คณบดีฯเรียก เปมิกาเข้าพบ

ที่ลานหินหน้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย


เวลา 14.00 น. กลุ่มนิสิตจุฬาฯ ประมาณ 10 คน ได้นัดหมายสื่อมวลชนไปรับฟังการแถลงข่าว กรณีมีข่าวนิสิตหญิงจุฬาฯเข้าไปมีส่วนพัวพันกรณี นพ. ประกิตเผ่า ตัวแทนนิสิตหญิง 3 คน ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยชื่อนามสกุลจริง


ร่วมกันแถลงว่า


ที่ออกมาวันนี้ เพราะต้องการให้อาจารย์จุฬาฯว่ากล่าวตักเตือนนิสิตหญิงคนหนึ่งที่เป็นข่าว เพราะทำให้มหาวิทยาลัยเสียชื่อเสียง

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในทางกลับกันหากนิสิตหญิงคนที่เป็นข่าว ไม่ได้ สร้างความเสียหายแต่กลับเข้าไปช่วยเหลือคนคนหนึ่ง ทางกลุ่มจะว่าอย่างไร

ตัวแทนนิสิตหญิงกล่าวว่า พวกตนต้องการให้อาจารย์จุฬาฯทำอะไรก็ได้ที่ออกมาปกป้องชื่อเสียงของจุฬาฯ เหมือนกรณีนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ และ นศ. ม.ราชภัฏสวนดุสิต แต่งกายไม่เรียบร้อย ก็ถูกทางมหาวิทยาลัยว่ากล่าวตักเตือน พวกตนไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับคดี แต่ไม่อยากให้น้องๆเห็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และต้องการให้จุฬาฯดูแลเรื่องจริยธรรม ความรับผิดชอบชั่วดี ของนิสิตให้มากกว่านี้

ต่อมาผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์นายสมโภช เอี่ยมสุภาษิต คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ


ต่อกรณีข้อเรียกร้องของนิสิตจุฬาฯกลุ่มดังกล่าว นายสมโภชกล่าวว่า ตนไม่เข้าใจประเด็น ที่นิสิตกลุ่มนี้ออกมาเรียกร้อง เพราะเรื่องนี้ต้องรอให้ศาลตัดสิน และทางคณะก็รับทราบข้อมูลจากสื่อมวลชน ไม่สามารถตัดสินได้ว่าลูกศิษย์ของเราผิดหรือถูก แต่ขณะนี้สังคมได้พิพากษาไปแล้วว่า น.ส.เปมิกา วีรชัชรักษิต ผิด จึงอยากให้ทุกฝ่ายให้ความเป็นธรรม


หากถามว่าในฐานะอาจารย์ ดูแลลูกศิษย์อย่างไร


ตอบได้ว่า ก็พยายามตักเตือน โดยติดต่อทางโทรศัพท์ได้ครั้งหนึ่ง แต่คิดว่าควรทำหนังสือเชิญให้มาพบอย่างเป็นทางการ เพื่อขอทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยส่งจดหมายทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ หรืออีเอ็มเอส รวมทั้งส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือไปให้แล้วตามที่อยู่ที่ น.ส.เปมิกาให้ไว้กับคณะ ให้มาพบอาจารย์ที่ปรึกษา และรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต วันที่ 7 มี.ค. นี้ เวลา 13.00 น. ที่คณะจิตวิทยา เพื่อจะสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อทราบเรื่องแล้ว คงจะให้คำแนะนำว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ


เมื่อเวลา 16.00 น. วันเดียวกัน


ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงถึงกรณีที่มีการตรวจพบสารเอฟริดีนในปัสสาวะของ นพ. ประกิตเผ่าในปริมาณมากกว่าคนปกติถึง 200 เท่า


สารเอฟริดีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 โดย


อย.เป็นผู้นำเข้า และส่งต่อให้ทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้ผลิตเป็นยาฉีด ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อบำบัดรักษาโรค ส่วนใหญ่จะมีการนำมาใช้ในการบรรเทาอาการหอบหืด ใช้ในห้องฉุกเฉิน และห้องผ่าตัด เพื่อกู้ชีพคนไข้ที่เกิดอาการช็อก จากการตรวจสอบไม่พบการรั่วไหลออกนอกระบบ เพราะมีการควบคุมอย่างเข้มงวด


โดยแต่ละสถานพยาบาลจะต้องสั่งซื้อสารเอฟริดีนจาก อย.เพียงแห่งเดียวเท่านั้น


ขณะที่แพทย์ผู้ใช้เองก็จะต้องจัดทำรายการใช้สารนี้ให้กับ อย.เป็นรายเดือน และเจ้าหน้าที่จะมีการพิจารณาตรวจสอบรายงานการใช้เพื่อประกอบจำนวนที่จะอนุมัติขายให้เป็นไปตามอัตราการใช้ที่เหมาะสม ผู้ละเมิดผลิตและนำเข้าสารเอฟริดีนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 5 ปีถึง 20 ปี ปรับ 100,000- 400,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

ด้าน นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า


ประเด็นที่ค้างคาใจของสังคมคือ ปริมาณสารเอฟริดีน 200 เปอร์เซ็นต์ หรือ 200 เท่า หรือ 200 มิลลิกรัม ขอชี้แจงว่า ผลการตรวจปัสสาวะจาก รพ.รามา-ธิบดี พบว่า ปัสสาวะของ นพ.ประกิตเผ่าพบสารเอฟริดีน มากกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งกรณีรักษาโรคตามปกติ ระดับเอฟริดีนในปัสสาวะเท่ากับ 0.04-0.08 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จึงมีการเทียบเป็นสัดส่วน ปริมาณที่ตรวจพบเทียบได้ 200 เท่า ของสารนี้ในการรักษาผู้ป่วยทั่วไป


อาหารเสริมที่มีสมุนไพรมาฮวง หรือมั่วอึ้ง เป็นส่วนประกอบนั้น


ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริม หรือการฉีดสารนี้ การใช้ระยะสั้นไม่มีผลทางสภาพจิต กรณีที่เป็นปัญหาต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ฉลากอาหารเสริมที่จำหน่ายในสหรัฐฯเขียนไว้ชัดเจนว่า ใช้ครั้งละไม่เกิน 7 วัน ถ้ากินมาก กินติดต่อกันนาน ในบางรายอาจมีอาการทางจิตได้ พิษร้ายแรงคือ หัวใจวายจนเสียชีวิตซึ่งในสหรัฐฯมีนักกีฬาเสียชีวิต ตรวจพบสารเอฟริดีนในปริมาณสูง สารเอฟริดีนเป็นสารที่ดูดซึมได้ง่าย พริบตาเดียวจะกระจายตัวในกระแสเลือดในระดับสู


น.ส.เปมิกา วีรชัชรักษิต




สหรัฐฯขายในฟิตเนสเซ็นเตอร์ เพื่อลดน้ำหนัก ลดความอ้วน


เพิ่มความอึดในการออกกำลังกาย โดยในสหรัฐฯซื้อได้เอง เพราะเป็นอาหารเสริม ส่วนช่องทางที่ นพ.ประกิต- เผ่าได้รับสารนี้เข้าร่างกาย ยังไม่ทราบว่าเข้าทางใด แต่ถือว่ามาก 200 เท่าของปริมาณที่ใช้ในการรักษาคนไข้ นพ.อภิชัยกล่าว

ต่อข้อถามว่า ขณะนี้ยังมีสารเอฟริดีนในร่างกายของ นพ.ประกิตเผ่าหรือไม่


รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในเวลา 48 ชั่วโมง สารนี้จะเป็นศูนย์ในร่างกาย แต่ถ้าสารเอฟริดีนเข้าสู่ร่างกายนานจะทำให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลง ต้องใช้เวลา 1 เดือน ในการปรับระดับให้อยู่ในภาวะปกติ อาการล่าสุดของ นพ.ประกิตเผ่า ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะคำสั่งศาลไม่อยากให้บุคคลเข้าไปเกี่ยวข้อง พูดได้ว่า คณะแพทย์ใช้ความพยายามเต็มที่ในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่อยากรักษา


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์