ชื่อใหม่หวยบนดิน ไอล็อต ส่งกฤษฎีกาตีความ



ปลัดคลัง หารือ กองสลากฯ เคาะชื่อใหม่หวยบนดิน เป็น "ไอล็อต" เหตุจำหน่ายผ่านเครื่อง เตรียมส่งให้กฤษฎีกาตีความอีก เล็งหาช่องเอาเงินหวยสมัย 'ทักษิณ' มาใช้

วันนี้ (22 มิ.ย.) นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ว่า ในการหารือเบื้องต้น เป็นการประเมินการออกสลากกินแบ่ง 2 ตัว และ 3 ตัว โดยให้ทบทวนในด้านต่าง ๆ ทั้ง ด้านสังคม และด้านสัญญากับภาคเอกชน พร้อมกันนี้ไม่อยากให้ประชาชนเรียกว่า หวยบนดิน เพราะกองสลากไม่ได้ดำเนินการ ในลักษณะหวย

แต่ดำเนินการในลักษณะรูปแบบสลากกินแบ่ง จึงอยากให้เรียกว่าการออกสลากกินแบ่ง 2 ตัว และ 3 ตัว หรือ  ไอล็อต (ILOT ) เพราะได้มีการจำหน่ายผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ซึ่งย่อมาจากอินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี ล็อตเตอรี่

นายสถิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นทางสังคม ที่ประชาชนกังขาว่าเป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่ นายสถิตย์ กล่าวว่า

แม้ว่าสำนักงานสลากฯ จะศึกษาผลดีผลเสียมามากแล้ว แต่เห็นว่าขณะนี้เวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควร จึงให้สำนักงานสลากฯ ไปศึกษาเพิ่มเติมอีก ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่า การเสี่ยงโชคไม่ควรสนับสนุนอยู่แล้ว แต่เมื่อมองว่าการเสี่ยงโชคดังกล่าวมีอยู่แล้วในสังคม การออกหวยออนไลน์ครั้งนี้จะช่วยทำให้การเสี่ยงโชคที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้เป็นแบบถูกต้องตามกฎหมายได้มากน้อยแค่ไหนและประเด็นสำคัญ คือ ปัจจุบันการจำหน่ายสลากกินแบ่งประสบปัญหาราคาแพงมาก เพราะมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการ หากมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นแล้วจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้หรือไม่

ละพันธะของคู่สัญญาที่มีต่อกัน ระหว่างรัฐและเอกชน ผลกระทบของคู่สัญญาระหว่างเอกชนด้วยกัน ที่ได้ติดตั้งเครื่องจำหน่ายหวยออนไลน์ไปแล้ว เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาโครงการดังกล่าว ซึ่งต้องให้เวลาสำนักงานสลากฯ ไปดำเนินการเรื่องเหล่านี้ก่อน จึงจะเริ่มเดินหน้าโครงการอีกครั้ง ยืนยันว่าอำนาจการตัดสินใจเรื่องหวยออนไลน์เป็นของคณะกรรมการสลากฯ นอกจากนี้ จะหารือถึงเงิน 17,000 ล้านบาทที่ได้จากการขายหวยบนดินสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยว่าจะดำเนินการอย่างไร


ด้าน นายวันชัย สุระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า

สำนักงานสลากฯได้หารือแนวทางการออกหวยออนไลน์ โดยจะประเมินทั้ง 3 ด้าน คือ ข้อกฎหมาย ผลกระทบด้านสังคม และค่าใช้จ่าย รายได้ รวมไปถึงข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการหารือให้รอบด้าน การทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย ซึ่งได้เคยย้ำกับนายกรัฐมนตรีแล้วว่า การตัดสินใจเรื่องหวยออนไลน์ ไม่ว่าจะทำหรือไม่ทำ ก็จะมีผู้ประท้วงทั้ง 2 ด้าน แต่มีจุดสำคัญคือ หากไม่เดินหน้า จะถูกบริษัทล็อกซ์เลย์ จีเทค ผู้รับสัมปทานที่ลงทุนไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ รวมทั้งจะมีค่าเสียหายที่เกิดกับสำนักงานสลากฯ ทั้งอัตรากำลัง การลงทุนด้านระบบไอทีรองรับหวยออนไลน์ จึงอยากให้เดินหน้าเรื่องนี้

เพราะเตรียมการมานานแล้ว และเชื่อว่าหากมีหวยออนไลน์จะแก้ปัญหาสลากเกินราคาได้ ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับการพิมพ์สลากออกจากเครื่องออนไลน ได้ส่งหนังสือสอบถามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้คำตอบแล้วว่า ไม่ขัด พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ พ.ศ.2517 มาตรา 5 วงเล็บ 2 ว่าการจัดพิมพ์สลากต้องดำเนินการจากโรงพิมพ์เท่านั้น เพราะการพิมพ์หวยออนไลน์ได้ใช้กระดาษพิมพ์และรูปแบบต่าง ๆ จากโรงพิมพ์ แต่เป็นการเพิ่มเติมตัวเลขเท่านั้น


ผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ กล่าวอีกว่า

ขณะเดียวกัน ได้เตรียมขออำนาจจากคณะกรรมการสลากฯ ให้สำนักงานสลากฯ พิมพ์สลากเพิ่มหรือลดลงได้งวดละ 10 ล้านฉบับ ในช่วงที่มีความต้องการสูงหรือความต้องการน้อย ลดปัญหาสลากเกินราคา รวมทั้งแนวทางกระจายรางวัลที่ 1 เป็น 23 รางวัล และการปรับวันขายสลากใหม่ เพื่อลดปัญหาการซื้อไปรวมชุดแล้วขายในราคาแพง ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานสลากฯ ไม่ได้พิมพ์สลากเพิ่มมานานเกือบ 10 ปีแล้ว โดยพิมพ์ที่ 46 ล้านฉบับเท่านั้น ทำให้มีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องการที่จะพิมพ์สลากเพิ่มหรือลดได้แต่ละงวด เพื่อควบคุมราคาให้เหมาะสม โดยเตรียมหารืออีก ในวันที่ 30 มิ.ย


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์