นัดอ่านคำพิพากษาฎีกาค่าโง่ทางด่วน6พันล้านวันนี้

"ผิดสัญญาสัมปทาน"


ศาลแพ่งกรุงเทพใต้นัดอ่านคำพิพากษาฎีกาค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้าน เช้าวันนี้
เวลา 09.00น.วันที่ 1 ธันวาคม ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้นัดอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท ที่บริษัทฟิงเกอร์ เบอร์เกอร์ เอจี , บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัทวัลเทอร์ เบา เอจี ในนามกิจการร่วมค้าบีบีซีดี เป็นผู้ร้องที่ 1-3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกบังคับให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ค่าสัญญาสัมปทานดำเนิน

โครงการก่อสร้างทางด่วนยกระดับ บางนา - บางพลี - บางปะกง ปฏิบัติตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของคณะอนุญาโตตุลาการ เลขแดงที่ 36/2544 ลงวันที่ 20 ก.ย.44 ที่วินิจฉัยให้ กทพ. ต้องชำระเงินจำนวน 6,039,893,254 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้กิจการร่วมค้าบีบีซีดี ที่ผิดสัญญาสัมปทานก่อสร้าง ในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้าเป็นเหตุให้โครงการสร้างไม่เป็นไปตามที่กำหนด

"คำวินิจฉัยชี้ขาด"


คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2546 เห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการกระทำโดยชอบและถูกต้องแล้ว จึงพิพากษาบังคับให้ กทพ.ปฏิบัติตามคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการให้ชำระเงินแก่ผู้ร้องทั้ง 3 จำนวน 3,371,446,114 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันที่ 2 พ.ย. 2542 เป็นต้นไป

และชำระเงินจำนวน 2,668,447,140 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันที่ 15 ม.ค.2543 จนกว่าจะชำระเสร็จ รวมเป็นเงินต้นทั้งสิ้น 6,039,893,254 บาท และให้ กทพ.ใช้ค่าธรรมเนียมแทนผู้ร้องทั้ง 3 โดยกำหนดค่าทนายความ 500,000 บาท

"ค่าเสียหายทั้งหมด"


ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว อัยการผู้รับมอบอำนาจ กทพ. ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำร้องผู้ร้องทั้งสาม ในประเด็นเรื่องความไม่เป็นกลางและขาดความเป็นอิสระในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่มีนายเธียร เจริญวัฒนา ประธานอนุญาโตตุลาการ และนายวัลลภ ตันติกุล อนุญาโตตุลาการฝ่าย กทพ.

จากการตรวจสอบของ กทพ.พบว่าเคยมีการถือหุ้นบีอีซีแอลมาก่อน และไม่ได้แจ้งข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่ามีเหตุโยงใยกันที่น่าเชื่อว่าสามารถทำให้ขาดความเป็นอิสระและความเป็นกลางได้ , ประเด็นคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการไม่ตรงกับสัญญาและข้อกฎหมาย

ประเด็นมูลค่าความเสียหายซึ่งคณะทำงานอัยการคิดคำนวณตัวเลขต่ำกว่า 6,200 ล้านบาท ตามที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซีดีระบุไว้ โดยอัยการคิดคำนวณตัวเลขค่าเสียหายที่เหมาะสมชดเชยให้ควรจะอยู่ที่ 288 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้วิศวกรกทพ.เคยเบิกความและแสดงเอกสารหลักฐานการคำนวณค่าเสียหายในศาลชั้นต้นตามข้อเท็จจริงแล้วว่า ตัวเลขค่าเสียหายน่าจะอยู่ที่ 288 ล้านบาท

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์