เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ


เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ

วันที่ 26 ต.ค.60 เป็นวันที่พสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งแผ่นดิน จะร่วมกันน้อมถวายความอาลัยและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งการจัดสร้างพระเมรุมาศ สำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสร็จสมบูรณ์และยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ

สำหรับ พระเมรุมาศ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราวสร้างขึ้นบริเวณท้องสนามหลวง เพื่อใช้ในการราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง



ส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์เรียกว่า "พระเมรุ" (พระ-เมน) และของสามัญชนเรียกว่า "เมรุ" (เมน) การสร้างพระเมรุมาศสร้างตามความเชื่อเรื่องโลกและจักรวาลลักษณะโดยรวมของพระเมรุมาศ คือ มีหลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวงศ์ ทรงวินิจฉัยว่า "เมรุ เห็นจะได้ชื่อมาแต่ปลูกปราสาทอันสูงใหญ่ขึ้นท่ามกลางปลูกปราสาทน้อยขึ้นตามมุมทุกทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียงเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติล้อมเป็นชั้นๆ มีลักษณะดุจเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่กลางมีสัตตบริภัณฑ์ล้อม จึงเรียกว่า พระเมรุ ทีหลังทำย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อมเหลือแต่ยอดแหลมๆ ก็คงเรียกว่า เมรุ

สำหรับ "พระเมรุมาศ" งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีความสูง 50 เมตร 49 เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานชาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 ชั้น กว้างด้านละ 60 เมตร แต่ละด้านมีบันไดทางขึ้นอยู่ตรงกลางชั้นบนสุดของพระเมรุมาศ เป็นบุษบกยอดมณฑป ชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสูตร หรือ ม่าน และฉากบังเพลิง

ยอดบนสุด ประดิษฐาน นพปฎลมหาเศวตฉัตร หรือ ฉัตรขาว 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี

ถัดลงมาเป็นฐานชาลาชั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของซ่างทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น สำหรับพระพิธีธรรม 4 สำรับ นั่งสวดอภิธรรมสลับกันไปตั้งแต่พระบรมศพประดิษฐานบนพระจิตกาธาน โดยรอบประดับประติมากรรมเทพชุมนุม 108 องค์


เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ

ส่วนฐานชาลาชั้นที่ 2 มีหอเปลื้องทรงบุษบกรูปแบบเดียวกันตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่ ใช้สำหรับจัดเก็บพระโกศทองใหญ่และพระโกศไม้จันทน์ รวมถึงอุปกรณ์สำหรับงานพระราชพิธี

สำหรับอาคารประกอบพระเมรุมาศ ประกอบด้วย พระที่นั่งทรงธรรม เป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ประทับทรงธรรมและประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระบรมศพ และมีที่สำหรับคณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ รวมทั้งคณะทูตานุทูตเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท


เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ

นอกจากพระที่นั่งทรงธรรมแล้วยังมีอาคารประกอบอื่น ๆ อีกได้แก่ ศาลาลูกขุน ใช้เป็นที่สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมพระราชพิธี ทับเกษตร ใช้เป็นที่พักสำหรับข้าราชการที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมพระราชพิธี พลับพลายก โถงสำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงรอรับส่งพระโกศทองใหญ่ขึ้นราชรถ ทิม เป็นที่พักพระสงฆ์ แพทย์หลวง เจ้าพนักงาน และที่ประโคมปี่พาทย์ประกอบพิธี สร้างติดแนวรั้วราชวัตรทั้ง 4 ทิศ

เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ


เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ,ภาพจาก twitter/KhaosodFarm

เสร็จสิ้น 100 เปอร์เซ็นต์ “พระเมรุมาศ” ดุจเขาพระสุเมรุ งดงามสมพระเกียรติ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์