สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)

สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)

9 มีนาคม 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ณ วังสุลต่านเตอร์นาเต เมืองเตอร์นาเต สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ประธานคณะกรรมการบริหาร สดร. รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นำทีม สดร. ตั้งกล้องโทรทรรศน์และอุปกรณ์ทั้งการสังเกตการณ์ทางตรงและการสังเกตการณ์ทางอ้อมถวายทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำกล้องถ่ายภาพส่วนพระองค์มาใช้บันทึกภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ด้วย
รองศาสตราจารย์ บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 9 มีนาคม 2559 เป็นสุริยุปราคาลำดับที่ 52/73 ในชุดซารอสที่ 130 แม้ว่าแนวคราสเต็มดวงส่วนใหญ่จะพาดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ในช่วงต้นของคราส เงามืดของดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านแผ่นดินที่เป็นเกาะใหญ่ๆ ของประเทศอินโดนีเซียหลายเกาะด้วยกัน อาทิ เกาะสุมาตรา กาลิมันตัน สุลาเวสี และหมู่เกาะโมลุกกะ การเกิดคราสครั้งนี้ ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังนานที่สุดถึงกว่า 4 นาที แม้ว่าจุดที่เกิดคราสเต็มดวงนานที่สุดนี้จะอยู่ในมหาสมุทร แต่ในช่วงต้นของปรากฏการณ์การเกิดคราสที่พาดผ่านแผ่นดินบริเวณหมู่เกาะโมลุกกะและสุลาเวสี จะนานถึงกว่า 3 นาที
เงามืดของดวงจันทร์จะข้ามผ่านเส้นศูนย์สูตรในบริเวณทะเลโมลุกกะ (Molucca Sea) และผ่านเกาะ น้อยใหญ่หลายเกาะในเมืองใหญ่สุดในบริเวณนี้ได้แก่ เตอร์นาเต (Ternate) แม้เมืองเตอร์นาเตจะอยู่ห่างจากแนวกึ่งกลางคราสไปทางเหนือประมาณ 44 กิโลเมตร แต่เวลาที่คราสเต็มดวงยังกินเวลานานถึง 2 นาที 41 วินาที รวมถึงบริเวณดังกล่าว ดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ 40-50 องศา
ลำดับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 9 มีนาคม 2559 ตามเวลาท้องถิ่น ณ เมืองเตอร์นาเต สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เริ่มต้นคราสบางส่วน เมื่อขอบดวงจันทร์แตะขอบดวงอาทิตย์ในเวลาประมาณ 08:36 น. เข้าสู่ช่วงคราสเต็มดวง เมื่อดวงจันทร์เริ่มบดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวง ในเวลาประมาณ 09:51 น. และเข้าสู่ช่วงกลางคราส ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มากที่สุดเวลาประมาณ 09:53 น. จากนั้นสิ้นสุดช่วงคราสเต็มดวง ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนออกจากดวงอาทิตย์ เมื่อเวลาประมาณ 09.54 น. และสิ้นสุดคราสบางส่วน เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนออกจากดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง ในเวลาประมาณ 11.20 น. เป็นสัมผัสสุดท้ายและสิ้นสุดปรากฏการณ์สุริยุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์ สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม 2560 แนวคราสเต็มดวงพาดผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา

 

 


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตร สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อินโดนีเซีย (ชมภาพ)


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์