นักวิทยาศาสตร์ออสซี่ยุบริโภคจิงโจ้ ช่วยลดโลกร้อน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (1 ต.ค.) อ้าง ศาสตราจารย์รอสส์ การ์โนต์ ที่ปรึกษาระดับสูงเรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของรัฐบาลออสเตรเลีย

ระบุในรายงานสำคัญที่เสนอต่อรัฐบาลออสเตรเลียว่าด้วยภาวะโลกร้อน  ว่า การเรอและการผายลมของปศุสัตว์ เป็นตัวการใหญ่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศออสเตรเลีย  คิดเป็นร้อยละ
67 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรม ในทางกลับกัน จิงโจ้ปล่อยก๊าซมีเทนออกมาในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น  หากเกษตรกรผู้ทำปศุสัตว์ถูกนำไปรวมในระบบอุตสาหกรรมที่ต้องซื้อใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็จะทำให้ราคาเนื้อวัวและแกะเพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภค
  

ศาสตราจารย์รอสส์ การ์โนต์ ระบุด้วยว่า รายงานชิ้นนี้เสนอความเป็นไปได้ที่จะให้จิงโจ้มาแทนที่แกะและวัว

ในการผลิตเนื้อของประเทศออสเตรเลีย โดย ภายในปี
2563 จำนวนวัวและแกะอาจลดลง 7 ล้านตัว และ 36 ล้านตัว ตามลำดับ ทำให้จำนวนจิงโจ้เพิ่มขึ้นจาก 34 ล้านตัว ในปัจจุบัน เป็น 240 ล้านตัว ภายในปี 2563
 

รายงานระบุว่า แม้จิงโจ้เป็นสัตว์ประจำชาติออสเตรเลีย และปรากฏอยู่บนตราเครื่องหมายประจำตระกูลขุนนาง ในแต่ละปีกลับมีจิงโจ้ถูกฆ่าตายในป่าจำนวนหลายล้านตัว เพื่อควบคุมประชากรจิงโจ้
 

เนื้อจิงโจ้ที่ถูกฆ่าตายส่วนใหญ่จะถูกนำไปทำอาหารสัตว์ และแม้แนวความคิดที่จะทำฟาร์มจิงโจ้สำหรับการบริโภคของมนุษย์ยังเป็นเรื่องที่เป็นข้อโต้แย้งกันอยู่ แต่ชาวออสเตรเลียที่ใส่ใจสุขภาพจำนวนมากก็บริโภคเนื้อจิงโจ้อยู่แล้ว เพราะมีไขมันต่ำ โปรตีนสูง และสะอาด

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์