ชี้รัฐทุ่มงบไอซีทีมีแนวโน้มบล็อกเว็บมากขึ้น

เวทีสัมนาสิทธิฯ บนโลกออนไลน์ ชี้ รัฐทุ่มงบให้ไอซีที มีแนวโน้มบล็อกเว็ปมากขึ้น จำกัดสิทธิประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์  ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง สิทธิมนุษยชนในอุษาคเณย์” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม 2553   ได้มีการเปิดเวทีเสวนาในหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม โดยในหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและสื่อออนไลน์ โดยมีนางสุรัชดา จุลละพราหมณ์ เป็นตัวแทนไทย ร่วมสะท้อนเสรีภาพในการสื่อสารทางสื่อออนไลน์ ในประเทศไทยว่า สื่ออินเตอร์ เป็นสื่อที่ประชาชนเข้าถึงน้อยกว่าสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และวิทยุ

 ตัวเลขในประเทศไทยมีประชาชนที่สามารถเข้าถึงสื่ออินเตอร์มากถึง 16 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับมาตรการทางกฎหมายควบคุมการสื่อสารบนโลกอินเตอร์เน็ต ประเทศไทยมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เริ่มแรกไม่ได้ต้องการที่ใช้ในการควบคุมการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต แต่เพื่อป้องกันอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต และเป็นกฎหมายที่เชื่อมโยงกับกฎหมายทางอินเตอร์เน็ตในยุโรป

 แต่ปัจจบันรัฐบาลใช้กฎหมายดังกล่าว ในการควบคุมการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ด้วยการบล็อกเว็บไซต์ โดยการอ้างอิงตามกฎหมาย ม. 20 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของชาติ และศีลธรรมอันดีของสังคม รวมทั้งให้ไอเอสพีออกมารับผิดชอบในการเนื้อหาที่ไม่สมควรเผยแพร่บนเว็บไซต์ตนเอง หากย้อนไปดูอำนาจของรัฐที่ใช้ในการอ้างเพื่อบล็อกเว็บไซต์ว่ามีความสมควรหรือไม่ จะเห็นว่า การบล็อกเว็บไซต์ขัดต่อหลักนิติหลัก เป็นการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ เพื่อไม่ให้การตรวจสอบรัฐได้ และยังเป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ  

       นางสุรัชดา มองว่า การที่สำนักงานการป้องกันและปราบปรามอาชญกรรมทางคอมพิวเตอร์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานมากขึ้น นั่นหมายถึงจะมีการบล็อกเนื้อหาในอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์มากขึ้น ทั้งนี้ ตนกังวลในเรื่องการแทรกแซงโดยตรงจากรัฐ ในการสั่งบล็อกเนื้อหาทางเว็บไซต์  เป็นการควบคุมจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยที่ไม่มีการตรวจสอบใดๆ แตกต่างจากการกรณีในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ที่ต้องขึ้นศาลก่อนที่จะมีการบล็อกเนื้อหาทางเว็บไซต์  อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การควบคุมสื่อทางอินเตอร์เน็ต ก็เป็นการปิดช่องทางในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

       ด้านนายทศพล นรทัศน์ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ตัวเลขผู้เข้าถึงข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต จะเป็นตัวชี้วัดทำให้เห็นว่า ระดับการมีประชาธิปไตยในสังคมมากน้อยอย่างไร สิ่งสำคัญตนเห็นว่า การที่รัฐบาลมีแผนปูโครงข่ายทางอินเตอร์เน็ตให้อย่างครอบคุมทั่วประเทศ ภายในปี 2556 เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญและพัฒนา โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง

       เมื่อถามว่า การแสดงความคิดเห็นของประชาชนไทย แบบออนไลน์และไม่ออนไลน์แตกต่างกันไหม นางสุรัชดา กล่าวว่า ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้อย่างชัดเจน โดยในประเทศตะวันตกมีการทำรายงานในเรื่องนี้ว่า โลกอินเตอร์มีการสื่อสารแบบเปิดเสรีมาก ส่วนการสื่อสารบนสิ่งพิมพ์จะต้องคิดและเรียบเรียงมาอย่างดีจึงจะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ดังนั้นจะเห็นว่า การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมเพราะเปิดเสรีได้มากกว่าสื่ออื่น และมีการสื่อสารรวดเร็วและทั่วถึงไว



เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์