กลุ่ม พนง.ห้างโลตัสโวยถูกเลิกจ้างทันควันหลังยื่นตั้งสหภาพ-เรียกร้องสวัสดิการ-ร้องประธาน กสม.ช่วย


กลุ่มพนักงานบริษัทเทสโก้ โลตัส 8 รายโวยถูกเลิกจ้างเพราะก่อการตั้งสหภาพแรงงาน-ยื่นขอเรียกร้องปรับปรุงสวัสดิการ แต่นายจ้างอ้างเศรษฐกิจตกต่ำไม่ยอมเจรจาด้วย ยื่นร้องประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ทำตามกรอบจริยธรรมทางการค้า-กฎหมาย

นายจำรัส วงษ์รักญาติ อดีตพนักงานบริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเต็ม จำกัด(ตั้งอยู่พระนครศรีอยุธยา) ซึ่งเป็นบริษัทดูแลศูนย์กระจายสินค้าของห้างเทสโก้ โลตัส เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ว่า ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลา 12.00 น. ตนและพวกอีก 8 คนซึ่งเป็นผู้ยื่นก้อตั้งสหภาพแรงงานขึ้นในบริษัท แต่ถูกเลิกจ้างจะไปยื่นหนังสืร้องขอความเป็นธรรมต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ในวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณ 12.00 น. ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ตั้งอยู่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ ติดกับไปรษณีย์หลักสี่ ที่อาคาร B ชั้น 6

นายจำรัสได้ทำหนังสือร้องเรียนว่า  การที่พวกตนเป็นกลุ่มก่อการตั้งสหภาพที่ถูกเทสโก้ โลตัสเลิกร้องอย่างไม่เป็นธรรม เป็นการงผิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และขัดแย้งกับหลักจรรยาบรรณทางการค้าของเทศเทสโก้ฯว่าด้วยเรื่องสิทธิ์ในการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรองที่ได้ประกาศไว้ต่อสาธารณชน นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับการบริหารบุคคลที่เทสโก้ใช้กับพนักงานในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทแม่ ซึ่งทำให้เห็นว่า บริษัทได้ใช้สองมาตรฐาน และมีความพยายามในการเอาเปรียบพนักงานที่อยู่นอกประเทศของตน

สำหรับหนังสือที่จะยื่นร้องเรียนต่อประธาน กสมของพนักงานที่ประกอบด้วย .1. นายดำรงรักษ์ เจริญสุข 2. นายจำรัส วงษ์รักญาติ 3. นายชีวัน ฤทธิเรืองเดช 4. นายสมประสงค์ สุริวงษ์5. นายนราวุฒิ เล็กยิ้ม 6. นายสมชาย หอกลอง 7. นายสายันต์ ทองอร่าม 8. นายบำรุง ฉ่ำผล มีสาระสำคัญดังนี้

ข้าพเจ้าเป็นกลุ่มพนักงานระดับผู้บังคับบัญชาของบริษัทเอกชัยดิสทริบิวชั่น ซิสเต็ม จำกัดฯในเครือของ เทสโกโลตัส ซึ่งได้ถูกนายจ้างเลิกจ้างด้วยความไม่เป็นธรรมด้วยเหตุของการยื่นข้อเรียกร้องและตั้งสหภาพตั้งแต่วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (1) เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม และหลักปฏิญญาสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง โดยรายละเอียดของเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเลิกจ้างดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 พนักงานระดับผู้บังคับบัญชา จำนวนทั้งสิ้น 36 คนจากจำนวนทั้งหมด 132 คน (ซึ่งจำนวนมากกว่า 15% ของกลุ่มผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนด) ได้ทำการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างให้ปรับปรุงสวัสดิการต่างๆ ทั้งสิ้น 9 ข้อ  แต่ตัวแทนนายจ้างปฏิเสธที่จะรับข้อเรียกร้องดังกล่าวและเจรจากับตัวแทนภายในระยะเวลา 3 วันตามที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้นข้าพเจ้าทั้งหลายจึงได้ยื่นข้อพิพาทกับแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 และทางบริษัทได้นัดเจรจาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

ในระหว่างการรอเพื่อเจรจากับนายจ้างนั้น ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้พยายามเกลี้ยกล่อมสมาชิกผู้ก่อตั้งทั้ง 27 คน ให้ถอดถอนชื่อออกจากเอกสารที่ยื่นข้อเรียกร้อง โดยใช้วิธีการต่างๆ คือ เรียกสมาชิกแต่ละคนไปคุยกับผู้บริหารตามลำพัง และส่งผู้บริหารระดับสูง บางคนไปเกลี้ยกล่อมคนในครอบครัวของสมาชิกก่อตั้งให้กดดันสมาชิกเหล่านั้นถอดถอนรายชื่อของตนเองออกจากเอกสารการยื่นข้อเรียกร้องและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการก่อตั้งสหภาพแรงงาน ซึ่งส่งผลให้เมื่อถึงวันที่นายจ้างนัดเจรจา คณะกรรมการก่อตั้งจึงไม่สามารถเจรจาข้อพิพาทและจดทะเบียนสหภาพแรงงานได้ตามกฎหมายเนื่องจากมีการถอนชื่ออออกจนไม่ครบตามกฎหมาย

นอกจากนี้ เมื่อกลุ่มตัวแทนพนักงานด้ไปตามนัดเพื่อเจรจากับนายจ้างที่สำนักงานแรงงานจังหวัด ก็ได้รับแจ้งจากบริษัทว่า ได้เลิกจ้างคณะกรรมการก่อการทั้งหมด 9 คนแล้ว โดยอ้างเหตุภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและความจำเป็นในการปรับโครงสร้างขององค์กร ทั้งๆ ที่ผลประกอบการล่าสุดของบริษัทที่แจ้งต่อพนักงานเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2551 นั้นยังเป็นที่น่าพอใจ โดยทางบริษัทได้แจ้งให้ไปรับจดหมายเลิกจ้างที่ป้อมยามด้านนอกบริษัท และไม่อนุญาตให้กลุ่มของข้าพเจ้าเข้าบริเวณบริษัทตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นมา และไม่ยอมมาเจรจาตามวันเวลาที่แจ้งไว้ นอกจากนี้ยังให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมานำตัวกลุ่มข้าพเจ้าบางคนที่ทำงานในวันนั้นๆ ออกจากพื้นที่ของบริษัทโดยทันที

ข้าพเจ้าทุกคนทราบดีว่าการเลิกจ้างดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุจากภาวะเศรษฐกิจตามที่นายจ้างอ้าง แต่เป็นเหตุจากการที่ข้าพเจ้ารวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องสิทธิ์ตามที่พึงมี ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (1) เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ว่าด้วยสิทธิ์ของการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง และขัดแย้งกับหลักปฏิญญาณสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และที่สำคัญคือไม่สอดคล้องอย่างสิ้นเชิงกับหลักจรรยาบรรณทางการค้าที่เทสโก้ได้ประกาศไว้ต่อสาธารณชน

การละเมิดกฎหมายและสิทธิ์ในการรวมตัวดังกล่าวนั้น เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบริษัทเอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเต็ม จำกัด และซุปเปอร์สโตร์สาขาอื่นๆ ของเทสโก้ ซึ่งข้าพเจ้าทุกคนมีความยินดีที่จะเข้าไปชี้แจงและให้รายละเอียดเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่างๆ แก่คณะกรรมการตามที่ท่านเห็นสมควร

เทสโก้ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเป็นเวลานานกว่า 10 ปีและมีอัตราการขยายตัวทางธุรกิจที่ดีมาโดยตลอด ซึ่งข้าพเจ้าหลายๆ คนได้มีส่วนร่วมในการก่อร่างสร้างตัวของบริษัทตั้งแต่ก่อตั้งและเป็นพนักงานที่ดีของบริษัทมาโดยตลอดจนได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นผู้บังคับบัญชา

ข้าพเจ้าอยากเรียกร้องให้บริษัทได้เคารพกฎหมายและดำเนินการตามที่ประกาศไว้ในหลักจรรยาบรรณการค้า และใช้มาตรฐานการบริหารแบบเดียวกันกับบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษที่ได้รับการชื่นชมว่าเป็นต้นแบบที่ดีเรื่องแรงงานสัมพันธ์และการบริหารบุคคล

ข้าพเจ้าอยากร้องขอความเป็นธรรมจากท่านคณะกรรมการให้พิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้น และเรียกร้องให้ทางบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น หลักสิทธิมนุษยชนสากล และหลักจรรยาบรรณทางการค้าที่บริษัทได้ประกาศไว้ต่อสาธารณชน โดยรับข้าพเจ้าทุกคนกลับเข้าไปทำงานในบริษัทต่อไป และยอมรับการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรองอันเป็นสิทธิ์โดยชอบของกลุ่มพนักงาน

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์