ตะลึง!พื้นสุวรรณภูมิทรุด

ตะลึง!พื้นสุวรรณภูมิทรุด

แฉผู้รับเหมาไม่ลงเสาเข็ม เหตุทอท.คุมต้นทุนก่อสร้าง ผอ.สนามบินยัน "ซ่อมแล้ว"

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ "ความวัวไม่ทันหาย"

ล่าสุดพบพื้นบริเวณอาคาร ศูนย์ขนส่งสาธารณะ ทรุดอีก แฉไม่มีการลงเสาเข็มเพื่อควบคุมต้นทุนก่อสร้างไม่ให้เกินงบ 200 ล้านบาท ขณะที่ "ผอ.สนามบิน" ยอมรับเป็นเหตุปกติที่พบในสถานีขนส่งทุกแห่ง ยัน "ซ่อมได้"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า

นับตั้งแต่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาในการก่อสร้าง อาทิ กรณีทางวิ่ง ทางขับ(แท็กซี่ เวย์)ชำรุด ปัญหาระบบแอร์คอนดิชั่นในอาคารผู้โดยสารเย็นไม่เพียงพอ ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ล่าสุดพบว่า พื้นผิวช่องจอดรถโดยสารบริเวณอาคาร ศูนย์ขนส่งสาธารณะในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ บัส เทอร์มินอล เกิดการชำรุด ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการซ่อมแซมอยู่ขณะนี้ 4-5 ช่อง

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)กล่าวยอมรับว่า


เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม ทอท. ได้ดำเนินการซ่อมแซมพื้นผิวช่องทางจอดรถโดยสารใน ศูนย์ขนส่งสาธารณะเรียบร้อยแล้ว โดยการชำรุดดังกล่าวไม่ถือว่าผิดปกติ เพราะสถานีขนส่งอื่นๆ ก็พบปัญหานี้เช่นกัน ส่วนค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมนั้นผู้รับจ้างก่อสร้างจะรับผิดชอบทั้งหมดเพราะอยู่ในช่วงประกัน

ขณะที่ แหล่งข่าวจาก ทอท.กล่าวว่า

ในขณะนี้ ทอท. ได้ดำเนินการซ่อมแซมพื้นผิวช่องจอดรถโดยสารบริเวณอาคารศูนย์ขนส่งสาธารณะในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(บัสเทอร์มินอล) ซึ่งมีปัญหาชำรุดประมาณ 4-5 ช่องทาง แล้ว

โดยสาเหตุมาจาก

การก่อสร้างพื้นผิวถนนที่จอดรถดังกล่าว ไม่ได้ใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน (พีวีดี) ต่างจากการก่อสร้างทางวิ่ง และทางขับ รวมทั้งไม่ได้ตอกเสาเข็ม เพราะต้องการประหยัดงบประมาณให้ไม่เกิน 200 ล้านบาท จึงทำให้เกิดการชำรุดได้ง่าย

ทั้งนี้ ในช่วง 1 ปีแรก


ที่บัสเทอร์มินอลเปิดให้บริการ เกิดการชำรุดค่อนข้างมาก เพราะการทรุดตัวของพื้นผิวด้านล่าง ต่อมาเมื่อการทรุดตัวคงที่ ปัญหาการชำรุดก็น้อยลง ซึ่งปัญหาลักษณะนี้ สามารถพบได้ตามสถานีขนส่งต่างๆ ทั่วไป แต่ปัญหาการเกิดดินทรุดตัวจะพบมากเฉพาะบริเวณที่รถโดยสารเบรกหรือหักเลี้ยวจะมีผลกระทบต่อการรับน้ำหนักมาก

อย่างไรก็ตาม

แม้ว่า(บัสเทอร์มินอล) จะเปิดให้บริการเพียง 8 เดือน พร้อมกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่ไม่ถือว่าผิดปกติที่พื้นผิวจะเกิดการชำรุด และผู้รับเหมาจะเป็นผู้ปรับปรุง เพราะยังอยู่ในช่วงประกันผลงาน

แหล่งข่าวจาก กรมทางหลวง กล่าวว่า


โดยปกติปัญหาพื้นผิวชำรุด ซึ่งเกิดจากการรองรับน้ำหนักของรถโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นการเบรก การหักเลี้ยวก็ตามย่อมเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว เพียงแต่กรณีที่บัสเทอร์มินอลเกิดการชำรุดโดยใช้เวลาไม่ถึง 1 ปีนั้น ถือว่าเกิดขึ้นเร็วมาก และยิ่งปริมาณการจราจรที่วิ่งบนพื้นผิวดังกล่าวมีไม่มากการชำรุดเพียง 8 เดือนน่าจะเร็วไป และการที่พื้นผิวชำรุดเร็วอาจมีสาเหตุอื่นมาประกอบด้วย เช่น วัสดุ หรือการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน

ทึ้งนี้ จากการคำนวณปริมาณจราจร

ที่ใช้ในช่องทางจอดรถภายในศูนย์ขนส่งสาธารณะน่าจะมีจำนวนไม่เกิน 100 เที่ยวต่อวัน ซึ่งน้อยมากเพราะปริมาณจราจรที่จะสร้างความเสียหายให้กับพื้นผิวจะอยู่ที่ประมาณวันละ 2,000 เที่ยวขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม

ทอท. น่าจะออกแบบถนนหรือช่องทางจอดรถโดยสารให้เป็นคอนกรีตหรือตัวหนอนแทน เพราะจะช่วยลดปัญหาการชำรุดของพื้นผิว ซึ่งปัจจุบันในการก่อสร้างถนนทราบดีถึงปัญหานี้ และในต่างประเทศการก่อสร้างถนนจะใช้วิธีการสร้างถนนช่วงที่รถโดยสารจอดเป็นประจำด้วยคอนกรีตหรือตัวหนอน ส่วนถนนบริเวณอื่นก็ใช้วัสดุยางมะตอยปูพื้นผิวธรรมดา


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:

หนังสือพิมพ์แนวหน้า

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์