ต้อนรับ แมกนอต ดาวหางสว่างสุดๆ ในรอบ 30 ปี

ดาวหางน้องใหม่ แม้จะเพิ่งค้นพบกันไม่กี่ปี


แต่ก็สร้างความเร้าใจให้แก่เหล่าผู้นิยมตาดูดาว (เท้าติดดิน?!?) ไม่น้อย เพราะ แมกนอต ดวงนี้กำลังเข้าใกล้ดวงอาทิตย์กำลังเพิ่มความสว่างมากกว่ามอร์นิงสตาร์ประจำท้องฟ้า และยังเป็นดาวหางที่สว่างสุดๆ ในรอบ 30 ปี แซง เฮลบอพพ์ และ ฮัลเลย์ ที่สร้างความประทับใจมากว่า 10 ปี


หลังจากที่โรเบิร์ต แมกนอต (Robert McNaught)


นักดาราศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ประกาศการค้นพบดาวหางใหม่เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 49 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 20 นิ้วบนหอดูดาวไซดิงสปริง (Siding Spring Observatory) ในนิวเซาธ์เวลส์ ออสเตรเลีย เขาค้นพบดาวหางอยู่ห่างไกลมากในกลุ่มดาวคนแบกงู มีลักษณะไม่โดดเด่นแต่อย่างใด

ซึ่งขณะบันทึกภาพได้นั้นดาวหางดังกล่าวฉายแสงจางกว่าดาวพลูโตหลายเท่านัก แต่วงโคจรชัดเจนว่าเป็นลักษณะการโคจรของดาวหาง โดยดาวหางดังกล่าวได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า C/2006 P1 หรือ ดาวหางแมกนอต ตามนามสกุลของผู้ค้นพบ/b>

อีกทั้งยังคาดการณ์ว่า


วงโคจรของดาวหางแมกนอตจะข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 12 ม.ค. 50 ด้วยระยะห่างเพียง 0.17 หน่วยดาราศาสตร์ (25.5 ล้านกิโลเมตร) ใกล้กว่าระยะของดาวพุธที่เป็นดาวเคราะห์ติดดวงอาทิตย์ที่สุด และดาวหางแมกนอตก็จะสว่างมากยิ่งขึ้นเมื่อเข้าใกล้ศูนย์กลางแห่งระบบสุริยะ

อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าวงโคจรของดาวหางแมกนอตจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 12 ม.ค. 50 ด้วยระยะห่างเพียง 0.17 หน่วยดาราศาสตร์ (25.5 ล้านกิโลเมตร) ใกล้กว่าระยะของดาวพุธที่เป็นดาวเคราะห์ติดดวงอาทิตย์ที่สุด และดาวหางแมกนอตก็จะสว่างมากยิ่งขึ้นเมื่อเข้าใกล้ศูนย์กลางแห่งระบบสุริยะ

ยิ่งใกล้แหล่งความร้อนเท่าไหร่


นักดาราศาสตร์ก็เชื่อว่าดาวหางแมกนอตจะมีความสว่างหรือโชติมาตร (magnitude) ได้ตั้งแต่ +2.1 (สว่างกว่าดาวเหนือ) หรืออาจจะสว่างได้ถึง -8.8 (สว่างกว่าดาวศุกร์) ที่เราเห็นกันทุกเช้าค่ำ (ยิ่งค่าความสว่างน้อยมากแค่ไหนนั่นแสดงว่าดวงดาวจะสว่างมากขึ้นเท่านั้น

โดยดาวฤกษ์บนท้องฟ้าที่สว่างที่สุดจะมีค่าอยู่ที่ 0 หรือ 1 ส่วนค่าติดลบนั้นไว้สำหรับวัตถุที่มีแสงเจิดจ้า ดวงดาวที่มองเห็นจางๆ บนท้องฟ้าในยามค่ำคืนมีค่าความสว่างประมาณ +6 แต่ดาวซีรีอัสที่ถือว่าสว่างที่สุดมีค่า -1.4 ขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงสว่าง -12.7 ส่วนค่าความสว่างของดวงอาทิตย์อยู่ที่ -26.7)

เดวิด มัวร์ (David Moore)


นักดาราศาสตร์ชื่อดังแห่งไอร์แลนด์ได้จับตาดาวหางดวงนี้ตั้งแต่หัวค่ำวันเริ่มปีใหม่ ที่กรุงดับลิน โดยเขาเขียนบรรยายว่า หลังจากพยายามมองหากว่าครึ่งชั่วโมง ในช่วงเวลาโพล้เพล้ ก็สามารถสังเกตเห็นดาวหางน้องใหม่ได้โดยใช้กล้องสองตาขนาด 20x80 ที่ขั้นบนของบ้าน

เขาเห็นกลุ่มควันฝอยเล็กๆ และประหลาดใจว่าแสงสาวที่บริเวณหัวนั้นสว่างได้มากถึง 3.5 ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวนกอินทรีที่อยู่เหนือขึ้นไป และไม่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เพราะดาวหางอยู่สูงจากขอบฟ้าแค่เพียง 3 องศา

ส่วนจอห์น บอร์เทิล (John Bortle)


นักสังเกตการณ์ดาวหางชื่อดังในสตอร์มวิลล์ นิวยอร์ก จับตาดาวหางตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นด้วยกล้องสองตาขนาด 15x80 ในวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา ทว่าบริเวณที่เขาสังเกตนั้นเต็มไปด้วยต้นไม้ขัดขวาง แต่เชื่อว่าเมื่อต้นเดือนที่เห็นนั้นดาวหางไม่น่าจะมีโชติมาตรเกิน 2

แมกนอต นับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 31 ที่มีการค้นพบ ซึ่งในช่วงแรกที่ค้นพบมีค่าความสว่างไม่เกิน 17 หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นแสงจางมาก แต่แสงจะเริ่มสว่างขึ้นเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์

ซึ่งขณะนี้ปรากฏให้เห็นทั้งในช่วงเช้าและหัวค่ำ

โดยจะสังเกตเห็นประมาณ 30-40 นาทีในช่วงเช้าใกล้ๆ กับเส้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และช่วงเย็นหลังพระอาทิตย์ตกอีกประมาณ 30-40 ทางขอบฟ้าตะวันตกเฉียงใต้

ส่วนการสังเกตนั้น


ก็ต้องหามุมเหมาะจริงๆ เพราะแม้จะเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในรอบ 30 ปี แต่ก็อาจจะโดนบดบังด้วยกลุ่มเมฆ หมอก ควัน แสงยามผีตากผ้าอ้อม แสงรบกวนจากเมือง หรือแม้แต่แสงจันทร์ ซึ่งอาจจะต้องพึ่งพากล้องสองตาเข้าช่วย

และน่าเสียดายที่ชาวไทยอย่างเราไม่สามารถสังเกตเห็นได้

โดยวรเชษฐ์ บุญปลอด กรรมการสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ดาวหางแมกนอตนี้โคจรในแนวเหนือใต้ โดยช่วงเช้าสามารถสังเกตเห็นได้ชัดในซีกโลกเหนืออย่างแถบอเมริกาเหนือและยุโรป และช่วงค่ำท้องฟ้าส่วนใต้มีโอกาสเห็นได้ ยิ่งอยู่ใกล้ขั้วโลกยิ่งสังเกตเห็นได้ง่าย ส่วนประเทศที่อยู่กลางๆ ใกล้เส้นศูนย์สูตรอย่างไทยต้องหมดหวัง

บรรดานักดาราศาสตร์มือสมัครเล่น


ต่างตั้งตารอชมดาวหางที่สว่างที่สุดดวงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนท้องฟ้าแถบอเมริกาเหนือที่ฮือฮากันไปตั้งแต่เช้าวันที่ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยในพื้นที่โล่งสว่างไร้แสงรบกวนต่างเห็นดาวหางสว่างไสว น่าประทับใจไม่น้อย ส่วนในตอนค่ำก็สร้างความประทับใจให้แก่ผู้คนทางซีกโลกใต้

ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า

แมกนอตเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในรอบ 30 ปีที่สามารถสังเกตเห็นจากโลก สว่างกว่าดาวหางเฮลบอพพ์ (Hale-Bopp) ที่มาเยือนโลกเมื่อ 2540 ถึง 6 เท่า และสว่างกว่าดาวหางฮัลเลย์ (Halley´s) ที่ปรากฏเมื่อปี 2529 ถึง 100 เท่า และจะยังสามารถสังเกตเห็นได้เป็นสัปดาห์หรืออาจยาวเป็นเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้องฟ้าซีกโลกใต้ และเชื่อว่าอาจจะกลายเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในประวัติศาสตร์ก็เป็นได้


ดาวหางแมกนอตจะปรากฏวนเวียนให้ชาวโลกได้จับตาสังเกตการณ์อย่างชัดที่สุดในช่วงเช้ามืดและหัวค่ำระหว่างวันที่ 12 -15 ม.ค. จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และ โซโห (SOHO : Solar and Heliospheric Observatory) ยานสำรวจกิจกรรมของดวงอาทิตย์ที่ขึ้นไปประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จะสามารถบันทึกภาพดาวหางแมกนอตได้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์