สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมปิดเรียน6วัน หลังโรคมือ เท้า ปากระบาด

วานนี้(16ก.ค.)ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจ้งว่า
 
เนื่องจากขณะนี้โรคมือ เท้า ปาก กำลังระบาดอย่างหนักในประเทศไทย และโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้ประกาศปิดโรงเรียนตั้งแต่วันนี้ (17 ก.ค.) เป็นต้นไป เนื่องจากมีการแพร่ระบาดโรคมือ เท้า ปาก โดยเริ่มต้นในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  และระบาดไปยังนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 3 ในวันต่อมา และยังมีการแพร่ระบาดในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครด้วย

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กำหนดแถลงข่าวจากศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาฯ ในวันนี้ เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 202  อาคารจามจุรี 4

ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease) เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง

สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถมปิดเรียน6วัน หลังโรคมือ เท้า ปากระบาด

การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย
 
โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า

โรค มือ เท้า ปาก มีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในประเทศเขตหนาว

มักพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่ในเขตร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทยพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะชุกในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น

เชื้อที่พบเป็นสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

และแต่ละการระบาด ส่วนใหญ่ที่พบเชื้อ Coxsackie virus A16, Enterovirus 71และ Echovirus แต่เชื้อที่พบในการระบาดแต่วผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรง พบผู้เสียชีวิตและพิการตามมาได้บ่อยคือ Enterovirus 71  ส่วนในประเทศไทย โรคมือ เท้า ปาก มีสาเหตุจาก EV71 ประมาณร้อยละ 15-30 ซึ่งเชื้อ EV71 นั้น มีโอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วย

โรคมือ เท้า และปาก หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เป็นโรคที่สามารถหายได้เอง

โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน การรักษาจึงเป็นเพียงการประคับประคองและบรรเทาอาการ โดยเฉพาะการลดไข้ และลดอาการเจ็บปวดจากแผลในปาก โดยอาจใช้ยาชาป้ายบริเวณที่เป็นแผลก่อนรับประทานอาหาร ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนให้รักษาตามอาการเป็นส่วนใหญ่

หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค

แต่อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก ซ้ำได้จาก enterovirus ตัวอื่นๆควรแนะนําผู้ปกครองสังเกตอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ซึ่งควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์