หมอจุฬาฯ ชี้มือเท้าปากในไทยเชื้อไม่รุนแรง

หมอจุฬาฯ ชี้มือเท้าปากในไทยเชื้อไม่รุนแรง

วันนี้ (17 ก.ค.) ที่ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
 
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล หัวหน้าภาควิทยาการป้องกัน คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณะบดีคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ.สุปราณี จิราณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ร่วมกัน แถลงข่าวการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย รวมทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ในขณะนี้ ว่า ในปี 2555 เป็นการระบาดใหญ่ที่สุดในไทย จากการศึกษาและวิจัยพบว่า โรคดังกล่าวมีการแพร่ระบาดในประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว มาจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ คอกชากี และเอนเทอโรไวรัส  โดยโรคดังกล่าวมีการแพร่ระบาดสูงสุดในรอบ 30 ปี จากการเก็บสถิติตั้งแต่ ม.ค.-ก.ค.2555ในไทยมีคนติดเชื้อแล้วกว่า 12,000 ราย

ทั้งนี้สายพันธ์ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดในประเทศไทยนั้น ไม่ใช่สายพันธ์ที่รุนแรง
 
เช่น เดียวกับประเทศกัมพูชาหรือประเทศเวียดนามที่มีการเสียชีวิตจำนวนมาก  โดยสายพันธ์ที่พบในประเทศมี 2 สายพันธ์ คือ เอนเทอโรไวรัส 71 สายพันธ์ บี 5 และคอกชากี เอ 6 วิธีสังเกตุง่าย ๆ คือจะมีอาการตัวร้อน ที่ฝ่ามือฝ่าเท้าจะมีตุ่มน้ำใส ๆ ถ้าเป็นมากจะขึ้นที่ข้อพับแขน ขา ข้อศอกและร่องก้น จะพบมากในเด็กอายุ 1-2 ขวบ ส่วนเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไปพบน้อย อายุเกิน 12 ปี ร้อยละ 90 มีภูมิต้านทาน

ทั้งนี้มีการยืนยันว่าการแพร่ระบาดในไทยยังไม่พบผู้เสียชีวิต และสามารถควบคุมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการศึกษาและเฝ้าระวังอยู่แล้ว

จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก  วิธีป้องกันการติดเชื้อระวัง หมั่นดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน รับประทานอาหารที่สุก ซึ่งในปัจจุปันยังไม่มีวัคซีนและยาต้านไวรัสในการรักษา โรคส่วนใหญ่จะหายได้เอง โดยใช้เวลา 3-5 วัน ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายไม่ควรไปโรงเรียนและควรหยุดพักอยู่ที่บ้าน รักษาตามอาการไปจนกว่าจะหาย เพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์