พบกระต่ายติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าใน กทม.

พบกระต่ายติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าใน กทม.

กรุงเทพฯ 6 ส.ค.- เรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นในวันนี้ และถือว่ากระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของบรรดาคนที่นิยมเลี้ยงสัตว์ ก็ คือ พบว่ากระต่ายติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขณะนี้เร่งตรวจสอบว่าเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าที่กระต่ายตัวดังกล่าวได้รับเป็นสายพันธุ์ย่อยมาจากพื้นที่ใด เพื่อการควบคุมโรคที่ถูกต้อง 


อธิบดีกรมควบคุมโรค ยอมรับว่าเชื้อพิษสุนัขบ้าในแต่ละภาคจะมีสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน

หากมีการติดเชื้อที่ไม่ใช่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ก็แสดงว่ามีการติดเชื้อมาจากฟาร์มกระต่ายที่นำมาขายก็ต้องเตรียมเข้าไปควบคุมโรคร่วมกับกรมปศุสัตว์ โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 จนถึงปัจจุบันพบแล้ว 3 ราย ขณะที่สัตวแพทย์ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยืนยันเชื้อพิษสุนัขบ้าในกระต่ายมีรายงานการพบน้อยมาก และแนะนำหากพบกระต่ายและสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปกติ ซึม ถ่ายผิดปกติ ให้รีบนำส่งมารักษาทันที ป้องกันการแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าจากสัตว์สู่คน เราไปฟังเสียงจากสัตวแพทย์ในเรื่องนี้กัน 
ในการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข

กรณีการพบกระต่ายติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ว่า จากการประชุมร่วมกัน กทม.เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบที่ีมาของกระต่ายในแหล่งค้าสัตว์ของ กทม.ได้แก่ ตลาดนัดจตุจักร ตลาดนัดจตุจักร 2 เขตมีนบุรี และตลาดนัดสนามหลวง 2 เขตทวีวัฒนา พร้อมเสนอปรับแก้กฎกระทรวงเกษตรฯ ในส่วนของคำนิยามการรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ จากเดิมครอบคลุมเฉพาะสุนัข ให้ครอบคลุมถึงแมว และสัตว์ฟันแทะที่เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย  
โรคพิษสุนัขบ้า สัตว์นำโรค ได้แก่ สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า เช่น
 
สุนัข แมว สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า หมาไน สกั้งค์ แรคคูน พังพอน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ในเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มีค้างคาวดูดเลือด ค้างคาวกินผลไม้ และค้างคาวกินแมลง เป็นสัตว์นำโรคในประเทศกำลังพัฒนา สุนัขเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ กระต่าย หนูแร็ท และหนูไมซ์ อาจติดเชื้อได้ แต่พบไม่บ่อยนัก ในประเทศไทยสุนัขเป็นสัตว์นำโรคหลัก รองลงมาเป็นแมว
การระบาดของโรคส่วนใหญ่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 30,000 คน
 
ในประเทศไทยผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 370 คนในปี พ.ศ. 2523 เป็น 30 คน ในปี พ.ศ. 2545 พบมากในภาคกลาง วิธีการติดต่อของโรค เชื้อไวรัสออกมากับน้ำลายสัตว์ที่ติดเชื้อ และเข้าสู่ร่างกายคนทางบาดแผลที่สัตว์กัดหรือข่วน บางครั้งพบว่าเชื้อสามารถเข้าทางบาดแผลที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ตามผิวหนัง หรือเข้าเยื่อบุของตา ปาก จมูก
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า สุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาจแพร่เชื้อได้ 3 - 10 วัน ก่อนเริ่มแสดงอาการป่วย
 
ในสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว และสกั้งค์ มีรายงานการปล่อยเชื้อในน้ำลายได้เร็วถึง 8 - 18 วัน ก่อนแสดงอาการ
ใครที่พบความปกติของสัตว์เลี้ยงของท่านไม่ว่าจะเป็น สุนัข  แมว กระต่าย หรือ สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ต้องรีบติดต่อ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล .-สำนักข่าวไทย

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์