ผวาน้ำทะลักเขื่อนภูมิพลปริมาณน้ำสูงสุด

ผวา เขื่อนภูมิพล น้ำสูงสุดรับน้ำได้อีกแค่ 2,700 ล้านลูกบาศก์เมตร

ลดการระบายน้ำ 3 วัน ชะลอท่วมภาคกลาง ให้ชาวนาหายใจเร่งเก็บเกี่ยว ส่วน “เขื่อนสิริกิติ์” ปริมาณน้ำมาก 94 เปอร์เซ็นต์ ครม.เคาะงบ 886 ล้านเร่งช่วยน้ำท่วม ครอบครัวละ 5,000 บาท ศอส.สรุปยอดสังเวยน้ำท่วม 66 ศพ พื้นที่เกษตรเสียหาย 3.5 ล้านไร่
   
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 6 ก.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า

ที่ประชุม ครม.อนุมัติค่าชดเชยไร่อ้อยและไร่ข้าวที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และเห็นชอบการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครอบครัวละ 5,000 บาท แทนที่จะเป็น 5,500 บาท เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนได้รับค่าชดเชยไปแล้ว จึงคิดว่าควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกำชับให้รัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจังหวัด เร่งรัดขั้นตอนการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาให้ผู้ประสบอุทกภัยได้รวดเร็วขึ้น ส่วนภาคการเกษตร จะพิจารณาจ่ายเงินชดเชยหลังน้ำลดภายใน 90 วัน แต่ตนได้กำหนดให้ดำเนินการภายใน 60 วัน  ส่วนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างชัดเจนจะสำรวจให้เร็วขึ้นโดยแยกมาทำก่อน เชื่อว่าบางส่วนจะตัดจ่ายได้ภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำรวจและหาเช่าพื้นที่เพื่อทำแนวรับน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร และ จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อไป
   
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติ ครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้อนุมัติงบกลาง

ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในกรณีฉุกเฉินใน 44 จังหวัด 1.7 แสนครัวเรือน 886 ล้านบาท ชดเชยครัวเรือนละ 5,000 บาท ให้ทุกจังหวัดตรวจสอบความเสียหายให้ถูกต้องชัดเจน นอกจากนี้ ยังอนุมัติให้สำนักงบประมาณนำเงินไปช่วยเหลือดินโคลนถล่มอีก 15 ล้านบาท อีกด้านหนึ่ง ที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ได้มีมติให้ ส.ส.และรัฐมนตรีลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านอย่างเร่งด่วน
   
นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน

กล่าวภายหลังประชุมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยพลเรือน กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร ว่ากรมชลประทานได้ออกประกาศเตือนฉบับที่ 9 โดยแจ้งเตือนประชาชนในจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา โดยเฉพาะ จ.ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา จะมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 10-15 ซม. และตั้งแต่วันที่ 9-12 ก.ย.จะมีร่องความกดอากาศต่ำเข้ามาอีกระลอก ทำให้ฝนตกหนาแน่นมากขึ้น อ

ย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้ขอความร่วมมือจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพื่อให้ลดการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือ 65 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่วนเขื่อนภูมิพลได้ลดการระบายน้ำจาก 28 ล้านลูกบาศก์เมตรเหลือ 18 ล้านลูกบาศก์เมตรตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. และจะลดเพิ่มเหลือ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรในวันเดียวกันนี้ ส่งผลให้ปริมาณน้ำนครสวรรค์ลดลงแม้จะมีอิทธิพลฝนตกเพิ่ม แต่วิธีดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยระยะสั้น โดยเขื่อนภูมิพลลดการระบายได้เพียง 3 วันเท่านั้น เพราะขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนมีระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ กักเก็บน้ำมากถึงร้อยละ 74 ของความจุเขื่อน หรือประมาณ 7,900 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือพื้นที่รับน้ำเพียง 2,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์มีมากถึง 94 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเหลือพื้นที่ไม่มากหลังจากลดการระบาย 2-3 วัน จะปรับเพิ่มการระบายเหมือนเดิม ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องการเก็บเกี่ยวข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพราะรถเกี่ยวข้าวมาไม่ทันกับพื้นที่ที่ต้องการ และสามารถหน่วงน้ำได้ถึงวันที่ 10 ก.ย.เท่านั้น

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์