ชี้พระต้องใช้เงิน! ผช.อธิการฯมมร.แนะอย่ากำหนดเงินบริจาค

ชี้พระต้องใช้เงิน! ผช.อธิการฯมมร.แนะอย่ากำหนดเงินบริจาค

ชี้พระต้องใช้เงิน! ผช.อธิการฯมมร.แนะอย่ากำหนดเงินบริจาค หนุน พุทธฯเป็นศาสนาประจำชาติ

นายแหวนทอง บุญคำ รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)


ให้สัมภาษณ์กรณีพระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ที่ปรึกษาสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.) ทำหนังสือ เรื่อง "การเตรียมกฎหมายเก็บภาษีพระและตรวจสอบ ทรัพย์สินของวัด" ถึงเจ้าคณะพระสังฆาธิการทั่วประเทศ เพื่อให้ตอบแบบตอบรับความคิดเห็นส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายหลัง นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป แนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธ ศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้รายงานแนวทาง ปฏิรูปพระพุทธศาสนาต่อ สปช.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดย ครม.ได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธ ศาสนา (พศ.) นำไปศึกษาและส่งรายงานกลับภายใน 30 วัน หรือวันที่ 12 มิถุนายนว่า เห็นด้วยกับการปฏิรูปพระพุทธศาสนา แต่ผู้ที่ปฏิรูปจะต้องประพฤติดี และรู้ธรรมวินัยดี แต่นายไพบูลย์ยังไม่ได้ประพฤติดี และรู้ธรรมวินัยดี ดังนั้น จึงควรเสนอปัญหาให้ พระสงฆ์พิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาเอง กรณีเสนอเก็บภาษีพระ และวัดนั้นไม่เห็นด้วย จะทำให้พระประพฤติตัวเหมือนบริษัท คือหาเงินให้ได้ มากที่สุด เพราะถือว่าได้เสียภาษีอย่างถูกต้องแล้ว เท่ากับผลักให้พระห่างไกลจากธรรมวินัย

"ที่นายไพบูลย์ระบุว่าพระสังฆาธิการถือเป็น เจ้าพนักงานรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา ถ้ารับเงินธรรมจรรยาเกิน 3,000 บาท จะผิดกฎหมาย
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้นไม่เคยได้ยินว่ามีกฎหมายกำหนดให้พระสังฆาธิการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ส่วนตัวมองว่าไม่ควรกำหนดการรับเงินบริจาคจากญาติโยม เนื่องจากพระยังจำเป็นต้องใช้เงินซ่อมแซม หรือสร้างโบสถ์ ถ้าปล่อยให้ทรุดโทรม ชาวบ้านก็ต่อว่าได้ว่าพระปล่อยปละละเลย อีกทั้งพระยังต้องช่วยสนับสนุนโรงเรียนด้วย ยิ่งเป็นพระผู้ใหญ่ยิ่งต้อง ช่วยมาก ดังนั้น การรับธรรมจรรยาจากญาติโยม จึงไม่ควรกำหนดวงเงิน" นายแหวนทองกล่าว

นายแหวนทองกล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอให้เวียนเจ้าอาวาสทุก 5 ปี โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งนั้น ส่วนตัวเห็นด้วย

ที่ผ่านมาชาวบ้านก็มีส่วนร่วมอยู่แล้ว อย่างกรณีเจ้าอาวาสที่ได้รับแต่งตั้งมาจากนอกพื้นที่ หากชาวบ้านไม่ศรัทธาก็ขับไล่อยู่แล้ว ดังนั้น มองว่าข้อเสนอนี้เป็นไปได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ และชาวบ้านด้วย ซึ่งอาจจะต้องทำประชาพิจารณ์สอบถามความเห็นจากชาวบ้านก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการ แต่งตั้งเจ้าอาวาสดังกล่าว

"ส่วนข้อเสนอของเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นที่เสนอนายกฯ ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเห็นด้วย เพราะปัจจุบันชาวพุทธไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเอง แต่ถ้ากำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ จะต้องกำหนดกฎหมายลูกที่จะมากำหนดบทบาทหน้าที่ว่าชาวพุทธต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง รวมถึงกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนอย่างไรบ้างด้วย อย่างศาสนาอิสลามก็ยังมีกฎหมายที่กำหนดให้รัฐต้องสนับสนุน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่จะให้รวมมหานิกายและธรรมยุตเป็นคณะเดียวกัน ถือเป็นความเข้าใจผิดของผู้เสนอ เพราะทั้งมหานิกายและธรรมยุต ทุกวันนี้อยู่รวมกันโดย ไม่ได้แตกแยกอยู่แล้ว ต่างมีสังฆราชรูปเดียวกัน และชาวบ้านใส่บาตรโดยไม่ได้มาแบ่งแยกว่า มหานิกาย หรือธรรมยุต ฉะนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องมารวมเป็นคณะเดียวกัน" นายแหวนทองกล่าว

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์