ประชุมรัฐสภาสตรีโลก หนูนา ผู้แทนไทยไปรวันดา

สาธารณรัฐรวันดา ประเทศเล็กๆ ในแอฟริกาใต้


ที่ไม่มีทางออกทะเล แต่เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในทวีปแอฟริกา คือ ประมาณ 8.4 ล้านคนและเป็นผู้หญิงร้อยละ 53 ซึ่งสามารถพลิกชะตากรรมของหญิงรวันดาได้ จากที่ไม่เคยมีปากมีเสียงในที่สาธารณะหรือแสดงความคิดเห็นในที่ที่มีผู้ชายอยู่ไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ สภาทั้ง 2 สภาของรวันดามีตัวแทนผู้หญิงอยู่เกือบครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนที่สูงที่สุดในโลก

น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ผู้แทนหญิงไทย


ที่เป็นตัวแทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปประชุมสมาชิกรัฐสภาสตรีระหว่างประเทศในหัวข้อ "บทบาทของสมาชิกรัฐสภาต่อการหาทางยุติการล่วงละเมิดทางเพศและความยากจน"ที่กรุงคิกาลี เมืองหลวงของรวันดา วันที่ 22-23 ก.พ. ในวาระครบรอบปีที่ 10 ของการจัดตั้งกลุ่มสมาชิกรัฐสภาสตรีของรวันดาและครบทศวรรษไปแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา

ในที่ประชุม


มีสมาชิกรัฐสภาจากทั่วโลก 400-500 คน ครึ่งหนึ่งมาจากทวีปแอฟริกา ที่เหลือมาจากยุโรป อเมริกาและเอเชีย ซึ่งมีเพียง 2 ชาติ จากจีนเพราะจีนและไทยเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงมีชาวผิวเหลืองอยู่ 4 คน

กัญจนา เล่าว่า


การเดินทางชั่วระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เห็นสภาพบ้านเมืองที่ไม่แย่เท่าที่คิดและสะอาด เห็นผู้หญิงที่แต่งชุดประจำชาติและแต่งตัวสมัยใหม่ ชาวบ้านจริงๆ ก็มีการเทินถาดบนศีรษะ และเท่าที่สัมผัสกับชาวรวันดาแม้ผิวดำ แต่งตัวไม่งดงามแต่ก็มีมิตรไมตรีที่ดีและที่นี่ยังเป็นแหล่งดูกอริลลาด้วยแสดงว่าระบบนิเวศยังดีอยู่

การเยี่ยมชมอนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี 2537


ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นจากการที่เครื่องบินของประธานาธิบดีเผ่าฮูตูถูกยิงตกโดยหาผู้สังหารไม่ได้ จากนั้นเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จนชาวทุตซีเสียชีวิตนับล้านคนหรือเฉลี่ยวันละหมื่นคน ทุกวันนี้ จงมีเด็กกำพร้านับล้านคนและมีหญิงม่ายที่ติดเชื้อเอชไอวีอีกมากมาย แต่นับว่าโชคดีที่ผู้คนหลอมรวมกันเป็นชาวรวันดาได้อย่างกลมเกลียว

สำหรับสาระการประชุมเกี่ยวกับบทบาทของสตรี น.ส.กัญจนากล่าวว่า


มีผู้กล่าวในที่ประชุมที่สำคัญหลายคน คนที่ประทับใจคือประธานาธิบดีเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ แห่งไลบีเรีย ซึ่งเป็นผู้นำหญิงเพียงหนึ่งเดียวของกาฬทวีปและเป็นแรงบันดาลใจของผู้หญิงแอฟริกาทั้งหมด เวลาที่ขึ้นพูดมีเสน่ห์ของผู้นำอย่างมากและได้รับเสียงปรบมือตลอด

ในการประชุมวันแรก


มีหัวข้อการประชุมเรื่องเพศ การสร้างชาติและบทบาทของสมาชิกรัฐสภาและหัวข้อความรุนแรงทางเพศ อุปสรรคและการพัฒนา มีผู้พูดคนหนึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำออสเตรียเดินพูดรอบห้องและซักถามคนในห้อง ไม่ได้ยืนพูดบนแท่น

คำพูดกินใจ


คือโดยธรรมชาติ "ผู้หญิงมักให้ความร่วมมือมากกว่าเพศชาย ถ้าต้องเป็นผู้นำในสถานการณ์ใดๆ ผู้หญิงมักจะเป็นผู้ให้กำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นและเปรียบผู้หญิงหนึ่งคนเป็นน้ำฝนหนึ่งหยดที่พร้อมจะระเหยในอากาศก็ได้หรือซึมลงพื้นดินก็ได้และถ้ามีผู้หญิงจำนวนมากพอก็จะสามารถมีแม่น้ำทั้งสายได้

ส่วนวันที่สอง


มีหัวข้อ เพศและพลังทางเศรษฐกิจ สังคม และหัวข้อการเป็นหุ้นส่วนในการสร้างชาติ วันนี้ก็มีผู้หญิงจากเอ็นจีโอคนหนึ่งที่สะดุดตาอีกแล้วโดยพูดว่าในศึกสงคราม ผู้ชายจะมองถึงอาวุธการสู้รบ แต่ผู้หญิงจะพูดถึงเรื่องความปลอดภัยของเด็กและผู้หญิง อาหารและการรักษาพยาบาล

ในช่วงพิธีปิด


อลิซ วอล์กเกอร์ นักเขียน นักกวีชาวแอฟริกาและได้รางวัลพูลิตเซอร์เล่าอย่างอบอุ่นมากกว่าเมื่อ 400 ปีที่แล้ว คนแอฟริกันถูกขายทอดจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งและถูกต้อนลงเรือมายังประเทศแถบแอตแลนติกเพื่อมาเป็นทาส แต่อย่างไรก็ตาม สายเลือดแอฟริกาไม่ได้เจือจางลงไปเลย คำพูดนี้ทำให้ประทับใจมากจนหญิงหนึ่งเดียวของไทยเดินไปชื่นชมว่ารักคำพูดของอลิซอย่างมาก

ผู้แทนหญิงของไทย กล่าวว่า


เท่าที่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์รู้สึกว่าหลายประเทศ ผู้หญิงยังตกเป็นเบี้ยล่างอยู่ เช่น ประเทศซูดานมีกฎหมายว่าผู้หญิงจะฟ้องข่มขืนได้ต้องมีพยานรู้เห็น 4 คน ส่วนในรวันดา รัฐธรรมนูญระบุว่าในองค์กรสำคัญของประเทศต้องมีผู้หญิงอย่างน้อยร้อยละ 30 รวมทั้งในรัฐสภาด้วยและในการตัดสินใจเรื่องใดก็ตามที่เกี่ยวกับนโยบายของประเทศจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของความเท่าเทียมกันของหญิงชายในทุกขั้นตอน


สภาผู้แทนราษฎร


มีทั้งหมด 80 คน มีผู้หญิง 39 คน เท่ากับร้อยละ 48.8 ส่วนวุฒิสภามีทั้งหมด 26 คนเป็นผู้หญิง 9 คน คิดเป็นร้อยละ 34.6 นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงเป็นรัฐมนตรี 9 คน และยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ อีก เช่น ประธานศาลฎีกา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ว่าราชการกรุงคิกาลี

เมื่อถามถึงการเมืองไทยในวาระของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


น.ส.กัญจนาเห็นด้วยกับระบบปาร์ตี้ลิสต์ เพราะเปิดโอกาสให้คนมีฝีมือมาทำงานและทำให้พรรคการเมืองไม่ทิ้งพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในประเทศ พรรคการเมืองที่ไม่มีส.ส.ในพื้นที่เลยและไม่มีส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ก็จะทำให้ดูลอยจากพื้นที่นั้นเพราะพรรคการเมืองต้องหาเสียงทั้งประเทศเพื่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อด้วย อีกทั้งระบบปาร์ตี้ลิสต์ทำให้เน้นระบบพรรคการเมืองมากกว่าเน้นตัวบุคคล นอกจากนี้ส.ส.ในพื้นที่อาจมีความรู้ในเรื่องเฉพาะน้อย เช่น เรื่องสิทธิบัตร เรื่องเอฟทีเอ เพราะทำงานในพื้นที่เป็นหลัก


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์