“ราชทัณฑ์” ไม่พร้อมใช้อุปกรณ์คุมนักโทษ

“ราชทัณฑ์” ไม่พร้อมใช้อุปกรณ์คุมนักโทษ


วันนี้ 25 มี.ค.  นายกอบเกียรติ  กสิวิวัฒน์  รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์  กล่าวถึงกรณีมีประกาศกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีอื่นที่ สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขต 2556 

ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า  กรณีดังกล่าวมีผู้ต้องขังที่เข้าข่ายตามเงื่อนไข  2 กลุ่มคือ  กลุ่มผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และกลุ่มที่ถูกจำคุกมาแล้ว 1ใน 3 และมีเหตุจำเป็นซึ่งเป็นไปตามประกาศกฎกระทรวงเช่น  จำคุกแล้วเสี่ยงอาจเสียชีวิต  จำเป็นต้องเลี้ยงดูบิดา  มารดา  หรือป่วยหนักต้องรักษาต่อเนื่อง  ซึ่งโดยปกติหากเป็นการพักโทษต้องจำคุกมาแล้ว 2 ใน 3 จึงจะมีสิทธิพิจารณาพักการลงโทษ

ทั้งนี้ การใช้ดุลยพินิจว่าบุคคลใดไม่จำเป็นต้องคุมขังหรือปล่อยออกจากเรือนจำก่อน กำหนด หรือการกำหนดให้อยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งแทนเรือนจำ   ถือเป็นอำนาจของศาล  พร้อมยกตัวอย่างกรณีของนายราเกซ  สักเสนา  ผู้ต้องขังคดียักยอกทรัพย์บีบีซี  

ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศแคนนาดาใช้วิธีควบคุมตัวไว้ในโรงแรม เพื่อไม่ให้หลบหนี  หรืออาจมีการใช้เครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์ควบคุมแทน   แต่ขณะนี้กรมราชทัณฑ์ ยังมีไม่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะใช้กับกลุ่มดังกล่าวรวมถึงสถานที่อื่น ที่จะใช้คุมขังแทนเรือนจำด้วย
 

นายกอบเกียรติ  กล่าวต่อว่า  การพิจารณาใช้วิธีการอื่นแทนการจำคุกกับบุคคลใดนั้นจะต้องผ่านการพิสูจน์ใน ชั้นศาลโดยเรือนจำจะมีบันทึกประวัติของผู้ต้องขังเพื่อให้ประกอบการพิจารณา ด้วยอยู่แล้ว  โดยต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีผู้ต้องขังรายหลายต้องเข้าเรือนจำเพราะไม่ได้รับ การประกันตัวทั้งที่จริงแล้วอาจติดปัญหาเพียงเล็กน้อยในเรื่องการควบคุมตัว  ซึ่งหากมีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะช่วยลดจำนวนผู้ที่ต้องเข้าไป อยู่ในเรือนจำ   เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีผู้ต้องขังจำนวนเท่าใดที่เข้าข่าย สามารถใช้สิทธิดังกล่าว  ทั้งนี้ ยืนยันว่าการออกกฎกระทรวงดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ ต้องขังรายสำคัญ เนื่องจากกฎหมายให้อำนาจศาลเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ โดยรมว.ยุติธรรม มีหน้าที่เพียงบริหารจัดและออกระเบียบให้สอดรับกับกฎกระทรวงเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม หลังออกจากเรือนจำแล้วกรมราชทัณฑ์จะไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแต่จะมี กรมคุมประพฤติรับผิดชอบแทน
 

“ ขณะนี้สำนักงบประมาณยังไม่ได้อนุมัติงบให้จัดซื้ออุปกรณ์ เนื่องจากต้องรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ก่อน   เพราะหากจัดซื้อล่วงหน้าแล้วกฎหมายไม่ออกจะเป็นการสูญเปล่า  แต่ระหว่างที่ กฎหมายมีผลบังคับใช้หากมีญาติผู้ต้องขังไปยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ใช้ อุปกรณ์ควบคุมตัวภายนอกเรือนจำ  กรมราชทัณฑ์ก็จะยื่นคัดค้านและชี้แจงว่ายังไม่มีความพร้อมเนื่องจากยังไม่ ได้จัดซื้ออุปกรณ์และยังไม่มีสถานที่ควบคุมตัวลักษณะอื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ” นายกอบเกียรติ  กล่าว
 

ด้านน.ส.รื่นวดี  สุวรรณมงคล  อธิบดีกรมคุมประพฤติ  กล่าวว่า  กรมคุมประพฤติอยู่ระหว่างการศึกษาอุปกรณ์เพื่อเช่าใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์  ล่าสุดได้หารือร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เพื่อขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกับทำร่างสัญญาจัดซื้อเนื่องจากกระทรวงไอซี ทีมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์  แต่กระทรวงไอซีทียังไม่ได้อนุญาตให้มีการใช้ระบบควบคุมตัวในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ กรมคุมประพฤติก็จะเร่งดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย  เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวนไม่มากเพราะยังเป็นแค่โครงการนำร่องและ เป็นระบบเช่าใช้อุปกรณ์พร้อมระบบสัญญาของเอกชน
 

ขณะที่พล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก  รมว.ยุติธรรม  กล่าวว่า  ขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการศึกษาและทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยังต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการบังคับใช้จริงที่ยังมีหลายส่วนที่ต้อง พิจารณา  โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กรมราชทัณฑ์จะเป็นผู้เสนอขึ้นมา


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์