กทม.สั่งเช็กถนนสายหลักหลังพระรามสี่ทรุด

วันที่ 19 มี.ค.55  นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวในรายการ “เก็บตกจากเนชั่นเช้า” 

ถึงกรณีที่ถนนพระราม 4  ฝั่งขาเข้า ก่อนถึงทางกลับรถใต้สะพานไทย-เบลเยียมเกิดเหตุยุบตัวว่าได้มีการสำรวจด้านข้างและแนวยาว ไม่มีการสูญเสียของทราย จึงตรวจสอบแนวลึกพบท่อประปาขนาด 1.20 เมตรอยู่ที่ความลึกประมาณ 2 เมตร  และตรวจสอบหน่วยงานข้างเคียงพบว่า มีท่อระบายน้ำของกทม.เป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ ความลึกประมาณ 10 เมตร ซึ่งสร้างทดแทนคลองเดิมในแนวนี้ และมีการตรวจสอบเพิ่มเติมของรฟม. อยู่ที่ความลึกประมาณ 20 กว่าเมตร 
      
รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า  เช้านี้วิศวกร 3 หน่วยงานจะมาหารือกันว่า ทรายถูกดูดผ่านน้ำใต้ดินลงไปในระบบของใคร เป็นของรฟม.หรือเปล่า มีการสูบน้ำหรือไม่
 
อุโมงค์ระบายน้ำกทม.ตอนที่ประปามีการก่อสร้าง มีการทำให้เกิดการรั่วซึมหรือไม่ หรือประปามีการดูแลระหว่างการก่อสร้างดีหรือไม่ และให้มีการตรวจแรงดันของท่อประปาด้วย ว่ามีการไหลซึมอย่างไรหรือไม่ เมื่อเจอสาเหตุเราก็จะแก้ที่ต้นเหตุ

กทม.สั่งเช็กถนนสายหลักหลังพระรามสี่ทรุด

ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุเบื้องต้นคือน้ำเซาะทรายใช่หรือไม่  นายธีระชน กล่าวว่า ทรายหายไปกับน้ำ ซึ่งมีช่องทางไปได้ 3 เส้นทาง คือของกทม. รฟม.และการประปานครหลวง ( กปน.) 
      
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไล่ตรวจสอบไปตลอดถนนหรือไม่ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า

  บังเอิญผู้อำนวยการสำนักการโยธา สมัยที่เป็นผอ.การจราจร กทม. ได้ทำงานกับตนในช่วงแรก  เราพบลักษณะอย่างนี้ 20 กว่าจุดบนถ.พระราม 3 ตอนก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า BRT ซึ่งเคราะห์ดีที่ตอนนั้นเป็นช่วงการก่อสร้าง และเราก็เห็นรอยร้าวของถนน ซึ่งผิดสังเกตเพราะเป็นจุดหย่อมๆ  เราก็ไปทำอุล ตร้าซาวด์ตรวจสอบพบว่ามีโพรง เราก็ไล่ต่อพบว่าเขื่อนกันดินมีการแตกร้าว ทรายก็เลยไหลลงคลองตรงพระราม 3  ตรงนั้นเราก็ไปแก้ที่ต้นเหตุ คือ ซ่อมเขื่อนแก้ไขหน้างาน 
      
นายธีระชน กล่าวว่า  ซึ่งลักษณะตรงนี้ก็จะเป็นการไหลลงไปในแนวดิ่ง และเช้านี้ได้สั่งการผอ.สำนักการโยธาว่า ให้ไปสำรวจถนนหลักแทบทุกจุด 

ว่ามีสัญญานเตือนจากผิวถนน เช่น ลักษณะของการแตกร้าวผิวคอนกรีตหรือไม่  หรือถนนบางเส้นมีการปู แอสฟอลต์ไปแล้ว เหมือนเมื่อวานที่เราเจอตรงจุดเกิดเหตุ พอตรวจหน้างานพบว่าผิวคอนกรีต  20 ซม. ถูกปูด้วยแอสฟอลต์ 20 ซม. เพราะฉะนั้นก็จะไม่เห็นรอยของคอนกรีต แต่ว่าก็จะมีการทรุดตัวได้  ซึ่งตรงนี้ทำให้เราสามารถทำอุลตร้าซาวด์สุ่มตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต  เมื่อวานนี้ถือว่าโชคดีเพราะเกิดวันอาทิตย์เย็น มีปริมาณรถไม่มากนัก
      
"เบื้องต้นเป็นการซ่อมชั่วคราวก่อน จะทำเหมือนการสร้างถนนรอง  คือ นำหินคลุกลงบดอัดและนำแอสฟอลต์ลง  และใช้ลดบดทับซึ่งเสร็จตั้งแต่ตี 2 ตี 3 ก็ใช้งานได้ แต่เมื่อประชุมกันในเช้านี้ หากพบต้นตอที่แท้จริงก็ต้องไปแก้ที่ต้นตอ ถ้าปล่อยไว้ 5 ปี 10 ปีก็จะเกิดเหตุอีก ก็ต้องแก้ที่ต้นตอและซ่อมถาวรโดยต้องตัดช่องถนน เทคอนกรีตใหม่"  รองผู้ว่าฯกทม. กล่าว 
      
ผู้สื่อข่าวถามว่า สะพานไทย-เบลเยียมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างหรือไม่ นายธีระชน กล่าวว่า ไม่น่าถูกกระทบมากนัก เพราะโครงสร้างอยู่บนชั้นทรายที่ระดับความลึกประมาณ 30 เมตร ก็คงไม่กระทบกับสะพานไทย-เบลเยียมเลย ส่วนรถไฟฟ้าใต้ดินเบื้องต้นไม่น่ากระทบอะไร เพราะระบบอุโมงค์โครงสร้างผนังจะรับเชื่อมต่อกัน
     
เมื่อถามว่า ตรงที่ยุบลงไปชั้นใต้ดินประกอบด้วยชั้นอะไรบ้าง นายธีระชน กล่าวว่า 

ชั้นตื้นสุดเป็นของการประปานครหลวง มีอุโมงค์ส่งน้ำขนาด 1.20 เมตร ถัดลงไปที่ระดับความลึกประมาณ 7 เมตร ก็จะเป็นอุโมงค์ระบายน้ำ ซึ่งเราสูบน้ำออกไปบางครั้งเจอต้นไม้เป็นต้นเลย  เพราะบางจุดดึงมาจากคูคลอง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็อาจจะมีเหตุได้เหมือนกัน แต่เราก็จะแก้ไข ส่วนที่ลึกที่สุด 20 กว่าเมตร คือรถไฟฟ้าใต้ดิน คือ รฟม.สายสีน้ำเงินที่วิ่งผ่านเส้นนี้ จึงไม่กระทบถึง แต่ก็จะต้องหาสาเหตุให้เจอและรีบแก้ไข
      
ผู้สื่อข่าวถามว่า จุดที่ซ่อมเสร็จแล้วรถสามารถวิ่งได้ทับได้เลยใช่หรือไม่ นายธีระชนกล่าวว่า 

ไม่มีปัญหา ก็เหมือนถนนสายรองตามชนบทเลย  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของถนนสายอื่นจะมีการสำราจด้วย โดยเช้านี้สั่งการเรียบร้อยหลังจากซ่อมถนนดังกล่าวเสร็จ ก็ได้มอบหมายผอ.สำนักการโยธาว่า ขอให้ไปสำรวจจุดอื่นต่อเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตามมา

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์