กทม.ยืนยัน ตึกในกรุงเทพฯที่สร้างหลังปี′50 ต้านแผ่นดินไหวได้!

กทม.ยืนยัน ตึกในกรุงเทพฯที่สร้างหลังปี′50 ต้านแผ่นดินไหวได้!

เมื่อวันที่ 28 เม.ย. รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า ที่ผ่านมา กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา (สนย.)

 ได้รวบรวมรายชื่ออาคารในกรุงเทพฯ ที่เคยรับรู้ถึงแรงของแผ่นดินไหวได้ประมาณ 70 อาคาร แต่จากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557 ที่อ.พาน จ.เชียงราย ขนาด 6.3 ริกเตอร์ พบว่าอาคารดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบ และไม่ใช่อาคารที่มีความเสี่ยง แต่เป็นเพียงกลุ่มอาคารสูงที่จะรับรู้ได้ถึงแรงจากแผ่นดินไหว

รายงานข่าวระบุว่า นอกจากนี้ กทม.ยังได้ออกมาตรการรับมือแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ


ประกอบด้วย อาคารที่ก่อสร้างหลัง พ.ศ.2550 มีด้านกฎหมายควบคุมอาคาร ได้แก่ กฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 มาบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2550 โดยกฎกระทรวงฉบับนี้ปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 49 พ.ศ.2540 เพื่อให้อาคารต้านทานแรงจากแผ่นดินไหวได้ตามมาตรฐานสากล

ซึ่งใช้บังคับอาคาร ต่อไปนี้

1.อาคารที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของสาธารณชน อาทิ สถานพยาบาล สถานีดับเพลิง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย ศูนย์สื่อสาร ท่าอากาศยาน โรงไฟฟ้า โรงประปา 2.อาคารเก็บวัตถุอันตราย อาทิ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสี หรือวัตถุที่ระเบิดได้ 3.อาคารสาธารณะ อาทิ โรงมหรสพ หอประชุม สนามกีฬา อัฒจันทร์ ตลาด ห้างสรรพสินค้า โรงแรม 4.สถานศึกษา

5.สถานรับเลี้ยงเด็ก 6.อาคารที่มีผู้ใช้อาคารได้ตั้งแต่ 5,000 คนขึ้นไป 7.อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป 8.สะพานหรือทางยกระดับ และ 9.เขื่อนเก็บกักน้ำที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ขึ้นไป ส่วนอาคารที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ.2550 ประมาณ 2,000 แห่ง อาจต้องออกแบบให้สามารถรองรับแรงลม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 พ.ศ.2527 และแรงจากแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 พ.ศ.2540 เพื่อทำให้อาคารยังมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับแรงแผ่นดินไหวได้

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์