ตุ๊กแกอบแห้ง รายได้ดี 10ล้านต่อเดือน

อาชีพแปลกทำ"ตุ๊กแกอบแห้ง"ส่งออกทำเงิน ช่วงเศรษฐกิจซบเซา และภาวะภัยแล้ง แห่งเดียวนครพนม ไม่กระทบยอดส่งออกตุ๊กแกตากแห้ง ส่งนอก พบเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้านบาท.....

เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ในช่วงนี้ถึงแม้หลายพื้นที่เกษตรกรจะประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่สามารถทำนา และการเกษตรได้ตามปกติ


รวมถึงสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้รายได้ลดลง แต่สำหรับชาวบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม กับไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านแห่งเดียวของนครพนม ที่ยึดอาชีพสุดแปลกมานานกว่า 20 ปี ทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งออกขายต่างประเทศหมุนเวียนตามฤดูกาลตลอดปี ทำให้มีเงินสะพัดหมุนเวียน เดือนละกว่า 10 ล้านบาท สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้าน ได้เป็นอย่างดี สวนกระแสในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ถึงแม้บางคนจะไม่สามารถทำนา และการเกษตรได้ แต่ยังมีอาชีพแปลกที่สร้างรายได้ตลอด

นายคนึง มีพรหม นายอำเภอนาหว้า จ.นครพนม กล่าวว่า สำหรับชาวบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม

ถึงแม้ช่วงนี้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจ และภัยแล้ง จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านหลายพื้นที่ แต่ชาวบ้านกับไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมีอาชีพแปลก ทำตุ๊กแกตาก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งขายต่างประเทศ สร้างเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้าน ได้ตลอดปี ถือเป็นอาชีพที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี ในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ โดยทางอำเภอก็ได้เข้าไปดูแลส่งเสริม สนับสนุนบางส่วน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก

ทางด้าน นายปราณีต นางทราช อายุ 50 ปี ชาวบ้านตาล ที่ยึดอาชีพทำตุ๊กแกตากแห้งส่งออก

สำหรับอาชีพแปลกของชาวบ้าน ทำตุ๊กแก ไส้เดือน ปลิง ตากแห้ง เป็นอาชีพสุจริตของชาวบ้าน เริ่มมานานกว่า 20 ปี แล้ว ถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะสภาพเศรษฐกิจจะซบเซา หรือเกิดปัญหาจากสภาพแวดล้อมภัยแล้ง แต่ไม่มีผลกระทบ ชาวบ้านยังมีรายได้หลักจากอาชีพแปลกเป็นปกติ ซึ่งจะทำหมุนเวียนไปตามฤดูกาล ส่วนช่วงนี้ก็จะเป็นตุ๊กแกตากแห้ง ทำให้ทุกคนมีรายได้ ตั้งแต่คนที่ออกไปจับมาขายตัวละประมาณ 10 - 25 บาท ตามขนาด จากนั้นจะสร้างงานให้กับชาวบ้านที่ทำชำแหละแปรรูปตามแบบมาตรฐาน แล้วนำไปตากแห้งหรืออบ ก่อนแพ็คนำส่งขายให้พ่อค้าส่งออกไป จีน ไต้หวัน นำไปปรุงอาหาร เป็นยาชูกำลัง ในราคาตัวละประมาณ 30 บาท ตามขนาดเล็กใหญ่ มียอดส่งออกเดือนละหลายแสนตัว มีเงินสะพัดหมุนเวียนกว่า 10 ล้านบาทต่อเดือน ถือเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นอย่างดี ตกครอบครัวละ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน

นายปราณีต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องปัญหาสูญพันธุ์ของตุ๊กแกนั้นไม่มีอย่างแน่นอน

เพราะในระยะเวลา 1 ปี จะมีช่วงพักประมาณเดือน ต.ค. – ม.ค. ช่วงตุ๊กแกผสมพันธุ์ออกไข่ ซึ่งธรรมชาติของตุ๊กแกนั้น ขยายพันธุ์ได้เร็ว และมีจำนวนมาก โดยเมื่อสู่ฤดูฝนก็จะไปทำปลิงตากแห้งแทน นอกจากนี้ในเรื่องของกฎหมายนั้นไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะตุ๊กแกที่ชาวบ้านจับมาเป็นตุ๊กแกตามบ้านเรือน ไม่ใช่ตุ๊กแกตามป่า จึงไม่ผิด ตาม พ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้าม ในอนาคตกำลังหาทางเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์