เปรียบเทียบแนวปะการังเกาะพีพีเล ในช่วง 13 ปี ถูกขยี้ไม่เหลือซาก

เปรียบเทียบแนวปะการังเกาะพีพีเล ในช่วง 13 ปี ถูกขยี้ไม่เหลือซาก

ปัญหาทรัพยากรทางทะเลนั้น ถือเป็นอีกปัญหาที่เรื้อรังสะสมมานานหลายปีและดูทีท่าว่าจะยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจังเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้เอง วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็ได้ออกมาโพสต์รูปภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat ซึ่งเป็นภาพของแนวปะการังบริเวณอ่าวปิเละ หรือลากูน ที่เกาะพีพีเล ซึ่งจากภาพจะพบว่า ในระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ปี 2545-2558 นั้น แนวปะการังได้ถูกทำลายจนไม่มีท่าทีฟื้นฟูได้ และสาเหตุที่ปะการังตายนั้นก็มาจากน้ำมือมนุษย์ เช่น สมอเรือ น้ำเสีย อวนติดปะการัง ฯลฯ และบริเวณดังกล่าวเป็นจุดที่มีเรือผ่านเข้าออกเป็นประจำนั่นเอง

ทั้งนี้ ดร.ธรณ์ ได้ระบุถึงข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่า ในปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีปะการังที่มีสภาพดีมาก (เป็นพ่อแม่พันธุ์) อยู่ในปริมาณไม่ถึง 5% และหากยังมีปัญหาต่าง ๆ เข้ามารุมเร้าอีกเช่นเดิม ปะการังของไทยจะพังพินาศภายในระยะเวลา 20 ปี และจากที่มีการเรียกร้องเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลอยู่บ่อยครั้งก็ได้มีการตอบสนองที่ดีจากผู้บริหารประเทศ โดยมีข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีเป็นหลักฐานยืนยัน ทำให้มีกระแสการรักทะเลเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาวิกฤตปะการังให้เร็วที่สุดเพื่อรักษาปะการังที่สมบูรณ์ที่เหลืออยู่น้อยนิดเอาไว้ให้ได้

 

 


เปรียบเทียบแนวปะการังเกาะพีพีเล ในช่วง 13 ปี ถูกขยี้ไม่เหลือซาก

"#‎กู้ชีวิตแนวปะการัง‬ ‪#‎ความหวังครั้งสุดท้าย‬ ‪#‎เพื่อนธรณ์ช่วยด้วยครับ‬ ประเทศไทยกำลังอยู่ใน 2 สถานการณ์ที่ดุเดือดยิ่ง มองมุมร้ายคือปัญหาที่สะสมมานาน ทำให้เกิดความพินาศของแนวปะการังอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ดังภาพเปรียบเทียบเกาะพีพีในช่วง 13 ปี เราขยี้แนวปะการังจนไม่เหลือแม้ซาก

ข้อมูลล่าสุดจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ปะการังของไทยเสื่อมโทรมจนเหลือปะการังที่มีสภาพดีถึงดีมาก (เป็นพ่อแม่พันธุ์) อยู่ในปริมาณไม่ถึง 5% และปัญหายังรุมเร้า ทั้งสมอเรือ น้ำเสีย อวนติดปะการัง ฯลฯ และถ้าเป็นเช่นนี้ ภายใน 20 ปี แนวปะการังของไทยจะพินาศสิ้นโดยสมบูรณ์

มองในมุมดี กระแสรักทะเลเข้มข้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน การเรียกร้องได้รับการตอบสนองที่ดีจากผู้บริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียมในอุทยาน จนถึงประเด็นปะการังตายที่เกาะตาชัย เกาะพีพี และเกาะอื่น ๆ โดยมีข้อสั่งการของท่านนายกรัฐมนตรีเป็นหลักฐานยืนยัน

เมื่อมองทั้ง 2 มุม เราคงต้องจัดการกับวิกฤตให้ได้โดยเร็วที่สุด ทำอย่างไรก็ได้ที่จะรักษาปะการังที่สมบูรณ์ที่เหลืออยู่น้อยนิดไว้ หยุดการลดลงของปะการังที่เป็นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีนี้ โดยใช้ผลงานจาก "กู้ชีวิต" แนวปะการังเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือของผู้ปฏิบัติหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องโดยตรง"

อย่างไรก็ตาม ดร.ธรณ์ ได้ระบุข้อเสนอในการ "กู้ชีวิตประการัง" เพื่อรักษาปะการังที่สมบูรณ์ไว้ และหยุดการลดลงอย่างต่อเนื่องของปะการัง ดังข้อความต่อไปนี้

"ในส่วนของ สปช. หลังจากที่ได้ประชุมหาไอเดียทางออก รวมถึงเชิญหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ความคิดเห็นหลากหลาย ผมมีข้อเสนอในการหาทางออก ดังนี้ครับ

1. ขอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ประกาศแนวปะการังทั้งประเทศเป็น "เขตวิกฤต" และอาศัยอำนาจในมาตรา ๒๒ ของพรบ.ทะเล (ฉบับที่กำลังจะมีผลบังคับใช้) เพื่อจัดการกับปัญหาอย่างเฉียบขาด (มาตรา ๒๒ มีอำนาจขนาดไหน เชิญอ่านตอนท้ายครับ)

2. ตั้งคณะกรรมการ "กู้วิกฤตแนวปะการัง" โดยระดมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชนและประชาชน เข้ามาช่วยกันจัดทำมาตรฐานเร่งด่วนโดยเร็วที่สุด

คณะกรรมการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะลำพังแค่หน่วยงานเพียง 2-3 หน่วยตามข้อสั่งการท่านนายกฯ ไม่สามารถจะกู้วิกฤตครั้งนี้ได้แน่นอน ผมยืนยันด้วยประสบการณ์ที่ทำมาตลอด

3. คณะกรรมการต้องออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติอย่างรวดเร็วเป็นลำดับแรก (1-3 เดือน) โดยวางแผน กำหนดนโยบาย กำหนดพื้นที่ ตั้งอนุกรรมการประจำพื้นที่ซึ่งจำเป็นมาก เพราะแต่ละพื้นที่มีสภาพทรัพยากรแตกต่างกัน ปัญหาต่างกัน เราต้องแยกกันจัดการ ไม่ใช่ใช้นโยบายเดียวทำทุกอย่าง มันจะพังเละเหมือนที่เคยเป็นมา

4. เมื่อมาตรการขั้นต้นได้รับการปฏิบัติ เราต้องวางยุทธศาสตร์ในระยะต่อไป ผมแนะนำว่า สผ. มียุทธศาสตร์เรื่องปะการังที่ใช้เวลาทำนานมาก มีรายละเอียดอยู่มาก แต่ถูกเก็บไว้ในลิ้นชักประมาณ 5 ปีมาแล้ว (ม.รามคำแหงเป็นผู้ทำนะครับ ไม่ใช่ผมชงเองตบเอง)

5. ท้ายสุด มาตรการและยุทธศาสตร์ครั้งนี้ต้องมีตัวชี้วัดชัดเจน ต้องกำหนดพื้นที่ในการติดตามความเปลี่ยนแปลงของปะการังอย่างใกล้ชิด มีการรายงานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ มิใช่ให้ปะการังตายมาตั้งหลายปีแล้วเพิ่งจะตื่นตัวกัน ดัชนีชี้วัดต้องดูจากปะการังฟื้นหรือไม่ฟื้น ไม่ใช่เราประชุมกันไปกี่ครั้ง จะประชุมล้านครั้งถ้าปะการังไม่ฟื้นก็ไร้ค่า

ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องงบประมาณ เราจะได้เงินคืนมามหาศาลจากการปฏิรูประบบเก็บค่าธรรมเนียมอุทยาน เรื่องอย่างนี้ต้องนำมาใช้ และนักท่องเที่ยวทุกคนคงดีใจ เมื่อทราบว่าเงินของเขาได้ถูกนำมากู้วิกฤตทะเล

ผมนำเสนอแนวทางแบบสรุป เพื่อให้เพื่อนธรณ์อ่านง่ายเข้าใจง่าย หากชอบก็รบกวนกดไลค์และแชร์กันต่อไป มิฉะนั้น ในอีกไม่กี่ปี ถึงตอนนั้นจะด่าจะคร่ำครวญอย่างไรก็ไร้ค่า นี่คือโอกาสสุดท้าย ‪#‎กู้ทะเล‬ ‪#‎กู้ชาติ‬ ‪#‎lastchance‬

หมายเหตุ

มาตรา ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอาจถูกทําลายหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเข้าขั้นวิกฤต หรือเป็นกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่า มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง สงวน คุ้มครอง หรืออนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง

ให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้าเพื่อขออนุมัติใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามมาตรา ๒๓ และกําหนดหน่วยงานของรัฐที่จะเป็นผู้ดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวตามความจําเป็น และเหมาะสมเพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นนั้น

เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดประเภทของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครอง และกําหนด ระยะเวลาที่จะใช้มาตรการคุ้มครองดังกล่าว ในกรณีที่มีความจําเป็นอาจกําหนดให้มีแผนที่แสดงแนวเขต พื้นที่ที่จะใช้มาตรการคุ้มครองด้วยก็ได้"


เปรียบเทียบแนวปะการังเกาะพีพีเล ในช่วง 13 ปี ถูกขยี้ไม่เหลือซาก


ขอบคุณข่าวสารดีๆจาก :: กระปุก :เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์