สิบเอกชนแห่ซื้อซองประมูล3จีทีโอที

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดขายซองประมูลโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

บนคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิร์ตซ ซึ่งเปิดขายซองตั้งแต่วันที่ 14-27 ธ.ค.มีบริษัทเอกชนมาซื้อซองเทคนิคมูลค่า 5 แสนบาท เพื่อเข้าร่วมประกวดราคาโครงการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี ทีโอที ทั้งหมด 10 ราย ได้แก่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),บริษัท แซดทีอี (ประเทศไทย)จำกัด,บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน),บริษัท อิริคสัน ประเทศไทย จำกัด,บริษัท แอดวานซ์ อินโฟรเมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอที,บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย)จำกัด,บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)จำกัด,บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน),บริษัท  ยูคอม และบริษัท จัสมิน อินเตอร์เน็ต จำกัด

หลังจากนี้ทีโอทีกำหนดวันยื่นซองวันที่ 10 ม.ค.54 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และจะเริ่มกระบวนเคาะราคาอี-ออคชั่น ในวันที่ 28 ม.ค.

คาดว่าจะได้ผู้ที่ชนะประกวดราคา และสามารถลงนามจ้าง 15-18 ก.พ.เป็นต้นไป โดยโครงการขยายโครงข่าย 3 จี ดังกล่าวนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติเงิน 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็นการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง 17,440 ล้านบาท อัพเกรดโครงข่ายเดิมของบริษัท เอซีที โมบาย จากระบบ 2 จีเป็น 3 จี ราว 2,000 ล้านบาท และงบสำรอง 540 ล้านบาท

โดยรายละเอียดของทีโออาร์สำคัญๆ ของผู้ที่มีสิทธิ์เข้าประกวดราคา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.บริษัทที่จดทะเบียนในไทย สามารถเข้ายื่นซองได้เลยเป็นบริษัทเดียว หรือร่วมกับกิจการร่วมค้ากับบริษัทต่างชาติ แต่ตั้งมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาทขึ้นไป 2.หากเป็นบริษัทต่างชาติประสงค์ เข้ายื่นซองประกวดราคา ไม่สามารถเข้ายื่นซองลำพังได้ ต้องมีพันธมิตรหรือกิจการร่วมค้าบริษัทไทยอย่างน้อย 1 บริษัท โดยบริษัทนั้นต้องมีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ขึ้นไปด้วย และต้องมีเอกสารแสดงผลงานที่เคยดำเนินการมูลค่า 500 ล้านบาทขึ้นไป อีกทั้งในวันที่ยื่นซองประมูล ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลค่า 572 ล้านบาท หรือ 3% ของมูลค่าโครงการ 17,440 ล้านบาท

การประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนี้

ประกอบด้วย ระบบโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) จำนวน 1 ระบบสถานีฐาน (ยูทีอาร์เอเอ็น) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสปอร์ต เน็ตเวิร์ก) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (โอเอสเอส) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน ระบบสนับสนุนการให้บริการ รวมทั้ง การติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย

ส่วนการจัดหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันทางการเงิน ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างทำหนังสือเชิญชวน (ไอเอ็ม) กับสถาบันทางการเงินในประเทศ

ซึ่งคาดว่าภายในเดือนก.พ.54 จะแล้วเสร็จ ใกล้เคียงกับความคืบหน้าในการหาพันธมิตรขายต่อบริการ (เอ็มวีเอ็นโอ) รายใหม่ได้ ซึ่งกรอบการให้บริการนั้น เฟส 1 และ เฟส 2 จะเปิดให้บริการได้ 180 วัน คือ กทม.ทุกพื้นที่รวมปริมณฑล และ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ เฟสสุดท้าย จะขยายไปยังจังหวัดอีก 59 จังหวัด ภายใน 360 วัน.

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์