ธรณีไหวตายนับพัน

เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประเทศเฮติ แผ่นดินไหวรุนแรง 7.0 ริกเตอร์

อาคารบ้านเรือนหลายหมื่นแห่งทั่วเมืองหลวงอาคารบ้านเรือนหลายหมื่นแห่งทั่วเมืองหลวง "กรุงปอร์โตแปรงซ์" พังพินาศราบคาบ แม้แต่ทำเนียบประธานาธิบดีก็ไม่มีเหลือ ความเสียหายไม่ต่างบ้านเมืองยามศึกสงคราม เสียงกรีดร้องขอความช่วยเหลือระงมทั่วเมือง ทั้งยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตลอดคืน เหตุเกิดเมื่อเย็นวันที่ 12 ม.ค.หรือเช้าวันที่ 13 ม.ค.ในประเทศไทย เผยรุนแรงสุดในรอบ 240 ปี ตายนับพันศพ

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 240 ปี ในประเทศสาธารณ รัฐเฮติ

ชาติหมู่เกาะเล็กๆ แถบทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมริกาเหนือ วัดแรงสั่นสะเทือนสูง 7.0 ริกเตอร์ อาคารบ้านเรือนทั่วทั้งกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวง หลายหมื่นแห่งพังพินาศ รวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีและสำนักงานกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติถล่มลงมาเกือบทั้งหลัง สภาพบ้านเมืองวอดวายเหมือนเขตสงคราม เบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลความเสียหายแน่ชัด เพราะระบบสื่อสารขัดข้องอย่างหนัก แต่คาดว่ายอด ผู้เสียชีวิตจะพุ่งสูงกว่าพันศพ นานาชาติระดมความช่วยเหลือเร่งด่วน

รายงานแจ้งว่า เหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเวลา 17.00 น. วันที่ 12 ม.ค.ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 09.00 น. วันที่ 13 ม.ค. ตามเวลาประ เทศไทย

หลังเกิดเหตุมีเสียงกรีดร้องตื่นตระหนก และขอความช่วยเหลือดังระงมไปทั่วเมือง ประชาชนต่างวิ่งหนีตายออกจากอาคารที่พักมาอยู่ในที่โล่ง และบางส่วนพยายามขุดช่วยเหยื่อที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังด้วยมือตัวเอง เพราะแทบไม่มีเจ้าหน้าที่ออกมาปฏิบัติงานกู้ภัย นอกจากนั้น ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตลอดคืน ครั้งแรงสุดวัดแรงสั่นสะเทือน 5.9 ริกเตอร์ ชาวบ้านและผู้บาดเจ็บยังคงหวาดผวา ไม่กล้าเข้าไปอยู่ในอาคาร และรวมตัวอาศัยอยู่ตามจัตุรัสต่างๆ แทน ขณะที่โรงพยาบาลในเมืองหลวงประกาศว่ารับผู้บาดเจ็บทุกคนไม่ไหว เพราะแพทย์และอุปกรณ์ ไม่พอ อีกทั้งตัวโรงพยาบาลเองก็ได้รับความ เสียหาย

สองสถานที่สำคัญซึ่งเสียหายหนักเพราะแรงแผ่นดินไหว คือ ทำเนียบประธานาธิบดี และสำนักงานใหญ่กองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติ ความสูง 5 ชั้น

ที่โครงสร้างพังพินาศหลายส่วน รวมถึงส่วนยอดโดมของตัวทำเนียบ และมีข่าวว่าพื้นที่ย่านคนรวย หรือเขตเพทิชั่น วิลล์ ที่มีเศรษฐีและนักการทูตพำนักอยู่จำนวนมาก ก็ได้รับความเสียหายไม่น้อย อย่างไรก็ตาม ทางการเฮติยืนยันว่า ประธานาธิบดีเรเนเปรวาล และภริยา ปลอดภัยดี ส่วนสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แถลงยังไม่ทราบว่าขณะเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่ยูเอ็นอยู่ภายในอาคารมากน้อยขนาดไหน แต่อาจมีผู้เคราะห์ร้ายติดอยู่ใต้ซากนับร้อยคน ในจำนวนนี้มีชื่อหัวหน้ากองกำลังรักษาสันติภาพยูเอ็นในเฮติรวมอยู่ด้วย และ คาดว่าอาจเสียชีวิต ทั้งนี้ ยูเอ็นส่งทหารรักษาสันติภาพ 9,000 นาย เข้าประจำการรักษาความสงบในเฮติหลังเกิดเหตุรัฐประหารล้มรัฐบาลเมื่อปี 2547

นายเรย์มองด์ อัลซิเด โยเซฟ เอกอัครราช ทูตเฮติ ณ กรุงวอชิงตัน เมืองหลวงสหรัฐอเมริกา แถลงว่า เฮติเป็นชาติยากจนที่สุดในซีกโลกเหนือ

จึงขาดแคลนอุปกรณ์กู้ภัยรับมือหายนะระดับใหญ่นี้ จึงอยากวิงวอนขอความช่วยเหลือนานา ชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเมื่อปี 2551 เคยส่งความช่วยเหลือมาให้เฮติเต็มความ สามารถภายหลังประสบภัยโดนพายุเฮอริเคน 4 ลูกพัดถล่ม และขอให้ชาวเฮติต่างแดนช่วยหาทางช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติ

ด้านประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ ซึ่งพื้นที่รัฐฟลอริดาอยู่ห่างจากเฮติเพียง 1,200 กิโลเมตร แถลงว่า

สหรัฐพร้อมช่วยเหลือเฮติให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ และตนสวดมนต์ขอพรจากพระเจ้าขอให้ผู้ประสบภัยทุกคนปลอดภัย ต่อมาทำเนียบขาว หรือคณะบริหารรัฐบาลสหรัฐ แถลงว่า กระทรวงต่างประเทศ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) และกองบัญชาการกองทัพสหรัฐตอนใต้ เริ่มต้นประเมินความเสียหายและเริ่มประสานงานรูปแบบการช่วยเหลือแก่เฮติ

สำหรับปฏิกิริยาจากนานาชาติหลังทราบข่าวธรณีพิบัติภัยเฮติ ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ผู้นำฝรั่งเศส อดีตชาติเจ้าอาณานิคมเก่าเฮติ

ประกาศพร้อมส่งความช่วยเหลือเต็มที่ เบื้องต้นรัฐมนตรีกระทรวงความร่วมมือแห่งรัฐของ ฝรั่งเศส เผยด้วยว่า หลังเกิดเหตุมีชาวฝรั่งเศสราว 60 คนเข้าไปพักพิงในสถานทูตฝรั่งเศสประจำกรุงปอร์โตแปรงซ์ ส่วนคนอื่นๆ กำลังทยอย มาสมทบ แต่ทั้งอาคารสถานทูตและบ้านพัก เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสต่างได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว อีกจุดที่ต้องเร่งตรวจสอบ คือ โรงแรมโฮเทลมอนตานา ซึ่งยุบพังถล่มทั้งหลัง เพราะมีชาวฝรั่งเศสที่ทำงานในเฮติเข้าพักอยู่หลายคน

"ก่อนเกิดเหตุมีคนอยู่ข้างในโรงแรมราว 300 คน หนีรอดออกมาได้เพียง 100 คน" รัฐมนตรีฝรั่งเศสกล่าว

ที่ประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ กล่าวว่า พร้อมส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทุกอย่างไปให้เฮติ ที่กรุงวอชิงตัน

ธนาคารโลกเผยว่า พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ไปเฮติเพื่อประเมินความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว และเริ่มทำแผนฟื้นฟูประเทศ ที่บราซิล ประธา นาธิบดีลูอิส ลูลา ดา ซิลวา แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ในเฮติ รวมทั้งชะตากรรมทหารบราซิลราว 1,200 นาย ที่ปฏิบัติภารกิจอยู่กับกองกำลังรักษาสันติภาพยูเอ็น ซึ่งเบื้องต้นพบศพทหารบราซิลแล้ว 4 นาย ที่ปานามา รองประธานาธิบดีฆวน คาร์โลส วาเรลา ระบุว่า รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือเฮติผ่านทางสำนัก งานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมยูเอ็น เช่นเดียวกับเปรูที่จะส่งความช่วยเหลือในภารกิจกู้ภัยไปยังเฮติ

ด้านกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก เผยว่า จะติดตามสถานการณ์ในเฮติอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมแผนคุ้มครองชาวเม็กซิโกที่เผชิญเหตุฉุกเฉินในเฮติ

ส่วนที่คิวบา ชาติเพื่อนบ้านห่างจากเฮติเพียง 80 กิโลเมตร ทางการสั่งอพยพคนในเมืองบาราเกา ทางชายฝั่งตะวันออกไปอยู่ในที่สูงเพื่อความปลอดภัย หลังแผ่นดินไหวทำให้มีประกาศเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ แม้จะยกเลิกภายหลัง แต่สำนักป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนระบุว่า ยังคงเฝ้าจับตาการเกิดอาฟเตอร์ช็อก และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออก และสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกซ์ ที่ 16 ทรงขอให้ประชาคมโลกรีบช่วยเพื่อนมนุษย์ผู้ประสบภัยในเฮติ

นางคริสติน มาราโน นักธรณีฟิสิกส์ สำนัก งานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) ที่ติด ตามเหตุแผ่นดินไหวทั่วโลก

เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวเฮติวัดความแรง 7.0 ริกเตอร์ จัดเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในเฮตินับตั้งแต่ปีพ.ศ.2313 (ค.ศ.1770) หรือเมื่อ 240 ปีก่อน ศูนย์กลางห่างจากทิศตะวันตกของกรุงปอร์โต แปรงซ์ 15 กิโล เมตร และถือว่าจุดกำเนิดตื้นมาก อยู่ลึกจากพื้นดินแค่ประมาณ 8-9 กิโลเมตร เป็นเหตุให้การสั่นสะเทือนเหนือพื้นดินรุนแรงมาก

นายฮาร์ลีย์ เบนซ์ เจ้าหน้าที่ยูเอสจีเอสอีกคน กล่าวว่า แผ่นดินไหวเฮติระลอกนี้เกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนจุดเดียวกับที่เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 7 ครั้ง

ระหว่างปีพ.ศ.2161-2403 (ค.ศ.1618-1860) ในห้วงเวลานี้เกิดแรงที่สุดปีพ.ศ.2313 และในปีพ.ศ.2403 ผลจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลยังจุดชนวนให้คลื่นยักษ์สึนามิซัด เข้าชายฝั่งกรุงปอร์โตแปรงซ์ ด้านนายพอล แมนน์ จากสถาบันธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐ กล่าวว่า รอยเลื่อนแถบทะเลแคริบเบียนสงบนิ่งมานานนับร้อยปี โดยเหตุแผ่นดินไหวล่าสุดคาดว่าเกิดจากแรงกดปะทะกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ได้แก่ "แผ่นอเมริกาเหนือ" ทางตอนเหนือ กับ "แผ่นแคริบเบียน" ทางตอนใต้

วันเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศของไทยออกแถลงการณ์ถึงกรณีเหตุภัยพิบัติในเฮติ ว่า สั่งการให้คณะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเอ็น ณ นครนิวยอร์ก

ติดต่อประสานกับคณะทูตถาวรเฮติประจำยูเอ็น เพื่อติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศเฮติในการติดตามและให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ทำงานอยู่ในเฮติ จนถึงขณะนี้กระทรวงได้รับการติดต่อจากคนไทย ซึ่ง อ้างว่าไม่สามารถติดต่อญาติที่ทำงานกับบริษัท คมนาคมในกรุงปอร์โตแปรงซ์ได้ สำหรับผู้ที่มีญาติอาศัยอยู่ในเฮติและประสงค์จะสอบถามเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว ติดต่อได้ที่นางบุญสม วัฒนปาณี กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล โทร. 0-2982-8128 โทรสาร 0-2575-1052 มือถือ 08-1640-2434 พร้อมกันนี้กระทรวง การต่างประเทศกำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เฮติ

ด้านนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ มี สารแสดงความเสียใจถึงนางมารี มิเชล เร รมว. ต่างประเทศเฮติ ต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น

ความโดยสรุปว่า ในนามรัฐบาลและประชาชนชาวไทยขอแสดงความเสียใจต่อเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อทางใต้ของเฮติไปยังประชาชนชาวเฮติ โดยเฉพาะผู้สูญเสียครอบ ครัวไปกับเหตุครั้งนี้

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมธรณีวิทยาแคริบเบียน ครั้งที่ 18 เดือนมี.ค.2551 ณ เมืองซานโตโดมิงโก ประเทศโดมินิกัน นักวิทยาศาสตร์ 5 คนเคยนำเสนอรายงานวิชาการเตือนว่า รอยเลื่อนเปลือกโลกทางตอนใต้ของเกาะฮิสปานิโอลา ที่ตั้งของเฮตินั้นมีความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะสูงมาก เพราะจุดเสี่ยงอยู่บริเวณกรุงปอร์โตแปรงซ์ ซึ่งมีประชากรหนาแน่นและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้มาตรฐานเพราะสังคม มีสภาพยากจน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์