ชาวบ้านลงมติยอมให้ตั้งฟาร์มเพาะงูเหลือม

ชาวบ้านลงมติยอมให้ตั้งฟาร์มเพาะงูเหลือม

ชาวบ้านลงมติยอมให้ตั้งฟาร์มเพาะงูเหลือม ปศุสัตว์จี้เอาผิดนำหนูขาวหมื่นตัวเป็นอาหาร!!

 ชาวบ้านหนองหินผ่านประชาคม จัดตั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์งูเหลือมงูหลาม

ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากพื้นที่ใกล้เคียงที่มีประสบการณ์มาก่อนแล้ว และไม่เห็นด้วย ส่วนเจ้าของฟาร์มงูรอเพียงการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ 4 คน ขณะที่อธิบดีกรมปศุสัตว์มอบอำนาจให้จังหวัดแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับฟาร์ม ที่นำหนูขาวมาเป็นอาหารให้กับงู เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ พร้อมแจ้งผลให้กรมทราบ

 วันที่ 19 มี.ค. ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุตรดิตถ์ รายงานความคืบหน้า กรณีตั้งฟาร์มงูเหลือมและงูหลามเถื่อน จำนวนเกือบ 1,000 ตัว

โดยเลี้ยงหนูขาว จำนวนกว่า 10,000 ตัว และนำหนูขาวตัวเป็นๆ มาเป็นอาหารในแต่ละมื้อให้กับงูเหลือมงูหลาม ซึ่งฟาร์มดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านหนองหิน ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติ 4 คน และ คนไทย 1 คน ด้วยเงินลงทุนกว่า 300 ล้านบาท บนเนื้อที่ดินกว่า 163 ไร่ อยู่ระหว่างที่เจ้าของฟาร์มงูยื่นเอกสารเกี่ยวกับผู้ถือครองโฉนดที่ดิน และเอกสารผู้ถือหุ้นส่วนที่เป็นชาวต่างชาติและคนไทย เพื่อประกอบคำขออนุญาตเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์งูเหลือมงูหลาม กับสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นผู้รับเรื่องและดำเนินการที่จะออกใบอนุญาตให้ โดยจะต้องผ่านการประชาคมหรือทำการประชาพิจารณ์จากชาวบ้านในพื้นที่

 โดย เมื่อช่วงค่ำคืน วันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่บริเวณศาลาการเปรียญวัดหนองหิน

หมู่ 6 ตำบลน้ำพี้ นายณรงค์ บ่วงรักษ์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 จังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในเวทีประชาคม เพื่อลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการจัดตั้งฟาร์มงูขึ้นในพื้นที่บ้านหนอง หิน โดยมีนายวีระชัย ช่างหิรัญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 เป็นผู้จัดทำประชาคม มีชาวบ้านจากหมู่บ้านน้ำพี้และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนประมาณ 300 คน ทยอยเดินทางมาลงทะเบียน เพื่อเข้าร่วมประชุมประชาคม ลงมติเรื่องตั้งฟาร์มงูในพื้นที่ มีหัวหน้าส่วนราชการประกอบด้วย ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์, นายทหารฝ่ายข่าว กองกำลังรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ รองผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรทองแสนขัน เข้าร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ 

 ที่ประชุมพูดถึง สาเหตุที่ต้องมีการจัดทำประชาคม และจำเป็นต้องใช้เสียงมติจากชาวบ้านในพื้นที่

 โดยมีตัวแทนจากเจ้าของฟาร์มงูชี้แจงถึงหลักการและเหตุผลในการตั้งฟาร์มงู และได้ชี้แจงถึงแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษภายในฟาร์ม การให้เงินสนับสนุนกิจกรรมแก่โรงเรียน วัดและชุมชน การช่วยเหลือรับแรงงานในพื้นที่เข้าทำงานภายในฟาร์มงู พร้อมจัดทำเอ็มโอยู เพื่อเป็นข้อตกลงหรือเงื่อนไขให้การช่วยเหลือกับชาวบ้านที่ประสบปัญหาหลัง รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นภายในอนาคต โดยมีตัวแทนชาวบ้านที่ไปศึกษาดูงานฟาร์มงูจากศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นฟาร์มพี่ฟาร์มน้องกันกับฟาร์มงูแห่งนี้ ร่วมชี้แจงให้ฟังถึงผลดีที่จะเกิดขึ้นมากกว่าผลเสีย แม้จะถูกกลุ่มชาวบ้านจากหมู่ 7 ตำบลป่าคาย พื้นที่ติดกันพูดถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเรื่องน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ได้ประสบการณ์จากโรงงานซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่และเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มาแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถสู้กระแสคนในพื้นที่บ้านหนองหินได้

 ก่อน ลงประชามติ ที่ประชุมให้ชาวบ้านซึ่งมาจากหมู่บ้านอื่น อาทิ หมู่ 8 ตำบลน้ำพี้ และ หมู่ 8 ตำบลป่าคาย รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงและไม่เกี่ยวข้องไปรวมอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง และงดออกเสียงในการลงประชามติร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่จัดตั้งฟาร์มงูโดยตรง จากนั้นลงมติเสียงโหวตแบบเปิดเผย เสียงส่วนใหญ่มีมติเห็นชอบด้วยการยกมือให้ผ่านแบบเอกฉันท์

 ด้าน นางสาวอนงค์ พรขำ ตัวแทนจากฟาร์มงูเหลือมงูหลาม กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ชาวบ้านในพื้นที่มีมติผ่านการประชาคมในครั้งนี้ ให้อย่างเอกฉันท์

 ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำคือการขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งทางบริษัทได้ยื่นต่อสำนัก 11 ไปหมดแล้ว อาทิ หนังสือรับรองเอกสารของหุ้นส่วนกรรมการบริษัทที่เป็นชาวต่างชาติทั้ง 4 คน หนังสือรับรองการถือครองโฉนดที่ดิน คงเหลือเพียงแต่การพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของกรรมการ ผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นชาวต่างชาติกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คงต้องรอให้ทางสำนัก 11 ส่งเรื่องดำเนินการต่อไป ผลการประชาคมครั้งนี้ก็จะถูกนำไปประกอบการขออนุญาตให้จัดตั้งเพาะพันธุ์และ ขยายพันธุ์งูเหลือมงูหลามในฟาร์มอย่างถูกต้องตามกฏหมายต่อไป

 ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหนังสือด่วนที่สุด

ที่ กษ-0604/7179 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 ถึงปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่องการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพ สัตว์ พ.ศ.2557 ตามที่มีสื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า “อบต.น้ำพี้ เตรียมลุยแจ้งความเอาผิดอธิบดีกรมปศุสัตว์ มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่แจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของฟาร์มงูเถื่อน นำหนูขาวมาเป็นอาหารให้กับงูเหลือมงูหลาม ตามพ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ เพื่อหยุดการทารุณกรรมสัตว์มากไปกว่านี้ ขณะที่ปศุสัตว์จังหวัด โบ้ย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษ ต้องอธิบดีเพียงผู้เดียว ส่วนชาวบ้านแคลงใจ 1 เดือนหน่วยงานรัฐไม่คืบ เหมือนมีอะไรปิดบัง” 

 เพื่อ การบังคับใช้กฏหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมปศุสัตว์ เห็นควรให้ปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท้องที่ที่มีการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการทุรุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 เมื่อดำเนินการแล้วผลเป็นประการใด ให้รายงานกรมปศุสัตว์ด้วย

 ขณะ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ระหว่างศึกษาข้อกฏหมายและช่องทางเพื่อมอบอำนาจจากปศุสัตว์จังหวัด

 ที่ได้รับจากกรมปศุสัตว์ ไปให้กับปศุสัตว์อำเภอทองแสนขัน ในฐานะเจ้าของพื้นที่และเป็นหน่วยงานภายใต้บังคับบัญชา ลงไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีเอาผิดกับเจ้าของฟาร์มงู ที่ใช้หนูขาวเป็นๆ มาเป็นอาหารให้กับงูที่เลี้ยงเอาไว้ภายในฟาร์มต่อไป

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์