อิทธิพลไทยทำภาษาลาววิบัติ สื่อโวยรัฐไม่ดูแล

สื่อของทางการลาวได้ออกโรงเรียกร้องไปยังหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ


ให้เข้าควบคุมดูแลการใช้ภาษาของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันภาษาลาวได้เพี้ยนไปอย่างมาก เนื่องจากอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้ทำให้ชาวลาวแม้กระทั่งสื่อของทางการเอง ก็ได้หันไปใช้ภาษาไทย มากขึ้นทุกวันๆ

ในปัจจุบันมีประโยคในภาษาลาว


รวมทั้งคำสามัญต่างๆ สูญหายไปแล้วจำนวนมาก เนื่องจากผู้คนได้หันไปใช้ภาษาไทยแทน เช่น คำว่า

"น้ำแข็ง" แทนที่จะเป็น..น้ำก้อน "เจอกัน" แทน..

พบกัน "หล่อ" แทน.. เจ้าชู้ "เลิกแล้ว" แทน..

เซาแล้ว "แม่บ้าน" แทน .. แม่เรือน

"ปิดประตู" แทน.. อัดประตู

"แป๊บนึง" แทน.. บดหนึ่ง

ยังมีอีกมากกว่านี้ที่ภาษาลาวได้วิบัติไป


รวมทั้งพวกประโยคและวลีต่างๆ ที่ชาวลาวลืมสิ้น เช่น "ซื้อเสื้อผ้ามาฝาก" แทน.. ซื้อเครื่องมาต้อน "หน้าต่าง" แทน.. ป่องเยี่ยม หรือ ใช้คำว่า "ถุงเท้า" แทน.. ถุงตีน ของลาวแท้ๆ เหล่านี้เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็น "กระแสรุกรานภาษาลาว" ซึ่ง


มีที่มาที่ไปจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สื่อมวลชนในประเทศใกล้เคียงที่ชาวลาวสามารถรับชมและรับฟังได้ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารสาร ต่างๆ ของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ซึ่งหาอ่านได้โดยง่ายในทุกวันนี้


สิ่งเหล่านี้กระทบพวกเราตลอด 24 ชั่งโมง


คนลาวทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อ่านภาษาของผู้อื่นได้คล่องแคล่ว เมื่อได้อ่านได้ฟังแล้ว ก็พูดตามเขา หลงลืมภาษาลาวสิ้น ทั้งนี้เป็นบทเขียนในหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ฉบับวันศุกร์ (9 ก.พ.) ที่ผ่านมา

บทเขียนภายใต้หัวชื่อ


"ถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องต่อสู้ปกป้องภาษาลาว" ได้เสนอให้ใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง โดยปรับปรุงการโฆษณาอบรมอย่างกว้างขวาง พัฒนาสื่อของรัฐใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้าช่วย ต้องมีการลงทุนด้านนี้มากขึ้น เพื่อดึงดูดให้ประชาชนหันไปติดตามชมและติดตามอ่าน

นอกจากนั้นยังต้องเผยแพร่ภาษาลาวทุกรูปแบบ


และในหลายขอบเขต พัฒนางานนี้อย่างต่อเนื่อง มีการชี้นำการดำเนินการของสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์รายวันและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในประเทศด้วย

เวียงจันทน์ใหม่กล่าวอีกว่า


นอกจากปัญหาสื่อข้ามแดนแล้ว ปัญหาเครื่องมือเครื่องใช้ก็มีความสำคัญ เครื่องมือสื่อสารต่าง มีส่วนอย่างมากทำให้ภาษาลาววิบัติ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเกม เล่นแผ่นซีดี รวมทั้ง "เครื่องฟังเพลงเคลื่อนที่"

สื่อของลาวกล่าว


".. แต่ที่ร้ายแรงกว่าอย่างอื่นคือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหนุ่มๆ สาวๆ ทุกคน ต้องการซื้อโทรศัพท์ที่มีเมนูภาษาไทย เพื่อสะดวกเวลาเขียนข้อความส่งหากันและบันทึกเพลงไทย"

บทเขียนยังชี้ต่อไปอีกว่า


แผ่นซีดีเกม แผ่นซีดีการ์ตูน ที่เป็นภาษาไทย ซึ่งเด็กๆ เกือบทุกครอบครัวในตัวเมืองได้นำไปชม และ "เรียนรู้ภาษาของผู้อื่นลึกซึ้งกว่าภาษาลาว ภาษาและประโยคคำพูดเหล่านั้น ได้แทรกซึมฝังลึกในมันสมองของเด็กๆ ทุกวันๆ แล้วหลงลืมภาษาของชาติตน"

บทเขียนได้เสนอให้บรรดาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าบริหารจัดการ


สกัดกั้นการไหลบ่าของภาษาต่างด้าวโดย ต้องเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าเหล่านี้ จะต้องบันทึกเป็นภาษาลาวในเครื่องใช้ประเภทนี้ ต้องมีการแปลเป็นภาษาลาวบันทึกลงในแผ่นซีดี แผ่นวีซีดีภาพยนตร์ ก่อนให้นำออกจำหน่าย เพราะมีความจำเป็นยิ่งที่จะต้องปกป้องภาษาลาว

"วัฒนธรรมบอกภาษา มารยาทบอกตระกูล"

บทเขียนยกคำพังเพยเพื่อเน้นความสำคัญที่จะต้องอนุรักษ์และส่งเสริมภาษาของชนชาติ

อย่างไรก็ตามปัญหายังมีมากกว่านั้น


ภาษาวิบัติยังได้สะท้อนผ่านทางร้านอาหาร โรงแรม เรือนพักต่างๆ ที่ผุดขึ้นราวดอกเห็ด ในยุคที่ประเทศกำลังดึงดูนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไปท่องเที่ยว ซึ่งมีการใช้ภาษาของชาติอื่นอย่างกว้างขวาง ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ รายการอาหารตามภัตตาคารต่างๆ ที่ทำให้อาหารลาวใกล้จะสูญพันธุ์

"มีหลายแห่งใช้ชื่อร้านอาหารลาว แต่ไปอ่านดูรายการอาหารแล้ว อาหารลาวยังเหลือแต่ลาบ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นเป็นอาหารต่างประเทศหมด เช่น ข้าวผัด ผัดเผ็ด ต้มยำ ทอดกุ้ง ทอดหนังปลา ทอดกะเทียม ผักบุ้งไฟแดง โจ๊ก ตุ๋นเป็ด ตุ๋นขาหมู กุ้งเผา ไข่เจียว หมูย่าง และอื่นๆ ซึ่งภาษาลาวมีใช้อย่างสมบูรณ์ แต่กลับไม่ยอมใช้"

บทเขียนได้แนะนำว่าร้านอาหารต่าง ๆ ควรจะใช้ชื่อรายการอาหารเป็นภาษาลาว


เช่น คั่ว แกง ผักเทียม (กะเทียม) ข้าวเปียก (ข้าวต้ม) อบ ปิ้ง หรือ จี่ เป็นต้น เมนูต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารทั่วไป ภัตตาคาร หรือคอฟฟีชอปโรงแรม ร้านบันเทิง ร้านกินดื่ม เรือนพักต่างๆ ควรจะแยกเมนูออกละเอียด อันไหนเป็นอาหารไทย จีน หรือ เวียดนาม และ แยกอาหารลาวออกต่างหาก

อีกสาเหตุหนึ่งคงไม่พ้นเป็นผลกระทบจากบรรดาป้ายโฆษณา โปสเตอร์ แผ่นพับ ที่ขาดการตรวจตรา เรียบเรียงภาษาลาวให้ถูกต้อง และยังไม่ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นผู้ดูแลส่วนนี้


ปัจจุบันมีแผ่นป้ายโฆษณาจำนวนมากที่ใช้ภาษาไทยแทนภาษาลาว


โดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น จำหน่ายเครื่องกรองน้ำ.. เพิ่มเงิน.. รับเติมหมึก.. ร้านตัดกระจก.. บริการดูดส้วม.. เสริมสวย.. แจกฟรี.. มีลุ้นโชค.. สุดคุ้ม.. บ้านพัก เหล่านี้ ซึ่งในภาษาลาวมีอยู่แล้ว และ ยังฟังดูเสนาะหูกว่าด้วย


บทเขียนได้เสนอให้ใช้คำว่า

เครื่องตองน้ำ.. ตื่มเงิน.. ตื่มน้ำหมึก.. ตัดแก้ว.. ดูดวิด (ส่วน "ส้วม" หมายถึงห้องนอน) เสริมความงาม.. แจก-หล้า.. มีชิงโชค.. คุ้มค่า.. เรือนพัก ในการโฆษณาแทนคำภาษาไทยที่กำลังใช้กันแพร่หลาย

ยารักษาโรค ควรใช้คำว่า "ยาปัวคนเจ็บ" .. ยาแก้ไข้ ก็ควรจะเป็นว่า "ยาดีไข้" หรือ "ยาดีเจ็บหัว" เป็นต้น

พวกหนังสือคู่มือการใช้สินค้านำเข้าต่าง ๆ ในปัจจุบัน


ก็มีถึง 80% ที่ไม่ได้พิมพ์เป็นภาษาลาวและใช้ตัวหนังสือลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกคู่มือการใช้เครื่องไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิดีโอเทป เครื่องรับโทรทัศน์ และ อื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน

บทเขียนกล่าวต่อไปว่า

เหตุของปัญหาอีกตัวหนึ่งก็คือสื่อของลาวเองที่ไม่ได้ระมัดระวังในการใช้ภาษา เช่น คำว่า จังหวะเติบโต ประเด็น ช่องโหว่ เฝ้าระวัง โปร่งใส แปรรูป(เช่น "กสิกรรมแปรรูป" ที่ใช้กันบ่อยๆ) ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดสื่อของลาวจึงใช้คำของประเทศอื่น

บทเขียนกล่าวว่า


ภาษาลาวมีคำพวกนี้ใช้อยู่แล้ว อดีตประธานประเทศพูมี วงวิจิต กระทั่งอดีตผู้นำสูงสุด ไกสอน พมวิหาน ก็เคยค้นคิดนำใช้คำต่างๆ เหล่านี้มาก่อน ซึ่งก็คือ จังหวะขยายโต..ปัญหา.. ช่องว่าง.. ติดตามอย่างใกล้ชิด.. ปอดใส.. ปรุงแต่ง.. (เช่น "กสิกรรมปรุงแต่ง ไม้ปรุงแต่ง") เหล่านี้ สื่อต่างๆ ควรจะนำไปใช้

นักหนังสือพิมพ์ทั้งมืออาชีพและมือใหม่


จำนวนไม่น้อย ยังคงใช้คำภาษาไทยแทนคำลาว อย่างแพร่หลาย พบเห็นได้บ่อยๆ ในข้อเขียนต่างๆ แม้แต่คำง่ายๆ เช่น ปลูกป่า.. แปรงสีฟัน.. ชิงเข็มขัด.. ชิงถ้วย.. บันไดก้าวขึ้น.. มอบรถเข็นให้องคะเทียม.. อีกครั้ง.. สุดมัน.. ทั้งหมดล้วนเป็นคำจากประเทศใกล้เคียง

สำหรับภาษาลาวต้องใช้คำว่า


ปลูกต้นไม้.. ฟอยถูแข้ว.. ชิงสายแอว.. ชิงขัน.. ขั้นไดก้าวขึ้น .. มอบล้อให้องคะเทียม.. อีกเทื่อหนึ่ง.. ม่วนที่สุด.. แทนคำภาษาไทยเหล่านั้น


มากยิ่งกว่านั้นก็คือ


การไปมาหาสู่กับประเทศเพื่อนบ้านก็ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น การค้าขายก็ขยายกว้างออกไป ทำให้มีการใช้ภาษาปะปนกันมากขึ้น โดยชาวลาวเองจำนวนไม่น้อยจะรู้สึกว่า "เท่" เมื่อได้พูดภาษาไทย ทั้ง ๆ ที่พูดภาษาลาว คนไทยก็เข้าใจได้ และ อาจจะเข้าใจได้ง่ายยิ่งกว่าคนลาวไปพูดไทยอีกด้วย

สะพานมิตรภาพ



อย่างไรก็ตาม


บทเขียนของเวียงจันทน์ใหม่มิได้ปฏิเสธคำในภาษาต่างประเทศเสียทั้งหมด คำเหล่านั้นเข้าสู่ลาวพร้อมกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การผลิตสินค้าใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีคำในภาษาถิ่นใช้แทนได้ แต่นอกจากนี้แล้วก็ควรจะใช้ภาษาลาวทั้งหมด



บทเขียนกล่าว.


หน่วยงานของรัฐควรจะเป็นเจ้าการในการรณรงค์ใช้ภาษาลาว ควรมีการค้นคว้าชี้ผิดชี้ถูกให้ผู้คนทั่วไปรู้ว่าอะไรควรไม่ควรเกี่ยวกับการใช้คำใช้ภาษา รัฐควรจะเข้าควบคุมและชี้นำเรื่องนี้ ทั้งมีมาตรการที่เด็ดขาดในการเล่นงานผู้ฝ่าฝืนอีกด้วย


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์