DSIจับมือคลังแถลงเปิดเส้นทางทุจริตเบิกจ่ายยา

DSIจับมือคลังแถลงเปิดเส้นทางทุจริตเบิกจ่ายยา


นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)พร้อมด้วย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมกันแถลงข่าวการตรวจสอบการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน

 โดยนายธาริต กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมบัญชีกลางพบว่าปัจจัยที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นมีที่มาจาก

1 กลุ่มข้าราชการสูงอายุเพิ่มมากขึ้น

2.ราคายาสูงขึ้น

3.ยาที่เป็นต้นแบบมีราคาสูงขึ้น
 
4.มีปัญหาโรงเรื้อรังสูง

และ 5 . ทุจริต ทั้งนี้จากการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในระบบสาธารณสุขระหว่างกรมบัญชีกลางกับดีเอสไอ

พบความผิดปกติดังนี้

1.หลักฐานทางการเงินที่โรงพยาบาลขอเบิกกรมบัญชีกลางไม่ตรงกับข้อมูลค่ารักษาที่ส่งเบิกในระบบจ่ายตรง

2.ลายมือชื่อแพทย์ในเวชระเบียนไม่ตรงกับลายมือชื่อแพทย์ในใบสั่งยา

3.ตามหลักฐานเวชระเบียนพบว่ามีข้อมูลเข้ารับการรักษา จำนวน 6 ครั้ง แต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจริงเพียง 2 ครั้ง

4.การสั่งจ่ายยาเพื่อการรักษาไม่สัมพันธ์กับอาการป่วยของผู้ป่วย แพทย์สั่งจ่ายยาให้กับญาติผู้ป่วยที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการ
 
5.มีการสั่งจ่ายยาในปริมาณมากเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะใช้ได้หมด


สำหรับรูปแบบการทำผิดแยกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1.การสวมสิทธิ์ ผู้ป่วยหรือไม่มีอาการป่วย ซึ่งไม่มีสิทธิ์ตามสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัวเข้าสวมสิทธิ์รักษาพยาบาลของบุคคลที่มีสิทธิ์ ซึ่งดีเอสไออยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อหาตัวบุคคลที่สวมสิทธิ์ผู้อื่น

2. การยิงยา พบว่ามีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายยา มีการสั่งจ่ายยาที่ไม่จำเป็นและเหมาะสมสัมพันธ์กับอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย หรือจ่ายยาในลักษณะสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เน้นการจ่ายยานอกบัญชีหลักซึ่งมีราคาแพง โดยมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทผู้ผลิตยาหรือตัวแทนจำหน่ายยาในลักษณะของผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินตอบแทน ของกำนัล คอมมิชชั่น ตั๋วเครื่องบินให้เดินทางไปต่างประเทศ

กรณีนี้ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก และจากการตรวจสอบของดีเอสไอ พบบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะยิงยา จำนวนหลายครั้งเกินปกติจากบริษัทยาที่มียอดการสั่งจ่ายสูง โดยพบว่าแพทย์ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากบริษัทยาโดยได้รับสิทธิในการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งกรณีนี้ดีเอสไอได้ส่งสำนวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อไป 


3.การชอปปิ้งยา คือผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัวจะเบิกค่ารักษาพยาบาล ในลักษณะเดินสายขอตรวจรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆในช่วงวันเดียวกัน หรือระยะเวลาใกล้เคียงกัน และมักเดินทางไปพบแพทย์เกินกำหนดนัด เป็นเหตุให้ได้รับยาจำนวนมากยิ่งขึ้น มีการดำเนินการลักษณะเป็นขบวนการ มีความเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วย บุคคลากรทางการแพทย์ ร้านขายยา บริษัทยา โดยปริมาณยาที่ได้รับไปหากบริโภคยาที่ได้รับไปทั้งหมดจะมีผลให้เป็นอันตรายแก่ร่างกายมากกว่าจะมีผลในการรักษาพยาบาล และมีการนำไปจำหน่ายในร้านขายยาหรือส่งมอบให้บุคคลอื่นต่อ โดยดีเอสไอกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอเป็นคดีพิเศษเนื่องจากไม่ใช่คดีเกี่ยวเนื่องกับการลักลอบนำยาแก้หวัดสูตรผสมซูโอเอเฟรดีนออกจากระบบ


ด้านน.ส.สุภา กล่าวว่า จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้สถิติค่ารักษาพยาบาลสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ในปี 2554 ลดลงจากเดิม 62,200 ล้านบาท เป็น 61,500 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าว่าในปี 2555 นี้จะลดลงให้ได้อีก 5,000 ล้านบาท

 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถควบคุมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้มากขึ้น โดยจะเข้มงวดหากพบข้าราชการมีพฤติกรรมช๊อปปิ้งยาจะถูกเรียกเงินคืน ลงโทษทางวินัย และดำเนินคดีอาญา ส่วนบุคคลในครอบครัวจะถูกเรียกเงินคืน ดำเนินคดีอาญา และถอนสิทธิการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ ภายในเดือน พ.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะออกหนังสือเวียนถึงผู้ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลให้ทราบว่าหากมีการกระทำความผิดจะถูกเพิกถอนสิทธิรักษาให้กลับไปใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทน นอกจากนี้ยังจะมีการออกระเบียบใหม่กำหนดให้ผู้ป่วยรักษาพยาบาล 1 โรงพยาบาล ต่อ 1 โรค โดยอยู่ระหว่างรอการทำระบบของโรงพยาบาล

"กระทรวงการคลังได้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการกำหนดรหัสยา ให้ยาชนิดเดียวกันใช้รหัสเดียวกันในทุกโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกในการควบคุมและสั่งจ่ายยา และสามารถนำมาประเมินให้เห็นภาพสถิติการใช้ยาทั้งระบบได้" รองปลัดกระทรวงการคลังกล่าว



DSIจับมือคลังแถลงเปิดเส้นทางทุจริตเบิกจ่ายยา


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์