ผู้ต้องหายากไร้เฮ! ศาลช่วยค่ารถมารายงานตัว 1มี.ค.นี้ นำร่อง 23ศาลใช้กำไลไฮเทค

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 20 ก.พ. ที่ศูนย์อำนวยความยุติธรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้น 6 อาคารศาลอาญา นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ดำเนินการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ร่วมกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้น 261 ศาลทั่วประเทศ เกี่ยวกับระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติต้องห้าม การแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ เงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ ผู้จับ ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่หลบหนี ตาม พ.ร.บ.มาตรการกำกับ และติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล 2560

นายสราวุธ กล่าวว่า ระเบียบนี้ดำเนินการได้หลังจากที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังและประกาศลงราชกิจจาฯ และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา เมื่อระเบียบประกาศใช้แล้วตามมาตรา 9 เงินที่จะใช้เกี่ยวกับระเบียบนี้ จะใช้เป็นเงินค่าปรับในคดีอาญา ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาเงินมีค่าปรับในคดีอาญาประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเมื่อศาลใช้ระเบียบเครื่องมือตรงนี้ ศาลจะมีการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว โดยทางสำนักงานศาลได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมการปกครอง โดยศาลจะมีการตกลงทำสัญญา MOU ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ สร้างเครือข่ายให้กำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ สามารถเป็นผู้กำกับดูแลและรับเป็นผู้รายงานตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ด้วย และยังเป็นฐานข้อมูลสำหรับคนในพื้นที่ ซึ่งทางกรมการปกครองก็สามารถสั่งการให้ทางกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นเหมือนเครือข่ายเป็นผู้กำกับการติดตามการรายงานตัว รวมถึงฐานข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ทางศาลยุติธรรมก็จะทำความร่วมมือกับกรมคุมประพฤติซึ่งสิ่งที่เราดำเนินการกับกรมคุมประพฤติจะมี 2 ประการ คือ 1.ฐานข้อมูล 6 ล้านคดีทั่วประเทศ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่ศาลใช้ประกอบพิจารณาวินิจฉัยว่าจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือไม่ เพราะบางคนกระทำความผิดหลายครั้งก็จะอยู่ในฐานข้อมูล นอกจากนี้ เวลาศาลสั่งสืบเสาะในปัจจุบันนี้เรายังต้องมีจดหมายนำส่งไปที่กรมคุมประพฤติ แต่ต่อไปเมื่อได้ทำข้อตกลงกับกรมคุมประพฤติเราใช้ระบบสแกนกระบวนพิจารณาแล้วส่งไปโดยไม่ต้องทำหนังสือนำส่ง

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า ทางกรมคุมประพฤติก็จะรับดำเนินการ ก็ทำให้รวดเร็ว จะลดขั้นตอนการทำหนังสือส่ง ลดการเซ็นต์เอกสาร และสิ่งที่สำคัญจะเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.กรมคุมประพฤติ ที่กำหนดไว้ว่าจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 วัน ที่จะต้องแจ้งคำสั่งต่างๆ กระบวนการตรงนี้ทางสำนักงานศาลฯ จะจัดทำคู่มือและอธิบายขั้นตอนทั้งหมด ว่าถ้าสามารถเชื่อมต่อในทางเทคโนโลยี ทางกรมประพฤติกับศาลทั่วประเทศ จะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ลดกระดาษในการติดต่อสื่อสารกัน

สิ่งที่ศาลทั่วประเทศจะต้องทราบ คือกระบวนการตามกฎหมายฉบับนี้เปิดโอกาสให้ศาลสามารถใช้กลไกตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ในการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ได้รับการปล่อยชั่วคราวเพื่อให้คำปรึกษา ซึ่งสิ่งที่สำคัญตัวตามระเบียบนี้ คือ ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเป็นคนยากจน ไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าพาหนะมารายงานตัวต่อศาล ระเบียบฉบับนี้เปิดช่องให้สามารถจ่ายเงินในอัตราครั้งละ 300 บาท และนอกเขตศาล 500 บาท หรือถ้าศาลเห็นว่าจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ ก็สามารถกำหนดได้ และการตั้งผู้กำกับดูแลเป็นกลไกช่องทางและเครื่องมือที่ทางสำนักงานศาล จะได้แจกจ่ายกำไรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM ไปใน 23 ศาลนำร่อง ซึ่งจะมีการเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้อีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติต้องห้าม การแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว ตาม พ.ร.บ. มาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราว มีสาระสำคัญเรื่องต่างๆสรุปว่า สำหรับค่าพาหนะแก่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวหากเป็นผู้ยากไร้ไม่มีค่าพาหนะสำหรับการเดินทางไปศาล หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด มีสิทธิขอรับค่าพาหนะตามหลักเกณฑ์ดังนี้

1.กรณีผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่ยากไร้ที่มีที่พักอาศัยอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดเดียวกับสถานที่ที่ศาลกำหนดให้ไปปฏิบัติตามเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวกำหนดค่าพาหนะ ไม่เกินครั้งละ 300 บาท 2.กรณีมีที่พักอยู่นอกเขตอำนาจศาล สามารถให้กำหนดค่าพาหนะไม่เกินครั้งละ 500 บาท ซึ่งในการกำหนดค่าพาหนะศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็นอย่างยิ่ง ศาลมีอำนาจกำหนดค่าพาหนะสูงกว่าอัตราที่กำหนดก็ได้ ซึ่งผู้ถูกปล่อยชั่วคราวจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ออกหมายปล่อย

สำหรับผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวจะเป็นบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้สอดส่องดูแลรับรายงานตัวหรือให้คำปรึกษาผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือภัยอันตราย โดยมีหน้าที่สอดส่องดูแล, รับรายงานตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราว และให้คำปรึกษา โดยผู้กำกับดูแลต้องกำชับตักเตือนและคอยสอดส่องพฤติกรรมของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวว่าปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลหรือไม่ หากพบพฤติกรรมอันสงสัยว่าผิดเงื่อนไข ต้องรายงานศาลโดยเร็ว

ส่วนเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับ และเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่หลบหนี ซึ่งเมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีส่งตัวต่อศาลแล้ว ให้ผู้แจ้งความนำจับหรือเจ้าหน้าที่ผู้จับยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันส่งตัวจำเลยต่อศาล โดยผู้ร้องต้องแสดงหลักฐานที่หน้าเชื่อถือว่าตนเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว โดยอัตราให้กำหนดเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับ ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาท และให้กำหนดเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับในอัตราไม่เกิน ร้อยละ50 ของวงเงินประกันตัวตามที่ศาลกำหนด หรือตามบัญชีมาตรฐานกลางหลักประกันการปล่อยชั่วคราว แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

ส่วนกรณีที่จำเลยที่หลบหนี ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลไม่ได้กำหนดวงเงินประกันตัว ให้กำหนดเงินรางวัลไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนค่าตอบแทนของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวซึ่งมีหน้าที่ในการรับรายงายตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราวตามกำหนดนัดแทนศาล 1.ในกรณีที่ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีหน้าที่ในการรับรายงานตัวให้กำหนดค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 2,000 และไม่เกิน 5,000 บาท 2.ในกรณีผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแล ให้กำหนดค่าตอบแทนไม่น้อยกว่า 2,000 บาท และไม่เกิน 10,000 บาท

และ 3.กรณีผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาให้กำหนดค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง ที่ให้คำปรึกษาครั้งละ 2,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 30,000 บาท การกำหนดค่าตอบแทนให้คำนึงถึงลักษณะความยากง่ายของภารกิจ ตลอดจนระยะเวลาที่ต้องดำเนิน การประกอบ


ผู้ต้องหายากไร้เฮ! ศาลช่วยค่ารถมารายงานตัว 1มี.ค.นี้ นำร่อง 23ศาลใช้กำไลไฮเทค

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:09 น. ]
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์