นักวิจัยไทยยันสเต็มเซลล์ รักษาได้บางโรคเท่านั้น

นักวิจัยไทยยันสเต็มเซลล์ รักษาได้บางโรคเท่านั้น

เมื่อวันที่9ส.ค. ดร.สุธีรา รัตนศิรินทรวุธ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาชีวเวชศาสตร์ (Biologicaland Biomedical Sciences)จาก Harvard MedicalSchoolผู้มีประสบการณ์การค้นคว้าวิจัยทางด้านสเต็มเซลล์เป็นเวลากว่าหกปีจากห้องปฏิบัติการของ ดร.จอร์จ ดาเลย์ หัวหน้านักวิจัยระดับแนวหน้าด้านสเต็มเซลล์ ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวการใช้สเต็มเซลล์ของมนุษย์ในการรักษาว่าสเต็มเซลล์นั้นเป็นเซลล์ที่มีศักยภาพพิเศษ สามารถแบ่งตัวได้อย่างไม่จำกัด ทำหน้าที่เสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอในร่างกาย การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษานั้น สามารถทำได้ในบางโรคเช่น โรคในระบบเลือดอย่างมะเร็งในเม็ดเลือดขาวซึ่งการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อเปลี่ยนถ่ายสเต็มเซลล์เลือดนั้น เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง แต่ในการรักษาโรคระบบอื่น ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยเท่านั้น และยังไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์

ดร.สุธีรา เปิดเผยต่อว่า การเก็บสเต็มเซลล์ที่ได้รับการยอมรับนั้น คือการเก็บจากรกของเด็กแรกเกิด เพื่อนำมาทำการเก็บรักษาโดยการแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวอุณหภูมิ-196องศาเซลเซียส ซึ่งในขณะนี้ ทางโรงพยาบาลหลายแห่ง มีการให้บริการและคิดราคาตั้งแต่หลักหมื่น จนไปถึงหลักแสนบาท ในการเก็บต่อครั้ง โดยเชื่อว่าอาจมีโอกาสนำมารักษาโรคบางชนิดได้ หากเด็กคนนั้นเกิดโรคขึ้นในอนาคต และในส่วนของการซื้อขายสเต็มเซลล์จากมนุษย์นั้น ยังไม่พบในรายงานแต่อย่างใด

"สำหรับการเก็บสเต็มเซลล์จากอวัยวะอื่น ๆ นอกจากไขกระดูกและจากรก ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้ให้นั้น ยังไม่มีการใช้ในการรักษาโรคในทางการแพทย์ ที่เป็นที่ยอมรับ ส่วนการเปลี่ยนถ่ายสเต็มเซลล์จากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่งนั้น หากต้องการทำก็จะเป็นการเปลี่ยนถ่ายระหว่างผู้ที่มีเซลล์ที่เข้ากันได้เท่านั้น เพื่อป้องกันการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันจากร่างกายดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายระหว่างผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดจะมีโอกาสที่เซลล์จะเข้ากันมากกว่า ระหว่างบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีความใกล้เคียงกันทางพันธุกรรม" ดร.สุธีรา กล่าว..


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์