พบ.! นกน้ำหายาก ในรอบ 130 ปี!!!

สมาคมนกนานาชาติประกาศค้นพบนกน้ำขึ้นบัญชีหายาก


บริเวณแหล่งน้ำพื้นที่บำบัดน้ำเสียในเมืองไทย เป็นนกน้ำหายากในรอบ 130 ปี!

นกน้ำที่ค้นพบเป็นนกน้ำที่ถูกขึ้นในบัญชีนกหายาก ชนิดรีด วอเบลอร์ พบครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 1867 ที่หุบเขาซุทเลจ ในอินเดีย ด้วยความที่หายากจึงเป็นที่ถกเถียงมายาวนานในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่านกชนิดนี้เป็นตัวแทนของสายพันธุ์ตัวจริง หรือเป็นแค่พันธุ์ที่ผิดปกติมาจากพันธุ์ทั่วไป


หน่วยงานอนุรักษ์แห่งแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า


การถกเถียงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่นายฟิลลิปป์ ราวนด์ นักวิหควิทยาประจำมหาวิทยาลัยมหิดล จับนกตัวหนึ่งเมื่อปีที่แล้วได้ที่ศูนย์บำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่งนอกกรุงเทพ

"นกรีด-วอเบลอร์ทั่วไปจะมีสีทึม ๆ และดูเหมือนกันไปหมด แต่นกตัวหนึ่งที่ผมจับได้เช้าวันนั้นดูประหลาดมาก ๆ บางอย่างในตัวมันไม่มีอะไรเพิ่มเติม มันแปลกตรงที่จะงอยปากยาวและมีปีกสั้นมาก แล้วผมก็แจ่มแจ้งเลยว่าผมอาจจะอุ้มนกรีด-วอเบลอร์ที่อยู่ในบัญชีหายากอยู่ อึ้งพูดไม่ออกเลยครับ" ฟิลลิปป์บอกเล่า


และเพื่อเป็นการยืนยันว่าเขาเป็นผู้ค้นพบ


ฟิลลิปป์ได้ส่งภาพถ่ายของนกและตัวอย่างดีเอ็นเอไปให้นายสแตฟเฟน เบนช์ แห่งมหาวิทยาลัยลุนด์ ในสวีเดน ผู้ที่เคยตรวจสอบนกตัวอย่างที่พบในอินเดียเมื่อครั้งก่อน โดยสแตฟเฟนยืนยันว่านกตัวนี้คือตัวแทนของสายพันธุ์นี้ของแท้

มีหลักฐานมากมายถูกเก็บไว้ในลิ้นชักในพิพิธภัณฑ์ บ่งชี้ว่านกรีด-วอเบลอร์ ที่ถูกขึ้นในบัญชี เป็นสายพันธุ์เฉพาะที่มีหนึ่งเดียว หลักฐานเหล่านี้ปรากฎขึ้นหลังการค้นพบของฟิลลิปป์ได้ 6 เดือน >ตัวอย่างของนกที่พบเป็นครั้งที่สองถูกพบเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่เมืองทริง ประเทศอังกฤษ และที่ถูกเก็บไว้ที่ประเทศอินเดียคือนกไบลธ์ ชนิดรีด-วอเบลอร์ ที่ถูกเก็บไว้เมื่อยุคศตวรรษที่ 19 นกตัวนี้ถูกจับได้ที่เมืองอุตตาร์ประเดช ในประเทศอินเดีย เมื่อปี 1869

ซึ่งนายสแตฟเฟนได้ยืนยันบ่งชี้ด้วยการใช้ดีเอ็นเอ โดยนกตัวอย่างที่อินเดียนั้นมีลำตัวสั้น ปีกกลม ซึ่งอาจเป็นประชากรนกที่อยู่อาศัยในแถบนั้น หรืออาจเป็นแค่นกอพยพมาอยู่ระยะสั้น ๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการที่ได้พบนกชนิดนี้ในเมืองไทยเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก



"เกือบไม่มีอะไรให้ได้รู้อีกแล้ว เกี่ยวกับนกลึกลับชนิดนี้ ซึ่งตอนนี้เรื่องสำคัญอันดับแรก ๆ คือเราจะต้องทำการค้นหาว่าประชากรนกรีด-วอเบลอร์ อยู่อาศัยกันที่ไหน ถูกคุกคามหรือไม่ และถ้าเป็นอย่างนั้นจะมีมาตรการกับเรื่องเหล่านี้อย่างไร"

ซึ่งการค้นพบนกพันธุ์หายากนี้ นับเป็นครั้งที่สองในรอบ 139 ปี เป็นเรื่องน่าทึ่งมาก นายสจ๊วต บัทชาร์ต แห่งสมาคมนกนานาชาติ บอกอีกด้วยว่าการที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกค้นพบเป็นเหมือนปาฏิหาริย์ก็ว่าได้ นายสจ๊วตและผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกอีกหลายคนบอกเพิ่มเติมว่า

การค้นพบเป็นครั้งที่สองนี้ ทำให้มีความหวังในภายภาคหน้าว่า อาจมีการค้นพบนกสายพันธุ์ดังกล่าวเพิ่มเติมในพม่า , บังกลาเทศ และภาคอื่น ๆ ในเมืองไทยต่อไป.



ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพ

จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์