สยบข่าวมั่วสึนามิซัด

มีจุดกำเนิดไกล กรมทรัพย์ฯ ยัน ไม่ถล่มอ่าวไทย สยบข่าวลือมหาพิบัติภัยส่งท้ายปี 53

กรมทรัพยากรธรณียันไม่เกิดชัวร์ คลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่มชายฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน มึนรังสีคอสมิกไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งดวงดาวเขย่าแผ่นดินสะเทือน เตือนรอยเลื่อนสะแกง-น้ำมา ขยับเกิน 6.9 ริคเตอร์ 147 อำเภอ 20 จังหวัดภาคกลางพัง!
   
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. ที่กรมทรัพยากรธรณี นางพรทิพย์ ปิ่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

พร้อมด้วยนายอดิชาติ สุรินทร์คำ ผู้ตรวจราชการกรมทรัพยา กรธรณี นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย ร่วมแถลงข่าว “ฤา (ลือ) ..สึนามิ จะเกิดขึ้นจริง?”
   
นางพรทิพย์ กล่าวว่า จากข่าวลือที่กล่าวถึงการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ในทะเลฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

โดยมีลักษณะของน้ำกระโจนเข้าชายฝั่งทั้งสองด้านพร้อมกันตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนถึงตี 2 ของวันที่ 30 ธ.ค. นี้ ทางกรมทรัพยากรธรณียืนยันว่า ทางทฤษฎีไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากการศึกษาพบแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในทะเล ที่จะสามารถก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิมี 4 บริเวณ คือ 1. ตอนเหนือของหมู่เกาะนิโคบาร์ บริเวณหมู่เกาะอันดามัน 2 และ 3 บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา และ 4 ทิศตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ (ทะเลจีนใต้) ซึ่งจุดนี้ถ้าเกิดแผ่นดินไหวก็จะมีคลื่นสึนามิเข้ามาทางอ่าวไทยตามที่มีการระบุไว้ได้จริง
   
ทั้งนี้จากการทำแบบจำลองการเกิดสึ  นามิในบริเวณอ่าวไทย โดยสมมุติเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริคเตอร์


โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฝั่งทะเลจีนใต้ หรือทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ คลื่นยักษ์จะเดินทางเข้ากระทบฝั่งบริเวณภาคใต้ที่ จ.นราธิวาส ใช้เวลา 9 ชั่วโมง และใช้เวลา 16 ชั่วโมง ถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา แต่หากจุดศูนย์กลางขนาด 8.0 ริคเตอร์อยู่บริเวณตอนเหนือของหมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย จะเข้ากระทบฝั่งทะเลอันดามัน ประมาณ 2 ชั่วโมง ที่บริเวณที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งทุ่นเตือนภัยสึนามิ 3 จุดในมหาสมุทรอินเดียและอันดามัน จึงสามารถเตือนภัยได้ทันที
   
ด้านนายอดิชาติ กล่าวว่า จากข้อมูลทางวิชาการช่วง 20 ปีที่ผ่านมาคลื่นสึนามิล้วนเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

และไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่าแผ่นดินไหว มีสาเหตุจากปัจจัยนอกโลก โดยเฉพาะที่กล่าวอ้างกันว่าเกิดจากรังสีคอสมิก ไม่สัมพันธ์กับการเรียงตัวของดวงดาวต่าง ๆ ส่วนแผ่นดินไหวบนบกขนาดใหญ่ในไทยนั้น ที่น่าเป็นห่วงคือแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนสะแกงบริเวณชายแดนไทย-พม่า และรอยเลื่อนน้ำมาของลาว หากมีขนาดใหญ่ถึง 6.9 ริคเตอร์ขึ้นไป อาจจะกระทบถึงพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 147 อำเภอใน 20 จังหวัด รวมทั้งกทม. เนื่องจากชั้นดินอ่อนอาคารบ้านเรือน ไม่ได้ออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์