ผลสำรวจคนเป็นหนี้พบเกิดจากบัตรเครดิตมากที่สุด

กรุงเทพฯ 26 ก.พ. - นางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจสภาพหนี้ภาคครัวเรือนทั่วประเทศ จำนวน 1,202 ตัวอย่าง วันที่ 18-23 กุมภาพันธ์ 2552 ว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 58.4 ระบุมีหนี้ ร้อยละ 41.6 ไม่มีห


นางยาใจ กล่าวว่าสำหรับผู้ที่เป็นหนี้ร้อยละ 83.8 กู้จากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รองลงมากู้จากนายทุนร้อยละ 75.4

สำหรับภาพรวมหนี้ภาคครัวเรือนระบุว่าหนี้สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากบัตรเครดิตถึงร้อยละ 72.01 รองลงมาเป็นหนี้ธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 69.26 จากการยืมเพื่อนและคนรู้จัก ร้อยละ 68.62 แหล่งเงินกู้จำแนกตามรายได้ พบว่าเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท จะกู้จากเพื่อนและคนรู้จักอันดับแรก ส่วนเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท กู้จากญาติพี่น้อง ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 143,476.32 บาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบร้อยละ 57.40 หนี้นอกระบบร้อยละ 42.60 ยอดผ่อนชำระต่อเดือนอยู่ที่ 9,416.50 บาท


สำหรับวัตถุประสงค์ในการกู้อันดับ 1 กู้เพื่อใช้จ่ายประจำวัน อันดับ 2 อื่น ๆ

ภาระหนี้ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับอดีตส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 57 ระบุว่ามีหนี้เพิ่มขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบ ด้านความสามารถในการชำระหนี้รอบปีที่ผ่านมานั้น มากถึงร้อยละ 66.8 มีปัญหา ที่ไม่มีปัญหามีเพียงร้อยละ 33.17 และรอบปีที่ผ่านมาพบว่าคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท มากถึงร้อยละ 71.4 เคยมีปัญหาชำระหนี้ มีเพียงร้อยละ 28.6 ไม่มีปัญหา ขณะที่วิธีแก้ไขเมื่อรายได้ไม่พอรายจ่าย พบว่าเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 45.27 กู้ยืม ซึ่งสอดคล้องกับคนรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนร้อยละ 37.70 และหากกู้ยืมเงินในอนาคตร้อยละ 43.39 ระบุว่าจะนำไปใช้จ่ายประจำวัน


ส่วนความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและภาวะหนี้ พบว่าภาคครัวเรือนห่วงเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด

โดยมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 68.57 รองลงมา คือ ปัญหาการว่างงานของคนใกล้ชิดร้อยละ 51.17 หากเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ พบว่าคนเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 61.72 ระบุว่ามีหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่คนเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท กว่าร้อยละ 52.31 ระบุว่าหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ และหากเปรียบเทียบหนี้กับรายได้ในปัจจุบันและอนาคต 1 ปีข้างหน้า ร้อยละ 59.76 เชื่อว่าหนี้จะเพิ่มกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วน 1 ปีข้างหน้าคาดว่าหนี้จะเพิ่มน้อยกว่ารายได้


อย่างไรก็ตาม ภาคครัวเรือนร้อยละ 91.2 ระบุว่ามีการออมเงิน โดยร้อยละ 64.3 เก็บเงินไว้ที่บ้าน ฝากธนาคาร ร้อยละ 58.7 และทำประกันชีวิตร้อยละ 40.6

แต่คนที่ออมเงินร้อยละ 50 ของรายได้มีเพียงร้อยละ 3.3 ส่วนใหญ่จะออมน้อยกว่าร้อยละ 10 ด้านพฤติกรรมใช้จ่ายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.4 ระบุว่าซื้อลดลง สาเหตุ เพราะสินค้าแพงขึ้นร้อยละ 22.8 มีภาระหนี้มากขึ้นร้อยละ 20.7 ดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงร้อยละ 19.7 ซื้อมากขึ้นมีเพียงร้อยละ 0.9 เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 และมีเพียงร้อยละ 6.4 มองว่าเศรษฐกิจดีขึ้น สำหรับภาพรวมพบว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายในปัจจุบันมีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ที่รับ คิดเป็นร้อยละ 58.1 ส่วนที่จ่ายมากกว่ารายรับอยู่ที่ร้อยละ 33.8 จ่ายเท่ากับรายได้ร้อยละ 8.1


ด้านทัศนะต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ร้อยละ 50.3 ซื้อเท่าเดิม ร้อยละ 31.6 ซื้อมากขึ้น

และซื้อน้อยลงร้อยละ 17.4 ส่วนใหญ่ร้อยละ 34.1 พึงพอใจน้อยต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ พึงพอใจมากมีเพียงร้อยละ 0.3 ไม่พอใจร้อยละ 6.1 และส่วนใหญ่ร้อยละ 34.9 ระบุว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการน้อย ทั้งนี้ ประชาชนเห็นว่าด้านความเชื่อมั่นต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้มากน้อยเพียงใดนั้น พบว่าร้อยละ 39.5 เชื่อมั่นน้อย เชื่อมั่นมากร้อยละ 23.2 เท่าเดิมร้อยละ 22.6 น้อยที่สุดร้อยละ 13.9 และไม่เชื่อมั่นร้อยละ 0.6 ส่วนการแจกเงิน 2,000 บาทนั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.4 เห็นว่าเงินดังกล่าวกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนได้น้อย และถ้าได้รับเงิน 2,000 บาท จะทำอะไร พบว่าร้อยละ 84.1 ใช้หมด เก็บไว้ร้อยละ 9 ใช้บ้างเก็บบ้างร้อยละ 6.9.-สำนักข่าวไทย


เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์