรรณไม้นานาชนิด มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นจุดชมวิวดูพระอาทิตย์ขึ้นจากแม่น้ำโขง และทิวเขาใน สปป.ลาว ส่วนด้านตรงข้ามจะมองเห็นผาใจขาด และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่บริเวณบึงโขงหลง ถ้ามาช่วงปลายฝนต้นหนาวก็จะพบดอกไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งสัมผัสความหนาวเย็นบนยอดเขาได้อย่างจับใจ


นายวิเศษศักดิ์ วิเศษโวหาร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ   ภูลังกา ได้รับแจ้งจากพระสงฆ์ที่ขึ้นไปธุดงค์บนภูลังกา รวมทั้งชาวบ้านที่ขึ้นไปเก็บของป่า

พบรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่บนลานหิน บนยอดเขาภูลังกาทางทิศใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า สารคึ (สา-ระ-คึ) พร้อมกันนั้น หัวหน้าอุทยานฯและนายวิชุกร กุหลาบศรี ผอ.ททท.สำนักงานนครพนม พร้อมคณะสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่ ได้ไป  สำรวจหาข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2552 และได้ พบรอยเท้าคล้ายรอยเท้ามนุษย์ อยู่บนลานหินทรายแดง จำนวน 8 รอย ขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว ลักษณะเป็นรอยเท้าย่างเดินจากทางทิศใต้ ไปทางทิศเหนือ จากรอยแรกเป็นรอยเท้าซ้าย ไปถึงรอยที่ 6 สำหรับ รอยที่ 7-8 เป็นรอยเท้าคู่ ไปหยุดเดิน สิ้นสุดอยู่ขอบหน้าผา หันหน้าไปทางทิศเหนือ ซึ่งจะมองเห็นแม่น้ำโขงไหลอ้อมภูลังกา ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น รอยเท้ามนุษย์โบราณ ซึ่งจะมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และการท่องเที่ยวในอนาคต โดยจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจพิสูจน์ในเร็ว ๆ นี้
   
นายวิชุกร ผอ.ททท.สำนักงานนครพนม ให้สัมภาษณ์ว่า การพบรอยเท้ามนุษย์โบราณในครั้งนี้ อาจจะนับได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก ซึ่งไม่เคยปรากฏพบเห็นมาก่อน

และมีความสำคัญต่อการสืบค้นประวัติความเป็นมาของมนุษย์ ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญ และควรที่จะได้มีการอนุรักษ์ไว้ สำหรับในด้านการท่องเที่ยว จังหวัดนครพนมได้พบรอยเท้า ไดโนเสาร์ที่บ้านพนอม อำเภอท่าอุเทน  ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางไดโนเสาร์ จากภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ การพบรอยเท้ามนุษย์โบราณ จึงสามารถเชื่อมต่อเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยว ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้แหล่ง ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่สำคัญของโลกที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา ในจังหวัดนครพนม
   
นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปพักแรม เพื่อสัมผัสความสวยงามตามธรรมชาติ ภูมิอากาศที่หนาวเย็น ความประทับใจ ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

และขึ้นไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์ สามารถติด ต่อที่พักและการเดินทางได้ที่อุทยานแห่งชาติ ภูลังกา 0-4224-4175 08-3348-2549 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้    ที่ททท. สำนักงานนครพนม 0-4251-3490-2.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์