เฮ้อเบื่อ!! น้ำมันแพง

ภาวะราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้นโดยไม่หยุดยั้งส่อผลกระทบรุนแรงยิ่งขึ้นไม่ต่อประเทศที่กำลังพัฒนาเท่านั้น


แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งต้องอาศัยพลังงานเชื้อเพลิงซึ่งใช้น้ำมันในปริมาณมากเช่นกัน

ผลกระทบที่ว่านี้เป็นไปทั่วโลก

ผลกระทบที่ว่าร้ายแรงประการหนึ่งก็คือ จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจโลกขาดความสมดุลครับ และมีแนวโน้มว่าส่อเค้าให้เกิดวิกฤตไปได้ทั่วโลก

นี่เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่า ผลร้ายของราคาน้ำมันเป็นต้นเหตุครับ

เพราะว่ามันเป็นอย่างนี้แหละที่ไอเอ็มเอฟอยู่เฉยไม่ได้

ดังนั้น ในรายงานภาวะเศรษฐกิจโลกของไอเอ็มเอฟ ซึ่งตีพิมพ์ออกมาจึงระบุว่าภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในวิกฤตที่ขาดความสมดุล และจะเป็นไปเช่นนี้มากกว่าที่คาดคิดซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะมีความปั่นป่วนในการปรับตัวเอง


ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะขาดดุลการค้า


ขณะเดียวกันในบทที่สองของรายงานดังกล่าว ได้ระบุว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะขาดดุลการค้า และวัฏจักรของดอลลาร์ในตลาดน้ำมันทำให้ดอกเบี้ยลดต่ำทำให้เกิดแรงผลักดันให้มีการบริโภคในประเทศสูง แต่ไม่ยืนยงอยู่ได้นานแบบยั่งยืน

ผลของราคาน้ำมันเป็นสาเหตุให้สหรัฐอเมริกาเสียหายจากการขาดดุลทางบัญชีระหว่างปี ค.ศ. 2002-2005 โดยช่วงปีดังกล่าว การขาดดุลสูงขึ้น 2 เปอร์เซ็นต์ไปเป็น 6.5 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตรวมประชาชาติ

นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รากฐานการปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจที่ควรจะดีย่อมแย่ไปด้วย เพราะว่าเวลานี้ทั่วโลกตกอยู่ในสภาพไม่มีความสมดุล และอเมริกาจะยังเผชิญต่อภาวะขาดดุลการค้า ซึ่งจะเพิ่มสูงต่อไปอีกในปีต่อไป ตราบใดที่ราคาน้ำมันยังส่อแววว่าจะไม่ลดลง


วิธีการเดียวที่จะช่วยแก้ไขได้ก็คือ


จะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อหยุดยั้งภาวการณ์ไม่สมดุลทั่วโลก หาไม่แล้วทั่วโลกก็ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตด้วยกันค่อนข้างแน่ชัดในภายภาคหน้าโดยยากที่เลี่ยงได้

ถ้าภาวะที่จะปรับตัวนี้ไม่เกิดขึ้น แม้ว่าการปรับตัวจะใช้เงินมาก แต่ความเสียหายจะมากกว่าหลายเท่าพันทวี และจะทำให้เศรษฐกิจโลกหายนะได้

รายงานของไอเอ็มเอฟนั้น ยังบอกด้วยว่าประเทศที่ส่งออกน้ำมันทั้งหลายก็ควรระมัดระวังการใช้จ่ายเงินของแต่ละประเทศไว้ด้วย เพราะว่าราคาน้ำมันแพงเช่นนี้อาจต่อเนื่องยิ่งกว่าในยุคปี 1970 มาก

แม้ว่ารายงานจะชี้ว่า รายได้จากน้ำมันบางส่วนถูกนำไปลงทุนในตลาดพันธมิตร และทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวลดลงบ้าง แต่ไอเอ็มเอฟชี้ว่าผลกระทบก็ยากที่จะตรวจสอบได้ เพราะขาดข้อมูลเป็นรูปธรรม แต่เงินจากน้ำมันไหลไปนั้นอาจช่วยลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวได้จากพื้นฐานประมาณ 30 จุด

ในอดีตที่ผ่านมานั้น ราคาน้ำมันที่พุ่งปรูดปราดนั้น มีผลกระทบเพียงช่วงสั้นๆ เกี่ยวกับภาวการณ์ขาดดุลและราคาพลังงานที่สูงขึ้นนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และทำให้เกิดภาวะซึมในตลาดด้านดีมานด์

อีกด้านหนึ่งของโลกนั้นเวลานี้ก็เกิดปัญหาขึ้นที่ไนจีเรีย โดยเป้าหมายอยู่ที่บริษัทเชลล์ ออยล์ คอมปานี

พวกกลุ่มต่อต้านบริษัทน้ำมันมองว่าอิทธิพลของบริษัทน้ำมันคือกากเดนแห่งอาณานิคมนั่นเอง ดังนั้น การสู้กับบริษัทน้ำมันก็เป็นการสู้กับลัทธิอาณานิคม

ไนจีเรียเป็นประเทศที่คอร์รัปชันและการเมืองไร้เสถียรภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พวกผู้ก่อการร้ายได้เข้าโจมตีบริษัทน้ำมันหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งลักพาตัวคนงานชาวต่างประเทศที่ทำงานให้กับบริษัทน้ำมันไป 13 คน และสถานการณ์ล้วนส่อไปทางเลวร้ายยิ่งขึ้น

เพราะว่ามีความรุนแรงต่อเนื่อง ทำให้ตลาดน้ำมันต่างประเทศหวั่นไหว โดยเฉพาะอเมริกานั้นซื้อน้ำมันถึง 40 เปอร์เซ็นต์จากที่ไนจีเรียส่งออก

แน่นอนอเมริกาย่อมวิตกมากกว่าสถานการณ์ในประเทศนี้จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างเลี่ยงไม่ได้


ตราบใดที่แหล่งผลิตน้ำมันหลายแห่งยังมีปัญหา ราคาน้ำมันก็ยังจะสูงอยู่ต่อไป


ทุกวันนี้โลกก็ป่วนไปด้วยการก่อการร้ายในตะวันออกกลาง, การลักพาตัวในประเทศกลุ่มละตินอเมริกา, ความเสี่ยงทางการเมืองในรัสเซีย ทั้งหมดนี้ทำให้บริษัทน้ำมันวิตกมากว่าราคาน้ำมันยากที่จะลดลง

บริษัทน้ำมันจำนวนมากต้องการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ สอดส่องเพื่อรักษาความปลอดภัย เช่น เรดาห์, กล้องที่เห็นในที่มืด รวมทั้งเครื่องบินไร้คนขับเพื่อตรวจตราจากบนฟ้า

ทั้งหมดเพื่อประกันว่าบริษัทน้ำมันจะปลอดจากการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายนานาชนิด

ที่ไนจีเรียประเทศเดียว เชลล์สูญเสียการผลิตไปวันละ 900,000 บาร์เรลต่อวัน จากบริษัทเชลล์ ดีเวลล็อปเม้นท์ ปิโตรเลียม คอมปานี (SPDC) ซึ่งเป็นบริษัทไนจีเรียที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุด โดยบริษัทเชลล์นั้นถือหุ้นอยู่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ SPDC นั้นผลิตน้ำมันส่งออกได้ 43 เปอร์เซ็นต์ จากผลผลิตทั้งประเทศ

ครับ...

ราคาน้ำมันก็ยังจะสูงอยู่ต่อไป เราคนไทยก็จะกระเป๋าแฟบต่อไปแหละครับ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์