หมอรัชตะ กำชับมาตรการ5ด้านยับยั้งอีโบลา

หมอรัชตะ กำชับมาตรการ5ด้านยับยั้งอีโบลา

"หมอรัชตะ" กำชับมาตรการ5ด้านยับยั้ง"อีโบลา"ครม.มีมติให้ส่งอุปกรณ์การแพทย์ช่วย

รมว.สาธารณะสุข กำหนดมาตรการ 5 ด้านยับยั้ง "อีโบลา" เผยครม.มีมติให้ส่งอุปกรณ์การแพทย์-จับมือสภากาชาดไทย ระดมเงินส่งช่วย 5 ประเทศแอฟริกาตะวันตก


เมื่อเวลา 14.50 น. วันที่ 14 ตุลาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
แถลงภายหลังการประชุมครม. ถึงมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอีโบลา ว่า การระบาดของโรคครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยแพร่ระบาดในประเทศในทวีปแอฟริกาตะวันตก 5 ประเทศ คือ ไลบีเรีย เซียราลีโอน คองโก กินี และไนจีเรีย และแพร่ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและสเปน เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เคยเดินทางไปยังประเทศในทวีปแอฟริกาตะวันตก ติดเชื้อโรคดังกล่าว  อย่างไรก็ตามขณะนี้ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จำนวน 8,399 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 4,033 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด โดยสถานการณ์ในประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียราลีโอนถือว่ามีความรุนแรงที่สุด


นพ.รัชตะ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณะสุขและหน่วยงานต่างๆทั้งวิทยาลัยการแพทย์ เอกชน รวมทั้งองค์กรนานนาชาติ
 
เช่น องค์การอนามียโลก ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา โดยคณะกรรมการเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ เห็นชอบกรอบมาตรการความพร้อม 5 ด้าน คือ 1.การจัดระบบเฝ้าระวังทั้งในคนและในสัตว์ ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดกรองและตรวจวัดอุณหภูมิผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ให้ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศในแอฟริกาตะวันตกต้องมาลงทะเบียนเพื่อให้มีการติดตาม ซึ่งถ้าใครสงสัยว่าตัวเองจะติดเชื้อเพราะมีอาการอ่อนเพลียและอาเจียน ต้องไปรายงานตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้รับตัวไว้และเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ โดยใช้มาตรฐานสากลในการป้องกันเมื่อพบผู้ติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงกรณีที่อาสาสมัครสาธารณสุขทั้งในหมู่บ้านและชุมชนพบผู้ป่วยในชุมชน ก็จะต้องถูกส่งตัวมาที่โรงพยาบาลเช่นกัน 2.เรามีมาตรการดูแลป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย รวมถึงเราจะต้องเชิญตัวบุคคลที่ผู้ติดเชื้อมีความใกล้ชิด เพื่อมาดูแลเป็นพิเศษจนกว่าจะมั่นใจได้ว่าไม่มีการติดเชื้อ 


นอกจากนี้ มาตรการในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ แม้ตอนนี้เรายังไม่มียารักษาโรคดังกล่าว
 
แต่เราใช้วิธีการรักษาแบบประคับประคอง และเรามีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคดังกล่าว 3.การพัฒนาระบบการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ให้สามารถตรวจยืนยันเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมง 4.การสื่อสารความเสี่ยง ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนถึงวิธีป้องกันโรค ตลอดจนถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง และ 5.การบริหารจัดการแบบบูรณาการหลายภาคส่วน โดยมีศูนย์ประสานปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เชื่อมโยงการทำงานทั้งประเทศ นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมพร้อมระบบรับส่งต่อผู้ป่วย มีการซ้อมแผนในจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่อาจมีผู้เดินทางจากเขตติดโรคแล้ว 30 จังหวัด


นพ.รัชตะ กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือประเทศที่มีผู้ติดเชื่อนั้น มีการระดมความช่วยเหลือนอกจากบริจาคข้าวไปให้มูลค่า 5 ล้านบาทแล้ว
 
นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมด้วยการจัดส่งอุปกรณ์การแพทย์ไปให้ รวมถึงร่วมมือกับสภากาชาดไทยในการระดมเงินบริจาคจากประชาชน เพื่อส่งไปช่วยเหลือประเทศเหล่านี้  ทั้งนี้ เราจะจัดส่งเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาดูแลระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคนี้แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์