สุดทึ่ง.! ประวัติท่านขุนพันธ์

ประวัติ ท่านขุนพันธ์


พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต ๘ เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้และในจังหวัดอื่นๆ ที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย

นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้าน ประวัติศาสตร์ คติชนวิทยา และไสยศาสตร์ เป็นพิเศษมีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ และวารสารต่างๆหลายเรื่อง ปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า "ท่านขุน"


พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า


บุตร์ พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ

พออ่านสมุดข่อยได้บ้าง จึงได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็นสมภาร และอาจารย์นาม สมภารรูป ต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เอง ท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งชื่อ นายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร

ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้มีความรู้ใครๆ เรียกกันว่า หลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้คือ ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม ๑ - ๒ - ๓ จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดีหลังจากนั้นท่านจึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน


โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน


อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสือดีอยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้น เมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ ๑ ได้ ๑ วันทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ ๒ และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ ๓ เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง ๓ วันได้เลื่อนชั้นถึง ๓ ชั้น

เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ได้ประมาณ ๒ เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิมที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้นเรียนจนจบประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในปี พ.ศ. ๒๔๕๖

ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ ๑ ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบญจมราชูทิศในปัจจุบัน)พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ ๒ ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัว ถึงปีกว่า เมื่อหายจึงคิดที่จะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิม แต่ปรากฎว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๒ และปีที่๓ แล้ว

จึงเปลี่ยนเดินทางเข้าไป ศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ในชั้นมัธยมปีที่ ๒


ขณะที่เรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติก


จากครูหลายคน เช่น ครูย้าย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำราญพอสมควร ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗

ต่อมาในปี พ.ศ. ๓๔๖๘ จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐมขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ ๕ ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ หลังจากจบการศึกษาแล้วทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองลังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. ๓๔๗๓ เป็นนักเรียนทำการอยู่ ๖ เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมือง จังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี้เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติดในตำแหน่งหน้าที่จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสังหรือเสือพุ่ม

ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โตดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงนอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้

แต่ท่านก็สามารถปราบเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการโดยท่านไปปราบร่วมกับพลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก


ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนาไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี


ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร์ พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ด้วงชู เป็นสิบตรี นายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล ๔๐๐ บาท หลังจากนั้นมาอีก ๑ ปี ท่านก็ได้รับผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ ๑๖ คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เสือแดง เป็นต้น ด้วยความดี ความชอบ

จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น"ขุนพันธรักษ์ราชเดช" และในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับเลื่อนยศเป็น นายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์บวชอยู่ได้ ๑ พรรษา จึงลาสิกขา

ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑล นครศรีธรรมราชประจำจังหวัดสงขลาได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน กองปราบโจรครั้งสำคัญได้ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาก คือ การปราบผู้ร้ายทางการเมือง ที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ หัวหน้าโจรชื่อ "อะเวสะดอตาเละ" นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" และไดัเลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง


พ.ศ.๒๔๘๒ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง


ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญคือเสือสายและเสือเอิบ

หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือใน พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่ มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมายที่สำคัญคือการปราบเสือโน้มหรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี

พ.ศ.๒๔๘๙ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น

กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวัน ยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซากจึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ ๑ กองพัน

แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบและ พ.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราขเดช เป็นรองผู้อำนวยการกองปราบพิเศษ ได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลวผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน

ขุนพันธ์ฯได้รับคำสั่งด่วนให้สกัด โจรผู้ร้ายที่แตกเข้ามาจังหวัดชัยนาทครั้งนั้น ขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาวดาบนั้นมีถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม


คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง"


ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชิพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง ๒๐๐๐ บาท เพื่อไม่ให้ปราบปรามแต่ขุนพันธ์ฯ ก็ไปสนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท ๓ ปี ปราบปรามเสือร้ายต่าง ๆ สงบลงแล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับตำรวจภูธรที่อยุธยาอยู่ได้ประมาณ ๔ เดือนเศษ ก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมที่กำแพงเพชร

ตอนนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และ ขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต.หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯเป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วนและแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชรเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐

ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ ให้มีสมรรถภาพขึ้นและได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่าง ๆ ที่สำคัญคือเสือไกร กับ เสือวันแห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯ ยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล


ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๑


ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯนายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอตัวขุนพันธ์ฯกลับพัทลุง เพื่อช่วยปราบโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ

ขุนพันธ์ฯจึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญ ๆ สิ้นชื่อไปหลายคนผู้ร้ายบางคนก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปราม ซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยการปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและให้มีตำราจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง

ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจมีความสงบน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้นด้วยคึวามดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพันตำราจโท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓


ท่านอยู่เมืองพัทลุงได้ ๒ เดือนเศษจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔


จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต ๘ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจเขต ๘ และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พันตำรวจเอก และในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.๒๕๐๗

ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆที่ท่านไปประจำอยู่จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไป และเป็นที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ

นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศ และตำแหน่งสูงขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้น


นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวแล้ว


ขุนพันธ์รักษ์ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือ และวารสารต่างๆ หลายเรื่อง

ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่ให้ความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ นอกจากนั้น ก็ยังมีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคล และสถานที่ตำนานท้องถิ่น มวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

ข้อเขียนต่างๆ ของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่องกรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ

และต่อมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน "รูสมิแล" วารสารของมหาวิทยาลัยปีที่ ๖ ฉบับที่ ๓ เดือนพฤษภาคม สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ในวารสารนครศรีธรรมราช

หนังสืองานเดือนสิบ วิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ

ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธรักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อ เฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ ๓๐ ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน ๘ คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ ชื่อ สมสมัย มีบุตรด้วยกัน ๔ คน



ขอขอบคุณ : ข้อมูลดีๆ จาก


ramthep ดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์