ผลตรวจซากกระทิงป่ากุยบุรี ไม่พบสารพิษ ยอดตายรวม29ตัว เจอลูกเกิดใหม่เพียบ

ผลตรวจซากกระทิงป่ากุยบุรี ไม่พบสารพิษ ยอดตายรวม29ตัว เจอลูกเกิดใหม่เพียบ

วันที่ 9 มิ.ย.นายนิพนธ์​ โชติบาล รองอธิบดี รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เปิดเผยว่า ได้ประชุมติดตามความก้าวหน้าการหาสาเหตุการตายของกระทิงในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยผลสรุปเบื้องต้นพบว่า การพบซากกระทิงตายช่วงที่ 1 ระหว่างเดือน ธ.ค.2556 - ม.ค.2557 รวม 25 ตัว 

ผลการตรวจ พบว่า มีกระทิง 5 ตัว ที่คาดว่าตายโดยธรรมชาติเกิดจากสัตว์ผู้ล่า และมีอย่างน้อย  1 ซาก

 ตรวจพบเชื้อไวรัสปากเท้าเปื่อย และหลายซากพบเชื้อแบคทีเรีย คอนตริเดี่ยม นอวิอายและปรสิต(แอนนาพลาสม่า) ซึ่งเชื้อเหล่านี้มีส่วนร่วมกันทำให้กระทิงตายได้ เนื่องจากกระทิงไม่เคยเป็นโรคเหล่านี้มาก่อน จึงยังไม่มีภูมิต้านทานโรคที่เกิดใหม่ บางซากตรวจไม่พบเชื้อ เนื่องจากเป็นซากเก่าและเน่ามาก 

ขณะที่ผลการตรวจสอบของกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยมหิดลตรวจไม่พบสารพิษใดๆในซากกระทิงและตามแหล่งน้ำ ดิน โป่งธรรมชาติและพืชอาหาร

การพบซากกระทิงตายช่วงที่ 2 ระหว่างเดือน พ.ค. 2557 พบซากกระทิงเพิ่มอีก 3 ซากและมีกระทิงป่วยตายใหม่ 1 ตัวรวม 4 ตัว รวมแล้วพบซากกระทิงทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันคือวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา รวม 29 ซาก
    
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า  หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าทั่วประเทศได้ร่วมกับสัตวแพทย์จากกรมอุทยานฯ

 สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ คณะสัตว์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและองค์การสวนสัตว์ร่วมสำรวจกระทิงและร่วมตรวจสุขภาพกระทิง และสัตว์ป่าในพื้นที่ ผลการดำเนินการมีดังนี้ ช่วงต้นเดือน พ.ค.2557 พบกระทิงอย่างน้อย 81 ตัวในพื้นที่ 10,000 ไร่บริเวณหุบหน้าผาแปลงหญ้า 200 ไร่และโครงการกุญชรและพบกระทิงรูปร่างไม่สมบูรณ์ 2 ตัว การตรวจเลือดกวางและเนื้อทรายในพื้นที่ ไม่พบเชื้อใดๆ และสัตว์ป่ายังหากินตามปกติ ส่วนการตรวจเลือดกระทิง 2 ตัว พบภูมิคุ้มกันโรคปากเท้าเปื่อย โดยกระทิง 1 ตัวที่พบภูมิคุ้มกันเชื้อนี้ ยังคงแข็งแรงและหากินตามปกติซึ่งคาดว่ากระทิงเริ่มมีภูมิคุ้มกันทนต่อโรคนี้ ได้
    
นายนิพนธ์​ กล่าวอีกว่า ที่น่าสนใจคือ การพบลูกกระทิงเกิดใหม่ อายุ 2 - 3 เดือนประมาณ 10 - 15 ตัว หากินตามปกติกับฝูงใหญ่

ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี ที่พบจำนวนประชากรใหม่เพิ่มขึ้นทดแทนกระทิงที่ตายไปและปกติลูกกระทิงจะไม่ ค่อยทนทานต่อโรค แสดงว่ากระทิงฝูงที่มีลูกหากินปกตินี้ ปลอดภัยจากโรค ดังนั้น สัตวแพทย์จากทุกหน่วยงานขอใช้เวลาประมาณ 45 วัน ในการเฝ้าระวังสุขภาพอีกครั้ง ก่อนพิจารณาการเปิดพื้นที่

พร้อมกันนี้ได้มอบให้หัวหน้าอุทยานฯ กุยบุรี ประชุมกับกลุ่มอนุรักษ์ ชุมชน ทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครองในพื้นที่

เพื่อวางมาตราการเฝ้าระวังและป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาค ดังนั้น ขอให้ฉีดยาฆ่าเชื้อคนและยานพาหนะทุกคันก่อนเข้าออกพื้นที่ ให้ตรวจสุขภาพสัตว์อย่างต่อเนื่องและป้องกันลาดตระเวนป่าฯลฯ รวมทั้งควบคุมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การทำโป่งเทียม แปลงหญ้า บ่อน้ำ เป็นต้น โดยขอให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์