มาดู!! ใครได้ ใครเสีย จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ?

หลังจากมติของคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 ได้ประกาศการขึ้นค่าแรง โดยได้แบ่งลำดับการขึ้นค่าแรงถึง 7 ขั้น ได้ส่งผลการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มที่เกี่ยวข้องมากมายว่าไม่เหมาะสม ไม่สะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ มีคนได้ประโยชน์ มีคนเสียประโยชน์ แล้วจริง ๆ เป็นอย่างไร

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2561 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 19 มีมติเห็นชอบการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดประจำปี 2561 มาอยู่ในช่วง 308-330 บาท/วัน (เฉลี่ย 315.97 บาท/วัน) จากอัตรา 300-310 บาท/วันในปี 2560 (เฉลี่ย 305.44 บาท/วัน) ซึ่งจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561 เป็นต้นไป
โดยการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้ เป็นการปรับขึ้นแบบไม่เท่ากันทั่วประเทศตามแต่ละพื้นที่โดยจัดกลุ่มจังหวัดแบ่งค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 7 ระดับ แตกต่างจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีก่อนที่แบ่งเป็น 4 ระดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มตัวแปร เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI), ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เข้ามาในสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแบบใหม่

ดูเหมือนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้แม้จะผ่านมติมาจากการประชุมของคณะกรรมการค่าจ้างซึ่งมีหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ ฝ่ายผู้ประกอบการ และฝ่ายแรงงาน แต่ก็มีกระแสการต่อต้านทั้งจากฝ่ายผู้ประกอบการนำโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ตลอดจนแรงงานบางส่วน เรามาดูกันว่า การขึ้นค่าแรงในปี 2561 นี้กระทบกับใครบ้าง และมากน้อยเพียงใด

แรงงานได้ประโยชน์ทางตรง
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉลี่ยในปีนี้ที่อยู่ในระดับ 315.97 บาท/วัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา 305.44บาท/วัน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาประมาณ 3.44%

ในขณะที่ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า กลุ่มประชากรแรงงานที่อยู่ในระดับที่จะต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้มีประมาณ 20.2% คิดเป็นสัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนรวมอยู่ที่ระหว่าง 8-14% การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อ 0.06% และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2561 จะอยู่ที่ 1.1%

ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว แม้ว่าการปรับในครั้งนี้จะไม่เท่ากันทั้งประเทศก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้แรงงานมีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นกว่าเดิม ลดแรงกดดันเรื่องค่าครองชีพสูง

ส่งเสริมยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างงาน
จากโครงสร้างการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยโซนที่มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดคือ ภูเก็ต ชลบุรี และระยองปรับขึ้นเป็น 330 บาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เป็นจังหวัดที่อยู่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งสอดคล้องไปกับนโยบายภาครัฐที่ต้องการดึงดูดแรงงานที่พอจะมีทักษะฝีมือให้เคลื่อนย้ายมาทำงานใน EEC มากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน จังหวัดที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราน้อยที่สุดที่ 308 บาท/วัน ยังเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนน้อย ค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มไม่มาก แต่สอดคล้องกับค่าครองชีพของแรงงานก็น่าจะช่วยดึงดูดผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างงานให้คนในพื้นที่มากขึ้นตามไปด้วย

ผลต่อผู้ประกอบการ
ถ้าจะถามว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายใหญ่หรือไม่ แทบตอบได้ว่าเกือบจะไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้เป็นผลมาจากรายใหญ่ส่วนใหญ่หันไปพึ่งกระบวนการผลิตแบบ Automation มากขึ้น พึ่งพาแรงงานน้อยลง และโดยโครงสร้างก็มีรายได้ที่สูงกว่าอุตสาหกรรมรายเล็ก เพราะต้องแข่งขันด้านคุณภาพบุคลากรในท้องตลาดแรงงานเดียวกัน

แม้แต่รายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังระบุว่า ธุรกิจที่แต่เดิมจ่ายค่าจ้างในอัตราที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่มากหรือพึ่งพิงแรงงานกึ่งมีฝีมือ (Semi-Skilled Labors) เป็นหลัก ก็อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากจำเป็นต้องปรับเพิ่มค่าจ้างของแรงงานกึ่งมีฝีมือเพื่อรักษาระดับความต่างของค่าจ้างระหว่างแรงงานกึ่งมีฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือไว้ ท่ามกลางสภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัวขึ้นด้วย

ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของธุรกิจและอุตสาหกรรมในภาพรวมเพิ่มขึ้นราว 0.3% ของต้นทุนทั้งหมด และประเมินว่าการขึ้นค่าแรงในครั้งนี้น่าจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานเข้มข้นมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 0.4% ของต้นทุนทั้งหมด

ผลต่อเศรษฐกิจมหภาค
รายได้ของแรงงานไม่มีฝีมือและแรงงานกึ่งมีฝีมือที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพบางส่วนของแรงงาน รวมถึงช่วยหนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนให้เพิ่มขึ้นตามกำลังซื้อที่สูงขึ้น ส่งผลบวกต่อมูลค่าจีดีพีในประเทศ

แต่ในขณะเดียวกัน การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการในส่วนแรงงานของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อประกอบกับต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนตัดสินใจถ่ายโอนภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผ่านทางด้านราคาสินค้าและบริการ

ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จะทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการของผู้บริโภคในปี 2561 เพิ่มขึ้นราว 0.06% เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงยังคงประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2561 ไว้ที่ 4.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในปี 2561 ที่ 1.1% ดังเดิม

กล่าวโดยสรุปการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2561 นี้ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.6% ส่งผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการ 0.3% ส่งผลต่อเงินเฟ้อ 0.06% และกระทบต่อจีดีพี -0.02% หรือแทบไม่ส่งผลกระทบ

สิ่งที่จะเป็นผลกระทบในเชิงจิตวิทยานั่นก็คือ การฉกฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจากผู้ประกอบการ โดยอาศัยข้ออ้างในการขึ้นค่าแรง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางกระทรวงพาณิชย์ได้พยายามเรียกผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตดังกล่าวมา ทั้งขอความร่วมมือและป้องปรามไม่ให้เกิดการฉกฉวยโอกาสในครั้งนี้


มาดู!! ใครได้ ใครเสีย จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ?


มาดู!! ใครได้ ใครเสีย จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ?

ภาพ : กระทรวงแรงงาน, iStockPhoto


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:08 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์