วิธีลดเสี่ยงติดเอดส์ ขริบจู๋ แพร่เชื้อน้อยลง60%

วานนี้ (28 พ.ค.) นพ.รัตน์ เชื้อชูวงศ์ นักวิจัยทางการแพทย์ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา ด้านสาธารณสุข (ศรทส.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้เริ่มมีการศึกษาเรื่องการขริบหนังหุ้มปลายอวัยะเพศชาย ช่วยลดการติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ โดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟฟริกา เช่น แอฟฟริกาใต้ เคนยา อูกันดา โดยการศึกษาจะแบ่งกลุ่มตัวอย่างชายอกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขริบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย และกลุ่มที่ไม่ขริบหนังหุ้มอวัยะเพศชาย ได้ติดตามผลของกลุ่มตัวอย่างนาน 42 เดือน  

นพ.รัตน์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบว่า การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถช่วยลดการติดเชื้อเอดส์ทั้งจากชายสู่หญิง และจากหญิงสู่ชายได้ ร้อยละ 60

โดยกลุ่มตัวอย่างชายที่ไม่ขริบ ติดเชื้อเอชไอวี 100 คน ส่วนกลุ่มชายที่ขริบ ติดเชื้อเอชไอวีเพียง 30-40 คนเท่านั้น หรือชายที่ขริบสามารถลดการติดเชื้อจากชายที่ไม่ได้ขริบ 2-3 เท่า สาเหตุเพราะผิวด้านในของหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย มีเซลล์รับเชื้อเอชไอวีในปริมาณมาก และเซลล์อยู่ในตำแหน่งที่ตื้นมากนอกจากนี้ยังสามารถพฉีกขาด ถลอกทำให้ติดเชื้อได้ง่าย การขริบจึงเป็นการลดบริเวณผิวด้านในของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศทำให้ลดพื้นที่รับเชื้อเอชไอวีลงได้ และบริเวณปลายอวัยวะเพศชายที่ไม่มีหนังหุ้มแล้ว จะมีการสร้างสารโปรตีน (keratin) หนาขึ้น ทำให้เชื้อเอชไอวีแทรกตัวได้ยากขึ้น  

"ผลการศึกษาทางระบาดวิทยายังพบว่าผู้เติดเชื้อที่ขริบ และมีปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด น้อยกว่า 5 หมื่นก็อปปี้/มิลลิลิตร จะไม่แพร่เชื้อไปสู่คู่นอนได้ ขณะที่คนที่ไม่ขริบจะแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนได้ 10 คน/100 คน/ปี" นักวิจัยทางการแพทย์ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา กล่าว 


นพ.รัตน์ กล่าวต่อว่า ผลการศึกษาเบื้องต้น มีแนวโน้มว่า การขริบจะช่วยลดการติดเชื้อเอชไอวีได้ทั้งการมีเพศสัมพันธุ์ทางช่องคลอด และทางทวารหนัก

แต่ผลการศึกษายังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีการทำวิจัยศึกษาเรื่องนี้ จึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าชายไทยที่ผ่านการขริบจะลดความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ เพราะการวิจัยที่ผ่านมาอยู่ในทวีปแอฟฟริกา ซึ่งประชากรมีความต่างทั้งด้านสรีระ ชนิดของเชื้อไวรัส และศาสนา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ชาวมุสลิม มีอัตราการติดเชื้อต่ำกว่าประเทศที่นับถือศาสนาอื่น ไม่สามารถอธิบายได้ว่าอัตราการติดเชื้อต่ำกว่าศาสนาอื่นเพราะการขริบ 100% เพราะมีปัจจัยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ลักษณะการดำเนินชีวิต และหลักสาสนา ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม  

ด้าน นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค สธ. กล่าวว่า การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คือการตัดหนังบริเวณด้านหน้าขององคชาติออก

เพื่อให้สามารถรูดออกเพื่อทำความ สะอาดบริเวณส่วนปลายได้ ซึ่งผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือ ขี้เปียก มีลักษณะเป็นขุยขาวๆ หากไม่เปิดหนังหุ้มปลายล้างออกได้ จะทำให่สารดังกล่าวคั่ง ก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ ที่สำคัญเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ ซึ่งการขริบ ยังมีประโยชน์ช่วยลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ เช่น โรคเริม มะเร็งมะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศชาย ซิฟิลิส แผลริมอ่อน เป็นต้น และในเด็กทารกยังช่วยลดโอกาสติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะด้วย ซึ่งในไทยมีความชุกโรคเอดส์ เพียง ร้อยละ 1 เท่านั้น ขณะที่ทวีปแอฟฟริกา มี่ความชุกสูง ร้อยละ 5-20  

นพ.อนุพงศ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทย จำเป็นต้องมีการศึกษาต่อยอด โดยเฉพาะเรื่องความคุ้มค่า การยอมรับของคนไทย

ความพร้อมสถานพยาบาล และภาระค่าใช้จ่ายการผ่าตัดขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยขริบเพียง 10% เท่านั้น เพราะเข้าใจผิดว่าจะให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ดังนั้น การขริบเพื่อป้องกันโรค จึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ซึ่งการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีที่สุด คือการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะที่มีเพศสัมพันธุ์ และลดพฤติกรรมเสี่ยง การซื่อสัตย์ต่อคู่รัก

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์