จุฬาฯ โพสต์ความคืบหน้าเรื่องต้นหางนกยูงหัก ยันดูแลนิสิตเต็มที่

จุฬาฯ โพสต์ความคืบหน้าเรื่องต้นหางนกยูงหัก ยันดูแลนิสิตเต็มที่

จุฬาฯ โพสต์ความคืบหน้าเรื่องต้นหางนกยูงหัก ยันดูแลนิสิตเต็มที่

รายงานความคืบหน้า กรณีอุบัติเหตุต้นไม้โค่นล้มในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เพิ่มเติม ณ วันที่ 10 มี.ค. 2559) 

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ เมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 เวลาประมาณ 13.00 น. ต้นหางนกยูงหล่นทับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้นิสิตได้รับบาดเจ็บจำนวน 7 คน ประกอบด้วย

• นายจิรัฎ สง่าอารีกุล นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 
• นายวัชระ งามศิริอุดม นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 
• นายชานัท อมรวศิน นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
• นายชนกันต์ พาวิทยาลาภ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
• นายตรีพร ทองประดิษฐ์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
• นายศุภวิทย์ เกษตรตระการ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
• นายณัฐภัทร อัศวสุรฤกษ์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำนิสิตเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในทันที

โดยรถฉุกเฉินของทางมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งจัดทีมแพทย์เฉพาะทางให้การดูแลรักษา ขณะนี้แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วจำนวน 3 คน อยู่ระหว่างการพิจารณาให้กลับบ้านภายในวันนี้เพิ่มอีก 2 คน และยังรักษาตัวอยู่ 2 คน โดยทีมแพทย์ผู้รักษายืนยันว่า นิสิตทั้งหมดอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างปลอดภัยแล้วในเบื้องต้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการดูแลต้นไม้เป็นประจำ โดยจัดรถกระเช้าออกตัดแต่งต้นไม้ทุกวัน

 และในกรณีที่พบต้นไม้ที่มีปลวกหรือความเสียหายของต้นไม้เนื่องจากสาเหตุอื่นๆ ก็จะดำเนินการฉีดยาและทำศัลยกรรมต้นไม้ โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญและส่วนงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้มีการดูแลในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนเพิ่มเติมเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ทางมหาวิทยาลัยจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสแกนต้นไม้เพิ่มเติม เพื่อตรวจดูโพรงที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในภายภาคหน้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีตัวแทนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนำโดย รศ.ดร.ธนิต ธงทอง รองอธิการบดี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ได้ติดตามดูแลนิสิตผู้บาดเจ็บทุกคนอย่างใกล้ชิด พร้อมให้ความช่วยเหลือต่างๆ ดังนี้

• พิจารณายกเว้นการนับเวลาเรียนของนิสิตที่ได้รับบาดเจ็บและต้องพักรักษาตัว
• จัดทีมสอนเสริมให้แก่นิสิตในช่วงที่ต้องขาดเรียน
• มหาวิทยาลัยจะเข้าดูแลด้านการรักษาพยาบาลของนิสิตอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สื่อสารองค์กรจุฬาฯ โทร. 02 218 3364-5

ขอบคุณข้อมูลจาก Chulalongkorn University

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์