มรภ.นครปฐมเจ๋ง วิจัยอัญมณีเทียมจากขี้เถ้าสำเร็จ

วานนี้ (2 เม..) นายจักรพงษ์ แก้วขาว หัวหน่วยวิจัยแก้วและวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ในฐานะหัวหน้า โครงการวิจัยเรื่อง
การเตรียมนิลเทียมจากขี้เถ้าแกลบเหลือใช้กล่าวว่า ขณะนี้ต้องยอมรับว่าอัญมณีในประเทศไทยเริ่มจะหมดไป และต้องนำเข้าจากประเทศแถบทวีปแอฟฟริกา และพม่า ดังนั้นทางทีมวิจัยจึงทดลองนำขี้เถ้าแกลบ ซึ่งพบว่ามีสารซิลิกา ที่เป็นสารหลักในการผลิตแก้วอยู่ในปริมาณมาก มาทดลองโดยนำมาผสมกับสารเคมี ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของทางโครงการวิจัย จากนั้นนำไปหลอมจนเป็นของเหลว จนรอให้แข็งตัว ก่อนที่จะนำไปอบ และพบว่าเมื่อนำไปเจียระไนจะมีความสวยงามในระดับเดียวกับอัญมณีต่างๆ ทั้งยังสามารถควบคุมสี และน้ำหนักได้ ซึ่งเป็นข้อดีกว่าอัญมณีที่เกิดมาจากธรรมชาติ ที่จะไม่สามารถควบคุมได้ ขณะเดียวกันทีมวิจัยยังประสบความสำเร็จในการพัฒนาต่อยอดโดยการนำขี้เถ้าแกลบ มาทำเป็นอัญมณีที่มีความทึบแสงอย่างเช่น นิล ได้แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกของประเทศไทย
 

หัวหน่วยวิจัยแก้วและวัสดุศาสตร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนมาติดต่อมาทางทีมวิจัยเพื่อนำอัญมณีเทียมของทางโครงการไปทำ เครื่องประดับออกจำหน่ายแล้ว

ทั้งนี้จากการที่ทีมวิจัยทดลองนำไปเจียระไนแล้วทำเป็นแหวน สร้อย ออกจำหน่าย พบว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมาก เพราะต้นทุนในการทำอัญมณีเทียมอยู่ที่ประมาณ
200-300 บาท ต่อ 1 ก้อน แต่เมื่อนำไปเจียระไนทำเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆแล้วจะสามารถจำหน่ายได้ใน ราคาสูงถึง1,000-2,000 บาท

 "ขี้เถ้าแกลบที่นำมาใช้นั้น จะมาจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวลและหรือระบบพืชพลังงานทดเเทน ซึ่งจะช่วยสภาพแวดล้อม เพราะขี้เถ้าแกลบจากโรงงานไฟฟ้าจะสร้างฝุ่นละอองมหาศาลต่อสภาพเเวดล้อม จากตัวเลขเบื้องต้นมีเเกลบในเเต่ละปี 5.3 ล้านตันต่อปี เมื่อเผาจะเหลือมวลประมาณ 20% ของเดิม จากการคำนวณจะเกิดขี้เถ้าประมาณ 1.06 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะกลายเป็นฝุ่นละอองมหาศาลในบรรยากาศ และทำลายสภาพเเวดล้อมอย่างมาก และเกิดปัญหาต่อคุณภาพชีวิต และต่อไปทางทีมวิจัยจะทดลองนำขี้เถ้าแกลบจากที่อื่นๆ เช่น จากเตาย่างเนื้อ มาทดลองทำอัญมณีเทียมด้วย" นายจักรพงษ์ กล่าว

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์