พบเบาะแส ยาฆ่าแมลงแลนเนทในพื้นที่ป่ากุยบุรี - เจ้าหน้าที่หวั่นใช้วางยาช้าง, กระทิง

พบเบาะแส ยาฆ่าแมลงแลนเนทในพื้นที่ป่ากุยบุรี - เจ้าหน้าที่หวั่นใช้วางยาช้าง, กระทิง

พบเบาะแส ยาฆ่าแมลงแลนเนทในพื้นที่ป่ากุยบุรี - เจ้าหน้าที่หวั่นใช้วางยาช้าง, กระทิง

วันที่ 13 พ.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้นำนางสาวมาริสา สีลาพัฒน์ ปลัดอาวุโสอำเภอกุยบุรี พ.ต.อ.ทินกร ไพรนุพงศ์ ผกก.สภ.ยางชุม พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน นายศรีสวัสดิ์ บุญมา กำนันตำบลหาดขาม เข้าตรวจสอบบริเวณป่ามะม่วง ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี หลังจากได้รับแจ้งจากคนงาน ว่าพบสารลักษณะคล้ายยาฆ่าแมลง อยู่ในบริเวณดงมะม่วง

ที่ เกิดเหตุอยู่ทางทิศเหนือของสำนักงาน เป็นป่ามะม่วง เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพบเป็นสารสีฟ้าหกเรี่ยราดอยู่บนใบไม้แห้งที่พื้น

มีรอยเท้าช้างเดินเหยียบไปติดพื้นห่างออกไปประมาณ 10 เมตร นอกจากนี้ยังตรวจพบถุงพลาสติกเหน็บอยู่ในซอกของลำต้นมะเดื่อที่ขึ้นอยู่ใกล้ กับต้นมะม่วง เมื่อนำถุงพลาสติกออกมาพบว่าในถุงมีสารชนิดหนึ่งลักษณะเป็นเกล็ดผง มีสีฟ้า โดยคณะที่เข้าตรวจสอบบอกว่าสารดังกล่าว น่าจะเป็นสารกำจัดแมลงชนิดผง มีชื่อสามัญว่า เมโทมิล (methomly) หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม ยาแลนเนท ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้ผสมน้ำฉีดฆ่าแมลง หรือที่เคยเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ก็คือ การใช้ยาแลนเนทคลุกอาหารเพื่อนำไปเป็นยาเบื่อสุนัข  

ด้าน คนงานที่พบสารพิษดังกล่าวบอกกับเจ้าหน้าที่ว่า ตนเองและคนงานคนอื่นๆ จำนวน 5 คน

 ได้พากันเข้ามาเพื่อจะเก็บมะม่วงที่เริ่มสุก และในขณะที่เดินสำรวจตามต้นมะม่วงต่างๆ นั้น ก็สังเกตเห็นที่พื้นว่ามีสารสีฟ้าเปื้อนตามพื้นเป็นหย่อมๆ อยู่เป็นบริเวณกว้าง และสังเกตเห็นว่าที่เปื้อนเป็นบริเวณกว้างนั้นเกิดจากช้างป่าได้เหยียบและ เดินไปมา ด้วยความที่เกรงว่าสารดังกล่าวอาจจะเป็นอันตรายต่อช้างป่า จึงได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีดังกล่าว

นายศรี สวัสดิ์ บุญมา กำนันตำบลหาดขาม กล่าวว่า สารพิษดังกล่าวน่าจะเป็นยากำจัดแมลงที่ชื่อแลนเนท ค่อนข้างแน่นอน

 ดูจากสถานที่เกิดเหตุแล้ว ไม่น่าจะเป็นการใช้ยาเพื่อฆ่าแมลง หรือมดที่ต้นมะม่วงแน่นอน เพราะมดยังอยู่เหมือนเดิม จากที่เห็นมีรอยเท้าของช้างป่าเหยียบสารพิษดังกล่าวเดินหายเข้าป่าไป ที่ต้นมะม่วงก็มีมะม่วงเริ่มสุก ช้างป่าคงจะเข้ามากินมะม่วง และไม่ทราบว่าจะโดนสารพิษเข้าไปด้วยหรือเปล่า ซึ่งได้ประสานไปยังหลายหน่วยงานเพื่อขอเข้าไปร่วมแสกนพื้นที่โดยรอบ เพื่อตรวจสอบว่า ยังมีสารพิษตรงจุดอื่นอีกหรือไม่ และมีสัตว์ชนิดใดโดนสารพิษจนเกิดอันตรายบ้างหรือเปล่า โดยเฉพาะกับกระทิง ที่เป็นสัตว์ป่าชนิดสำคัญของอุทยาน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์