จี้เนสท์เล่เก็บ คิทแคทมีพลาสติกผสมในไทย

จี้เนสท์เล่เก็บ คิทแคทมีพลาสติกผสมในไทย


วันนี้ (2 เมษายน 2556)  เวลา 14.00 น.  ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้าน อาหารภาคประชาชน แถลงข่าว ร้องขอความรับผิดชอบจาก เนสท์เล่ ให้มีการเรียกคืน คิทแคท ชั้งกี้ ออกจากชั้นวาง เช่นเดียวกับที่ทำในหลายประเทศที่เป็นข่าวไปแล้ว พร้อมชี้แจงแก่สาธารณะให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขของบริษัท



จากกรณีที่มีข่าวเนสท์เล่สั่งเก็บ คิทแคท 6 ชนิด โดยสมัครใจ หลังพบพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตที่เคลือบขนม โดยได้มีการเลือกคืนสินค้าในประเทศอังกฤษ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ มอลตาแคนาดา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมให้ผู้บริโภคนำสินค้ามาคืนและรับเงินได้เต็มจำนวนภายใต้ข้อแม้ว่าหีบ ห่อของสินค้ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่มีรอยฉีกขาด นั้น
 
นาย อิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้รับเรื่องจากการประชุมผู้บริโภคของเครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือเมื่อต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้พบ คิทแคท ชั้งกี้ ที่ซื้อจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสิงห์บุรี มีพลาสติกผสมอยู่ในเนื้อช็อกโกแลตเคลือบขนม เช่นเดียวกับที่เป็นข่าวในต่างประเทศ ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมิได้จำกัดอยู่แค่ประเทศใด ประเทศหนึ่ง หากแต่ อาจจะมีความเสี่ยงแบบเดียวกันกระจายอยู่ในทุกที่ ที่มีการจำหน่ายสินค้าชนิดนี้ 
 
“เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่ทางผู้ผลิตควรต้องแสดงความรับผิดชอบและใช้มาตรฐานเดียวใน การดำเนินการ มากกว่าแค่รอให้เกิดเรื่องแบบเดียวกันขึ้นในประเทศอื่น แล้วค่อยแก้ไขปัญหาด้วยการคืนเงินค่าสินค้า การเรียกคืนสินค้าที่จำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมดควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนจะ มีข้อมูลว่าพบสินค้าที่มีปัญหาแบบเดียวกันแล้ว”


 “จาก ข่าวยังมีข้อมูลอีกว่ามีการเรียกคืนสินค้าในประเทศมาเลเซีย ซึ่งคิทแคททั้งหมดที่จำหน่ายในบ้านเรา นำเข้ามาจากมาเลย์ทั้งหมด ดังนั้น เมื่อมีการเรียกคืนสินค้าในประเทศที่เป็นแหล่งผลิต การเรียกคืนสินค้าในประเทศที่เป็นแหล่งจำหน่าย เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสมควรจะต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบถึงที่ไปที่มาของปัญหาอย่าง เป็นทางการพร้อมสิ่งที่บริษัทจะดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ด้วย  สำหรับผู้บริโภคที่พบปัญหานี้สามารถแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีได้” นายอิฐบูรณ์ กล่าว 
 
นาย พชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความ ปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน กล่าวว่า การเรียกคืน (Recall) คำ นี้ตามกฎหมายไทย ไม่ได้ให้นิยามไว้ แต่เมื่อพิจารณานิยามการเรียกคืนผลิตภัณฑ์สุขภาพของสำนักงานอาหารและยา สหรัฐอเมริกาให้นิยามการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ว่าเป็นกระบวนการที่นำผลิตภัณฑ์ ออกจากตลาด

ซึ่งอาจริเริ่มดำเนินการจากผู้ประกอบการ หรือตามที่สำนักงานอาหารและยาร้องขอ หรือโดยคำสั่งของสำนักงานอาหารและยาซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมาย   ส่วน The General Product Safety Regulations 2005 ของอังกฤษให้นิยามการเรียกคืนว่าเป็นมาตรการใดที่มีจุดมุ่งหมายนำผลิตภัณฑ์ ซึ่งขายหรือทำให้แก่ผู้บริโภคแล้วนำกลับคืนมา  
 
นายพชร กล่าวต่อว่า โดยสรุป การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ คือ  มาตรการ ใดที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์ออกจากตลาด โดยผู้ประกอบการอาจใช้ความสมัครใจริเริ่มดำเนินการด้วยตนเอง หรือเริ่มจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลร้องขอ หรือโดยคำสั่งจากหน่วยงานของรัฐซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งการเรียกคืนนี้อาจเป็นการเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือนำผลิตภัณฑ์เดิมไปซ่อมแซม หรือนำผลิตภัณฑ์ที่มีความชำรุดบกพร่องหรือไม่ปลอดภัยออกไป โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการทำลายผลิตภัณฑ์ที่มีการเรียกคืนเสมอไป หากสามารถเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ได้เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย
 
“การเรียกคืนสินค้ากลุ่มอาหาร ผ่านการใช้อำนาจรัฐในประเทศไทยเท่าที่ทราบยังไม่ปรากฏ เนื่องจาก ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มิได้มีการกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีอำนาจในการสั่งเรียกเก็บคืนสินค้าออกจากชั้นวางหากพบว่าเป็นอาหารที่มี ปัญหา  โดย กำหนดอำนาจไว้แค่ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจในการยึดหรืออายัดอาหารหรือภาชนะ บรรจุที่เก็บมาโดยพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้ทำการตรวจพิสูจน์เป็นที่แน่นอน ว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์, อาหารปลอม, อาหารผิดมาตรฐาน, หรือ เป็นภาชนะบรรจุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือนามัยของประชาชนหรือมี ลักษณะไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 6(6) และได้กำหนดให้ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบ หมายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารอาจสั่งทำลาย หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรได้ ตามมาตรา 44” นายพชร กล่าว


 
นายพชร ยังกล่าวอีกว่าอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย ทำให้การเรียกคืนสินค้าได้ถูกระบุไว้ ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2556 โดย ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ในสาระสำคัญเกี่ยวกับการเรียกคืนและทำลายสินค้าโดยมีการกำหนดให้ผู้ประกอบ ธุรกิจจัดเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคกลับคืน หรือเรียกคืนสินค้าจากผู้บริโภค (มาตรา 36 วรรคสอง(1)) ให้ผู้ประกอบธุรกิจทำลายสินค้านั้น (มาตรา 36 วรรคสอง (5)) ให้ผู้ประกอบธุรกิจปิดประกาศ แจ้ง หรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายของสินค้านั้นให้ผู้บริโภคทราบ หรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 36 วรรคสอง (6)) พร้อมให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการตามวรรคสอง (มาตรา 36 วรรคสาม) ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามมาตรา 36 วรรคสอง มาตรา 36 วรรค สาม ให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา นอกจากนี้หากมีมาตรการใดเกี่ยวกับสินค้าตามมาตรานี้ก็ให้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเช่นเดียวกัน” “จะเห็นว่ายังมีโอกาสที่จะมีการปรับแก้ พ.ร.บ. อาหารให้มีการให้อำนาจแก่ อย. เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ สคบ. เพื่อให้เกิดการแก้ไขเชิงระบบ อันนำมาซึ่งการหลีกเลี่ยงปัญหาที่คล้ายกันซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ อื่นในภายหลังได้


จึงขอเรียกร้องให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการสั่งให้บริษัทเนสท์เล่ เรียกคืนผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ แล้วทั้ง 9 ประเทศ ตามที่เป็นข่าว และจะทำหนังสือถึง อย. ให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติมให้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ระบุไว้ใน พ.ร.บ. อาหาร ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงและอยู่ในกระบวนการพิจารณาโดยกฤษฎีกา ด้วย


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์