กทม.งัด 8 มาตราการคุมเข้ม เฝ้าระวังอีโบลา

กทม.งัด 8 มาตราการคุมเข้ม เฝ้าระวังอีโบลา

กทม.งัด 8 มาตราการคุมเข้ม เฝ้าระวัง"อีโบลา" ระบาดเข้าไทย ยันไม่พบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง


นาง สาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวภายหลังประชุมคณะผู้บริหารกทม. ครั้งที่ 21/2557 ว่า สำนักอนามัยได้รายงานการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้รายงานผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา จากข้อมูล ณ วันที่ 22 ส.ค. มีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค จำนวน 2,615 ราย เสียชีวิต 1,427 ราย ใน 4 ประเทศของทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศกินี ไลบีเรีย เซียร์ลารีโอน และไนจีเรีย โดยช่องทางการติดต่อของเชื้อโรคที่ทวีปแอฟริกาเกิดขึ้นในขณะจัดการหรือ ชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีเชื้อฯ หรือเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดผู้ป่วยที่ติดเชื้อฯ สารคัดหลั่งอวัยวะ หรือน้ำอสุจิ

นาง สาวตรีดาว กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อ ในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นโรคที่อันตรายและมีความรุนแรงมาก ซึ่งอัตราป่วยตายมากกว่าร้อยละ 50 โดยขณะนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาโรคเฉพาะ หากมีผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัย ให้ใช้มาตรฐานเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอันตรายสูง เช่นเดียวกับ โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส ทั้งนี้ กทม. ได้ประเมินความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาจากนักท่องเที่ยวที่มาจาก ประเทศที่พบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เดินทางเข้ามาพักอาศัยและท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ รวมถึงคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

นาง สาวตรีดาว กล่าวอีกว่า สำนักอนามัยได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส อีโบลา

 ดังนี้ 1.เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาอย่างต่อเนื่อง หากมีผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงจะต้องมีการซักประวัติอย่างละเอียด และเฝ้าระวังติดตามอาการผู้ที่เดินทางออกจากประเทสกลุ่มเสี่ยง เป็นเวลา 21 วัน 2.จัดทำองค์ความรู้ แนวทางการรายงาน การดูแลผู้ป่วยกรณีสงสัย มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาให้บุคลากรสาธารณสุข และเผยแพร่ให้กับเครือข่ายงานควบคุมโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ 3.แจ้งเตือนเรื่องสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาพร้อมไปยังสถาน พยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ 4.ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาผ่านทางเฟซบุ๊ค และเว็ปไซด์ ของกองควบคุมโรคติดต่อ เพื่อแจ้งสถานการณ์ให้ประชาชนรับทราบและทำความเข้าใจกับประชาชน

นาง สาวตรีดาว กล่าวด้วยว่า 5.จัดกิจกรรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการแพทย์ สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่อันตราย เตรียมพร้อมโรงพยาบาลไว้รองรับหากพบผู้ป่วย 6.เฝ้าระวังและติดตามผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และให้มีการรายงานผลการติดตามผู้เดินทาง กรณีมีผู้เดินทางอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จำนวน 904 ราย ในจำนวนนี้มีบุคคลที่ต้องเฝ้าระวังอาการเนื่องจากมีประวัติเดินทางจาก พื้นที่เสี่ยงและบินตรงมาที่กรุงเทพฯ จำนวน 283 ราย แต่จากการเฝ้าระวังติดตามอาการ 21 วัน ยังไม่พบผู้ป่วย

" 7.จัดทำแนวทางในการดำเนินการให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาแก่สถาน ประกอบการที่พักอาศัย เผยแพร่ให้กับเครือข่ายงานควบคุมโรคสำนักงานเขตในพื้นที่กรุงเทพฯ และ8.จัดทำสื่อแผ่นพับความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา และจัดซื้ออุปกรณ์การป้องกันส่วนบุคคลในการสอบสวนควบคุมโรคเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ในส่วนของการเฝ้าระวังสัตว์ กรมปศุสัตว์สั่งระงับการนำเข้าสัตว์จากประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดด้วย " นางสาวตรีดาวกล่าว

กทม.งัด 8 มาตราการคุมเข้ม เฝ้าระวังอีโบลา


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์