ดีเดย์! 1 ต.ค.นี้ ขยับภาษีสรรพสามิตน้ำหวานเพิ่ม


 ดีเดย์! 1 ต.ค.นี้ ขยับภาษีสรรพสามิตน้ำหวานเพิ่ม

วันนี้ (9ก.ย.62) นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า หลังจากวันที่ 16 ก.ย.2560 ที่เริ่มมีการจัดเก็บภาษีภาษีสรรพสามิตความหวาน พบว่ามีผู้ประกอบการที่ผลิตเครื่องดื่มเพียงยี่ห้อเดียว ลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มเพื่อให้เสียภาษีความหวานถูกลง ขณะที่รายอื่น ๆ ใช้วิธีออกสินค้าใหม่ และระบุว่ามีปริมาณน้ำตาลต่ำแทน เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบกับสินค้าเดิมที่ขายอยู่ในตลาด โดยขอย้ำเตือนว่าในวันที่ 1 ต.ค.2562 จะมีการปรับภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นทุก 2 ปี หากยังไม่สามารถลดปริมาณน้ำตาลได้ จะต้องเสียภาษีอีกเท่าตัว

ทั้งนี้ จากการบังคับใช้ภาษีความหวานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กรมได้ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสำรวจความรับรู้มาตรการภาษีความหวานกับประชาชน พบว่ามาตรการภาษีจูงใจให้ผู้ประกอบการปรับตัว โดยลดประมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม และมีการติดฉลาก เพื่อแจ้งให้ประชาชนรับทราบเพิ่มขึ้นกว่า 200% จากเดิม 60-70 รายการเป็น 200-300 รายการ แต่ในการรับรู้ประชาชนยังไม่มาก กลุ่มที่ตื่นตัวคือกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปี และกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ส่วนวัยทำงานยังสนใจน้อย และยังมีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานสูงอยู่มาก


นอกจากนี้ กรมเตรียมหารือกับคณะทำงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอาหารและยา (อย.) เข้าไปกำกับดูแลผู้ประกอบการ ให้เพิ่มขนาดเครื่องหมายแจ้งเตือนปริมาณน้ำตาล ให้สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายขึ้น อ่านได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการแจ้งเตือนโทษด้านสุขภาพ บนหน้าฉลากบุหรี่ ซึ่งจะเป็นหลักเกณฑ์ให้ได้รับประโยชน์ในภาษีด้วย ซึ่งจะต้องหารือในขั้นตอน หลักการและวิธีการต่อไป

นายณัฐกร กล่าวว่า ปัจจุบันภายใต้ภาษีความหวานกรมจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2-3 พันล้านบาทต่อปี โดยอัตราภาษีใหม่ที่จะปรับแบบขั้นบันได มีผลในวันที่ 1 ต.ค. 2562 จะทำให้กรมมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.5 พันล้าน หรือคิดเป็นรายได้จากภาษีน้ำหวานที่ 3.5-4.5 พันล้านบาทต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีภาพรวมของกรมสรรพสามิตในปีงบประมาณ 2562 ที่ 5.84 แสนล้านบาท และปี 2563 ที่ 6.4 แสนล้านบาท มั่นใจว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ต.ค.2562 ถึง 30 ก.ย.2564 เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 10 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เก็บภาษีเท่าเดิมที่ 0.30 บาทต่อลิตร , เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 10 กรัม แต่ไม่เกิน 14 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 1 บาทต่อลิตรจากเดิม เสียภาษี 0.50 บาทต่อลิตร , เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 14 กรัม แต่ไม่เกิน 18 กรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 3 บาทต่อลิตร จากเดิม 1 บาท และ ที่มีปริมาณน้ำตาลเกิน 18 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร เสียภาษี 5 บาทต่อลิตร และ จะมีการปรับภาษีแบบขั้นบันไดแบบเท่าตัวอีกครั้งในช่วง 1 ต.ค.2564-30 ก.ย.2566 และ 1 ต.ค.2566 เป็นต้นไป



เครดิตแหล่งข้อมูล : TNN 16


เรียบเรียง : ทีมงาน Teenee.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 3 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:14 น. ]
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์