ส่งจนท.ตรวจสอบ รพ.เอกชน จ่อเอาผิดปล่อย จนท.ดูดนมสาวในห้องเอ็กซเรย์!!!

ส่งจนท.ตรวจสอบ รพ.เอกชน จ่อเอาผิดปล่อย จนท.ดูดนมสาวในห้องเอ็กซเรย์!!!


จากกรณีเจ้าหน้าที่ประจำห้องเอ็กซเรย์ ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ โดยการจับและดูดหน้าอกผู้ป่วยหญิงที่ประสบอุบัติเหตุจราจร ระหว่างรอเอกซเรย์ เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 04.30 น.ของวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 7 ก.พ. นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรม สบส.ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่จากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และกองกฎหมาย ลงตรวจสอบข้อเท็จจริงที่โรงพยาบาลเอกชนดังกล่าว ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ โดยตรวจสอบใน 2 ประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ได้แก่ 1.ผู้ดำเนินการโรงพยาบาลได้จัดผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นผู้ให้บริการเอ็กซเรย์ ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ 2.กระบวนการให้บริการ และความปลอดภัย ซึ่งในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการทำเอ็กซเรย์ โรงพยาบาลจะต้องจัดระบบความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย เนื่องจากห้องเอ็กซเรย์เป็นห้องมิดชิด

ดังนั้น จะต้องมีเจ้าหน้าที่ทั้งชายและหญิงให้บริการเพื่อให้เกิดความเหมาะสม เช่น กรณีเป็นผู้ป่วยหญิงควรจะให้เจ้าหน้าที่หญิงเป็นผู้ดูแล ไม่ควรปล่อยให้อยู่เพียงลำพังกับเจ้าหน้าที่ชาย ซึ่งทั้งหมดนี้หากพบว่ามีการปล่อยปละ ละเลย จะเอาผิดกับผู้ดำเนินการโรงพยาบาลโดยทันที

ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า ในด้านความผิดครั้งนี้ จะแยกเป็น 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกความผิดด้านอาญาเฉพาะตัวเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดซึ่งเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และประเด็นที่ 2 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ตามมาตรา 34 (1) ให้ผู้ดำเนินการควบคุม ดูแลมิให้ผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 34 (4) ผู้ดำเนินการต้องควบคุม ดูแลสถานพยาบาลให้สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย และมีลักษณะเหมาะสม หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

"ทั้งนี้ ขอย้ำเตือนให้สถานพยาบาลทุกแห่งรักษาคุณภาพมาตรฐานให้ครบทั้ง 5 ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนด คือ 1.ด้านสถานที่ ต้องสะอาด 2.ด้านผู้ให้บริการ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ 3.ด้านการบริการ ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 4.ด้านยา-เวชภัณฑ์ ต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ5.ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งจุดที่สุ่มเสี่ยงจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอดเวลา และจัดเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วย" ทพ.อาคม กล่าว


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์